เครือข่ายวิชาชีพรังสีการแพทย์ขอนแก่น : เล่าสู่กันฟัง


มีเรื่องเล่าดีๆ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพและเรื่องเล่าสู่กันฟัง จากเครือข่ายวิชาชีพรังสีการแพทย์ จังหวัดขอนแก่น (ชื่อเดิม คือ ชมรมรังสีเทคนิคขอนแก่น) ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 ณ ห้องประชุมภูเวียง โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล



เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลแวงน้อย โดย คุณสุนันทา ทินราช (ลูกสาวชื่อ นันทพร สีชู) ได้มาเล่าถึงปัญหา... การหาฟิล์มเก่าไปพบ



ข้อมูลจาก : อัตราการหาฟิล์มเก่าไม่พบ มีอัตราที่สูง



สาเหตุหนึ่งเกิดจาก : 

เมื่อผู้รับบริการยืมฟิล์มจากโรงพยาบาลแวงน้อย เพื่อไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นๆ


แต่... เมื่อผู้ป่วยกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลแวงน้อยอีกครั้ง

ก็... ไม่ได้นำฟิล์มชุดดังกล่าวที่ยืมไป กลับมาด้วย


จึงได้หาวิธีการแก้ไขปัญหา เช่น

- กำหนดแนวทาง การคืนฟิล์มที่เป็นความร่วมมือที่สอดประสานกับหน่วยงานอื่นๆ




- ติดข้อความที่ซองฟิล์ม ทำให้ผู้ที่ยืมฟิล์มรับทราบว่า เมื่อยืมฟิล์มไปแล้ว หากนำมาคืน (ฝากเก็บไว้ที่โรงพยาบาลเดิม) จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้รับบริการเอง



- ขอความร่วมมือ กับผู้เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลดังกล่าวกับผู้รับบริการ


- เพิ่มช่องทางการคืนฟิล์มมากขึ้น รวมถึง การทำงานเชิงรุก คือ เจ้าหน้าที่ไปรับ ไปส่ง ผู้ป่วยต่างโรงพยาบล (โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น) ก็ไปช่วยตามฟิล์มเก่ากลับมาด้วย



บางส่วนของผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

- ผู้รับบริการได้ประโยชน์

- บุคลากรหน่วยงานอื่นๆได้ให้ความร่วมมือ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น

บางครั้ง เอกสารแนะนำที่ใช้ติดซองฟิล์ม ที่ฝากไว้ตามหน่วยงานอื่นๆ (ใช้)หมดไป

แต่... ผู้เกี่ยวข้อง ก็ให้ความร่วมมือ โดยการเขียนข้อความลงไปใหม่ แทนแผ่นเอกสารที่หมดไป โดยทำด้วยความเต็มใจ เพราะเข้าใจว่า สิ่งที่ทำเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ  



ผลของการให้คำแนะนำผู้ป่วย ผู้รับบริการ

มีการนำฟิล์มเอกซเรย์กลับมาคืนที่โรงพยาบาล มากขึ้น

อัตราการหาฟิล์มไม่พบ ลดน้อยลง



มีอยู่วันหนึ่งพบ... ดังภาพ  



ภายในถุงสีชมพู คือ ฟิล์มเก่าของผู้ป่วย ที่นำมาวางไว้หน้าแผนก จึงได้นำมาเก็บและเรียงเข้าช่องเก็บฟิล์ม ต่อไป


ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จ จากการได้สัมภาษณ์ผู้ป่วย ว่าได้รับข้อมูลการนำฟิล์มมาคืนจากที่ไหนบ้าง?



พบว่า... เป็นผลงาน

จากการให้ข้อมูลของบุคลากรตามหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

จากเพื่อนผู้ป่วยด้วยกัน บอกให้ฟัง บอกถึงประโยชน์ของการนำฟิล์มเก่ามาคืน

จากป้ายที่ติดไว้หน้าซองฟิล์ม  



ผลที่ได้ลงแรง ก่อให้เกิดความสุข



ภาพสุดท้าย...  นิรามิสสุข

สุขที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ส่งต่อผู้ปฎิบัติงาน



 


เรื่องที่ 2 : แนวทางคัดกรองผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ


นำเสนอ โดย คุณรัตนาภรณ์ ภารการ เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรที่ฏิบัติงานต่างโรงพยาบาลร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำแนวทางที่คล้ายๆกัน





ทำอย่างไร?

จะลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรค

- จัดบริเวณห้องตรวจแยกออก ห่างจากหน่วยงานอื่นๆ

- ให้การบริการที่รวดเร็ว ฉับไว

- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน และทำความสะอาด ในห้องเอกซเรย์ มีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อด้วย UV




สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมจากการเล่าสู่กันฟัง


- ประทับใจ ดีใจ ได้คิด คิดได้ ร่วมกับทีมงาน


- มองปัญหาจากงานประจำ นำสู่การพัฒนา


- กระบวนการต่างๆ (How to?) ที่ดำเนินการ ในกิจกรรมเหล่านี้ เิกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ แง่คิด มุมมองของผู้ที่ปฏิบัติงาน


- ผลงาน ไม่ได้จบแค่วันนี้

แต่... จะมีติดตามมาเรื่อยๆ ข้อมูล สถิติ ยังมีความจำเป็น ต้องใช้ ต้องเรียนรู้ PDCA ต้องวนหลายๆ รอบ เพื่อนำไปสู่ CQI การพัฒนาที่ยั่งยืน อยู่ในเนื้อในของบุคลากร


- ความเหนื่อยยาก ผลสำเร็จ กระตุ้นต่อมความสุข ความทุกข์ มีมากน้อยแตกต่างกัน


- คิดดี ทำดี เป็นมงคลชีวิต สุขทั้งผู้ให้และผู้รับ 

 



หมายเลขบันทึก: 494404เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชื่นชมในผลงานค่ะ โอกาสหน้าจะนำ Best pracice ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

  • โอโหข้อมูลละเอียดมากๆๆเลยครับ
  • เย้ๆๆ

ขอแก้ไขนะคะอาจารย์ นันทพร สีชู เป็นชื่อลูกสาวค่ะ( ชื่อตาม email ) แต่ตัวจริง เสียงจริง สุนันทา ทินราช เจ้าค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยประชาสัมพันธ์ผลงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับพี่น้องรังสีบ้างนะคะ

สวัสดีครับ นั่นนะซิ ผมจำได้ว่าชื่อ สุนนัทา แต่... เห็นส่งมาเป็น นันทพร นึกว่าเปลี่ยนชื่อ เดี๋ยวนี้ เค้าเปลี่ยนชื่อกันหลายคน

วันที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00-12.00 น. คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น จัด KM มีหัวข้อน่าสนใจ เรื่อง แรงบันดาลใจสร้างได้ โดย คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม ครับ

เรียนอาจารย์เพชรากรค่ะ ผลงานของโรงพยาบาลแวงน้อยเรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ที่การประชุม HA Forum HACC ขอนแก่น ที่โรงแรมพูลแมน 26-27 ก.ค.55นี้ค่ะ เชิญแวะเยี่ยมชมและชมผลงานอื่นๆด้วยนะคะ เรื่องของงานรังสีได้นำเสนอ 2 เรื่องด้วยกันค่ะอีกเรื่องคือ " การนำน้ำล้างฟิล์มกลับมาใช้ใหม่" ผลงานของโรงพยาบาลนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ อยากไปดูเหมือนกันค่ะว่าเป็น Fixer หรือ Developer ส่วนวันที่ 6 สิงหาคมของคุณดนัยนั้นสนใจมากๆ แต่ว่า..ข้าราชการชั้นผู้น้อยในโรงพยาบาลชุมชนที่มีนักรังสีเพียงคนเดียวจะไปไหนมาไหนต้องมีขั้นตอนค่ะ และต้องนึกถึงคนทำงานแทนด้วยค่ะ ขอดูยูทูปแทนก็แล้วกันค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

มาชื่นชมกับผลงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท