รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


อบรมครูเชี่ยวชาญ

บทนำ

 รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษากรอบหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา เอกสาร บทความ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในหน่วยการเรียนรู้ ตามแนวทางของหลักสูตรพัฒนาฯ  โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเชี่ยวชาญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน  

                    1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร

                    2. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

                    3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

                    4. เทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ

                    1. การพัฒนาภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางวิชาการ 

                    2. การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ   

                    3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้  

ส่วนที่ 2 การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูเชี่ยวชาญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู  

                    1. การพัฒนาจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ

                    2. วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

                    3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 

                    1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้

                    2. กลยุทธ์การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                    3. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                จากประเด็นหัวข้อใหญ่ทั้ง 2 ส่วน ข้างต้น ข้าพเจ้าจึงได้นำมาสรุปรายละเอียดการศึกษาพอสังเขป 

                ข้าพเจ้าหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีวิทยฐานะ ที่สูงขึ้น 

ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเชี่ยวชาญ  

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน

 1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร

การวิเคราะห์หลักสูตร หมายถึง การแยกแยะหลักสูตรให้เห็นองค์ประกอบย่อย โดยมุ่งหวังให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาและพฤติกรรม ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของหลักสูตรในแต่ละวิชา ทั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างจุดประสงค์รายวิชากับเนื้อหาวิชา รวมถึงการกำหนดสัดส่วนน้ำหนักความสำคัญของเนื้อหาและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ในการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น ครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 

 

การประเมินหลักสูตร เป็นส่วนที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของหลักสูตร ทั้งนี้เพราะการประเมินหลักสูตรจะทำให้รู้คุณค่าของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไรสามารถจะนำไปใช้ได้ดีเพียงใด ผลที่ได้จากการใช้หลักสูตรเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ได้จาการประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น  อันจะเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้โดยสะดวก

2. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการจัดการศึกษา ที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ คือผู้เรียนจะต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงมีบทบาสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจำเป็นจะต้องบูรณาการภารกิจของการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ โดยในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ควรใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และนำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้น การใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้สอนควรนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ได้กำหนดให้นำการวิจัยมาใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้สอนสามารถทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ วางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผู้สอนสามารถทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่นำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการใช้นวัตกรรมนั้น ๆ และผู้สอนสามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยการใช้เทคนิควิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนจากการวิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดำเนินการตามแนวทางที่เลือก และสรุปผลการแก้ไขปัญหาอันเป็นการฝึกทักษะ ฝึกกระบวนการคิด ฝึกการจัดการจากการเผชิญสภาพการณ์จริง และปรับประยุกต์มวลประสบการณ์มาใช้แก้ไขปัญหาการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นการวิจัยในชั้นเรียนที่ผลของการวิจัยเป็นรูปธรรม  ใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาและพัฒนางานได้ เรียกว่า การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 1) กำหนดปัญหา 2) วิเคราะห์ปัญหา 3) กำหนดแนวทางแก้ปัญหา 4) ดำเนินการพัฒนานวัตกรรม 5) ทดลองใช้นวัตกรรม และ 6) ปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยผลจากการทดลองใช้นวัตกรรม 

3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

    การจัดการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรูและพัฒนาตนเองได และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้  มีดังนี้  1) กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ 2) วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน 3) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ 4) ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ 5) เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ 6) ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ 7) จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 8) ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

4. เทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ

    การให้คำปรึกษาเป็นการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำปรึกษา โดยการให้คำปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้รู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม สาหรับการให้คำปรึกษาในโรงเรียนก็เช่นกัน ครูที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่สำคัญ ที่สามารถให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เพราะเป็นบุคคลที่นักเรียนให้ความไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้น ก่อนที่ครูที่ปรึกษาจะหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนั้น ครูที่ปรึกษาควรทราบถึง ความมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน

การให้คำปรึกษาทางวิชาการเป็นกระบวนการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือด้านวิชาการ การชี้แจงหลักสูตร การลงทะเบียน การวางแผนการเรียน การวัดผล การเพิ่มเติมรายวิชา การพ้นสภาพ การโอนย้ายแผนกวิชา การติดตามผลการเรียน การแนะนำการเรียน การศึกษาต่อเทคนิคการให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง สภาพแวดล้อม ปัญหาที่เผชิญอยู่ และสามารถใช้ความเข้าใจดังกล่าวมาแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ครูจะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับหลักสูตร และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนได้ถูกต้องและมีความมั่นใจ ควรจัดทำแฟ้มประวัตินักเรียน ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกสภาพนักเรียน วิเคราะห์ผลการเรียน ประสานข้อมูลกับผู้ปกครอง และตรวจสอบการจบการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น ประสานงานกับฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนวการศึกษาของสถานศึกษา นำข้อมูลมาจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดูแลกิจกรรมก่อนเข้าเรียน ให้คำปรึกษา เสนอแนะ อบรมตักเตือน ควบคุมและติดตามผลการเรียนให้ปฏิบัติอยู่ในระเบียบของโรงเรียน ดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัย จิตใจ และอื่น ๆ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในชั้นเรียนได้รับสวัสดิการที่ดี 

แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

การที่ครูมีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และเทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ ครูมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์หลักสูตรทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน และมีการประเมินผลหลักสูตร ทำให้สามารถนำผลการสอนมาศึกษาถึงสภาพปัญหาและจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และเมื่อผู้เรียนมีปัญหาในการเรียนก็สามารถให้คำปรึกษาทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ

1.  การพัฒนาภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางวิชาการ

ผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี ปรัชญาของหลักสูตรต่างๆที่ใช้ในสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในวิธีสอนแบบต่างๆ ใช้นวัตกรรมการสอนเป็นแบบอย่างที่ดีในเชิงวิชาการ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การจะก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางวิชาการได้นั้น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ และปฏิบัติภารกิจในบทบาทต่าง ๆ อย่างหลากหลายทั้งนี้เพราะผู้นำทางวิชาการย่อมจะต้องเปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถ และความเท่าทันในองค์ความรู้ต่าง ๆ กล่าวคือ

       1. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูมืออาชีพนั่นคือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการจัดการเรียนรู้ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในการประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดีต่อผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจ
        2. ผู้นำทางวิชาการจะต้องมีความสามารถในการบริหารความเปลี่ยน แปลง กล่าวคือ สร้างความรู้สึกจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง สร้างทีมงาน แนวร่วมที่ทรงพลัง โน้มนำการเปลี่ยนแปลง สร้างวิสัยทัศน์ ชี้นำความพยายามในการปรับเปลี่ยน สื่อสาร สร้างความเข้าใจ ยึดมั่นในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ผลักดัน เพิ่มอำนาจให้ผู้อื่นในการตัดสินใจ เพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นจริง วางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น รวบรวมผลสำเร็จจากการปรับปรุง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ปลูกฝังแนวทางใหม่ ๆ ของความสำเร็จเข้าสู่ระบบการทำงานขององค์กร

        3. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูนักพัฒนาหลักสูตร โดยในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น มีเป้าหมายหรือมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนกำหนดไว้ชัดเจนและยืดหยุ่นในการปฏิบัติ มีการพัฒนาหลักสูตรต้องทันต่อความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีแก่ผู้เรียน สิ่งที่กำหนดในการเรียนการสอนต้องช่วยเตรียมผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกไร้พรมแดน หลักสูตรต้องส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนในองค์รวม สิ่งที่กำหนดในหลักสูตรควรเชื่อมโยงและสอดคล้องกับชีวิตจริง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้นำทางวิชาการจำเป็นต้องมีทิศทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน นั่นคือ วิสัยทัศน์ แรงบัลดาลใจสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการสนับสนุนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

2.  การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 

       บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

     การจัดสภาพและบรรยากาศของห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาดเป็นระเบียบ มีป้ายนิเทศ สื่อการเรียนรู้ มีมุมวิชาการสำหรับศึกษาค้นคว้า มีบรรยากาศในห้องเรียนที่เน้นให้นักเรียนเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน และมีความสุขในการเรียน คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนถูกต้องเป็นปัจจุบัน มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ

ความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
      การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนมีความสำคัญ ดังนี้ คือ ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
       กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รัก และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้

3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนการสร้าง คือ วิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ

การสร้างนวัตกรรมมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

      1. ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และจะแก้อย่างไร ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะเราต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนลงมือแก้ปัญหาจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ

      2. นำปัญหาที่พบมาวาดเป็นภาพ โดยลงข้อมูลที่สำคัญ ๆก่อนไปที่ละภาพ

      3. นำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร วิเคราะห์ต่อไปว่าการแก้ไขนั้น ๆเรารู้อะไรบ้างและเราไม่รู้อะไร ทำอย่างไรจึงจะรู้ นำมากำหนดเป็นแผนภูมิ เช่นการสอนให้เด็กจำได้ เรารู้ว่าการท่องมากทำให้จำได้นานมีอะไรอีกที่เราไม่รู้

แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการของครู โดยการพัฒนาภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางวิชาการ การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้  สามารถนำมาใช้ในสถานศึกษา โดยครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา รอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นนักพัฒนา การสร้างบรรยากาศที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ทำให้นักเรียนเข้าใจ และสนใจการเรียนมากขึ้น โดยครูต้องเอาใจใส่ รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และสามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน จากปัญหาที่พบในห้องเรียน ทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น

ส่วนที่ 2 การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูเชี่ยวชาญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู

1. การพัฒนาจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ

           ครูที่มีจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ ควรทำการสอน อบรมนักเรียน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และนโยบายของทางราชการ เอาใจใส่ในการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สม่ำเสมอ ส่งเสริมและเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อบรมสั่งสอนและเผยแพร่ความรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ไทย ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ครูและนักเรียน เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่การงาน ช่วยเหลือกิจการของโรงเรียนและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ศึกษาหาความรู้ วิธีการสอน วิธีประเมินผล การใช้หนังสือเรียนและคู่มือการเรียนการสอนตามหลักสูตร

2. วินัยและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

ด้านวินัย ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง ไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะ หรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมืองใด รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว

ด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ  วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อ การพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจารณา ดังนี้        กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

       1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

       2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

       3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลเงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

       ครูมีภารกิจและความรับผิดชอบต่อสังคมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของวิชาชีพครู ด้วยสำนึกและจิตวิญญาณของความเป็นครู  งานหลักของครู คือ การพัฒนาผู้เรียน ด้วยความเข้าใจและเอาใจใส่ทั้งด้านวิชาการ และการอบรมบ่มนิสัย เพื่อให้เยาวชนเป็นคนที่เข้าใจชีวิต และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง การที่ครูมีวินัย ปฏิบัติตนโดยมีจรรยาบรรณวิชาชีพครู ทำให้เป็นที่เคารพนับถือของบุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หรือการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #ค.ศ.4
หมายเลขบันทึก: 494578เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

คุณครูเป็นเศรษฐีเมื่อคุณครูเป็นผู้ให้ ผมได้ใช้ผลงานคุณแล้วขอบคุณครับ

เมื่อผมมีโอกาสผมก็ต้องทำอย่างคุณครูครับ

ขอบคุณมากๆๆครับอาจารย์

ขอบคุณครับ พรุ่งนี้ผมจะอบรม จะได้ไปส่งวิทยากร ขอบคุณอีกครั้งครับ ขอผลบุญจงมีผลให้คุณครูจงประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงานครับ

ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อแก่กัน  รักคุณครูมากมายค่ะ

ขอขอบคุณมากคะอาจารย์ดิฉันขออนุญาตนำรายงานศึกษาค้นคว้าไปรายงานต่อยอดนะคะขอบคุณมากคะ


 ไม่คิดว่าจะมาเจอเพื่อนเก่า ed18 สมกับเพื่อนๆยกย่องให้เป็น "แม่พระ"จริงๆ

ขอบคุณมาก มากที่สุด ในความมีน้ำใจอันล้นเหลือ


ขออนุญาตนำมาปรับ และเรียบเรียงเพิ่มเติมบ้าง ก่อนจะนำเข้าอบรมวันพรุ่งนี้  ถ้าไม่ได้งานของคุณครูเป็นแม่แบบ ละก็ ในเวลาแค่วันเดียว คงจะมืดแปดด้านเลยค่ะ

ได้อ่านผลงานของอาจารย์แล้ว ขอบคุณมากค่ะ

ได้อ่านงานอาจารย์ แล้วเห็นว่ามีประโยชน์ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ


ได้ศึกษางานของอาจารย์แล้วเป็นประโยชน์มากค่ะ ขออนุญาตนำบางส่วนไปใช้นะคะ

 

ขอบคุณครับ  ขออนุญาต ปรับเปลี่ยนเพื่อส่งในวันอบรมครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้แนวทางในเขียนรายงานอบรมเชี่ยวชาญ

ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลของอาจารย์ไปปรับเพื่อรับการอบรม

เชี่ยวชาญ  ขอให้อาจารย์มีแต่ความสุขความเจริญตลอดกาล

                                                  ขอแสดงความนับถือ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้แนวทางในเขียนรายงานอบรมเชี่ยวชาญ

ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลของอาจารย์ไปปรับเพื่อรับการอบรม

เชี่ยวชาญ  ขอให้อาจารย์มีแต่ความสุขความเจริญตลอดกาล

  ขอแสดงความนับถือ


ขอขอบพระคุณค่ะข้อมูลของท่านอาจารย์. ทำให้งานที่ต้องแข่งกับเวลาดูไม่ลำบากเลยค่ะ ขอบพระคุณท่านผู้ใจดี

ขอขอบพระคุณมากค่ะ ถ้าไม่ได้มึนเลยนะค่ะ  เมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้วยังปวดหมองอยู่เลย ตอนนี้เสร็จแล้ว ถ้าไม่ขอบคุณรู้สึกว่าตนเองเหมือนจะไม่ผ่าน  ต้องขอบคุณ ขอบคุณจริงจริงค่ะ

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆขอผลบุญอันนี้จงช่วยให้ท่านได้รับคศ.4ต่อไป

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากๆๆที่ให้แนวคิด แนวเขียน...ขอให้พบแต่ความสุขกาย  สุขใจนะค่ะ

ครูนิทรา มาศวิวัฒน์

ได้อ่านแล้วเก่งมากที่เป้นต้นแบบของความคิดดี ..ขอให้ได้รับความดีตอบแทน

ขอบคุณสำหรับความเอื้อเฟื้อคะ 

ขอบคุณมาก ๆ สำหรับแนวทางการเขียนรายงานครูเชี่ยวชาญ ขอให้คุณครูจงมีแต่ความสุข

และขอให้สัญญาว่าเมื่อไหร่ได้เป็นครู คศ.4 จะเป็นวิทยาธานให้กับคนรุ่นต่อไปค่ะ

ขอบพระคุณครับอาจารย์ ขออนุญาตศึกษาและปรับปรุงเพิ่มเติมนะครับ ..ขอบพระคุณอีกครั้งครับ


ขอบคุณมากค่ะคุณครูสิริพร  สำหรับแนวทางการเขียนรายงานครูเชี่ยวชาญ   สุขกาย  สุขใจ  พ้นภัยทั้งปวงนะคะ

ขอบคุณมากๆคะคุณครูศีริพร อนุญาตนำไปเป็นแนวทางในการเขียนรายงานครูเชี่ยวชาญนะคะ

ขอความอนุเคราะห์ศึกษาและนำแนวคิดไปใช้ในการเขียนรายงานด้วยนะคะ  ขอบพระคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ ขอให้คุณครูมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจนะคะ

ขอบคุณมากค่ะขออนุญาตนำข้อมูลไปปรับใช้ต่อไปนะคะ

ขอขอบคุณครูศิริพรมากคะ ขออนุญาตนำแนวคิดไปปรับใช้ในการเขียนรายงานคะ 

ขอบพระคุณมากครับ ท่านเป็นครูที่มีจิตเมตตามากครับ

ขอบพระคุณมากค่ะ ขอให้ท่านประสบแต่ความสุขความเจริญนะคะ

ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่ให้แนวทางในการเขียนรายงานในครั้งนี้

ขอบคุณมากค่่ะ ขออนุญาตใช้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ ขออนุญาตศึกษาและนำบางส่วนไปต่อยอดนะค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้แนวทางในเขียนรายงานอบรมเชี่ยวชาญ

ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลของอาจารย์ไปปรับเพื่อรับการอบรม

เชี่ยวชาญ ขอให้อาจารย์มีแต่ความสุขความเจริญตลอดกาล

ขอแสดงความนับถือ

ขอบคุณนะคะที่กรุณา

จากครูพรรณิภา ข้อมูลมีรายละเอียดเีมากค่ะขออนุญาตนําเนื้อหาบางส่วนมาใช้นะคะ

ขออนุญาตนำผงานของอาจารย์ไปพัฒนาต่อยอดการจัดการเรียนการสอนนะคะ


ผมขออนุญาตนำเอาไปปรับปรังพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นนะครับ จะเข้าอบรมเชี่ยวชาญ ขอบคุณมากๆ ครับ


ขอบคุณมากค่ะ...ขอคุณงามความดีคุ้มครองรักษาค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้ เพื่่อต่อยอดนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำไปใช้ เพื่่อต่อยอดนะคะ ขอบคุณค่ะ

มีประโยชน์มาก ขอบคุณมากนะคะ ที่ชี้ทางสว่างให้

ขอบคุณมากคะที่ฝากข้อมูลให้เป็นตัวอย่าง ขอนำไปพัฒนาต่อนะคะ

ครูเนา ขอบคุณมากสำหรีบความรู้ท่ีได้รับ

ครูเนา

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ


ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดีคะ เยี่ยมจริงๆ

ขอบคุณมาก ๆ เลยคะ

ขอให้คุณครูประสบความสำเร็จ ได้เป็นครูเชี่ยวชาญ สมดังตั้งใจ นะคะ

พุทธิกุล ปิยะจันทร์

ขออนุญาตศึกษางานของอาจารย์เป็นตัวอย่างนะครับ.....วิทยาทานนี้จงบังเกิดให้อาจารย์สุข สำเร็จในทุกงานและชีวิตตลอดไปครับ....


ขออนุญาตศึกษาผลงานของอาจารย์เป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเองนะครับ ขอขอบคุณมากครับ

พรรณ์พิมล กระสินธุ์หอม

ขอบคุณมากคะ ผู้ให้ย่อมเป็นผู้เจริญคะ

ขอบคุณมากคะ สำหรับข้อมูลดีๆที่มอบให้

ขอบคุณมากมายค่ะ กำลังหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการอบรมค่ะ ขอใช้เป็นแนวทางและพัฒนางานต่อไปนะค่ะ

ดิฉันขออนุญาตนำข้อมูลของอาจารย์ไปปรับใช้เพื่อเข้ารับการอบรมครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญนะคะ ขอขอบพระคุณท่านอย่างสูงที่ให้แนวทางในเขียนรายงานคะ  ขอบคุณคะ

  

ขออนุญาตนำผลงานอาจารย์ไปปรับใช้ในการเขียนรายงานการศึกษาด้วยตนเองเพื่อส่งผลงานเชียวชาญ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท