งานวิจัยทุน IDF BRIDGES : ประชุมเตรียมงาน


ผู้เข้าประชุมทั้งหมดต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน ช่วยให้เรื่องราวต่าง ๆ มีความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน 2555
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00-15.00 น. ทีมแกนนำเครือข่ายเบาหวานและทีมผู้ทำงานวิจัยในโครงการ Community-Based Diabetes Prevention Program in Thai Population ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRIDGES ของ IDF ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมงานกันที่ห้องประชุม Executive 2 โรงแรมรามาการ์เด้น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

 

ผู้เข้าประชุม

 

วันนั้นมีผู้มาประชุมได้รวม 15 คน เราได้หารือกันหลายเรื่อง

แผนการดำเนินการวิจัยและกำหนดเวลา เราตกลงกันว่าจะจัดตลาดนัดความรู้ในเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งต้องการใช้เทคนิค soft KM ถอด How to และผลที่เกิดขึ้นจาก Best practices เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะกระบวนการที่ทำอย่างไรเมื่อไปสู่คนแล้วทำได้จริง ต้องมีการเตรียมชุดคำถามสำหรับการขุดคุ้ย How to ที่ได้น่าจะมีหลาย options

ในเดือนกันยายนเราวางแผนจะจัดการประชุมเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์ How to ที่ได้จากตลาดนัดความรู้ พวกเราช่วยกัน list รายชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งทางด้านโรคเบาหวาน สาธารณสุข การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งตัวแทนกลุ่มเสี่ยงและ อสม.

วางแผนการจัดทำคู่มือสำหรับทีมวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2555 จะต้องมีการอบรมทีมทำงานในพื้นที่ ขอให้จัดส่งข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ให้ทีมกลาง ฯลฯ

 

 

สีหน้าผู้เข้าประชุมแต่ละคน

 

ลักษณะการประชุมของเราไม่ใช่การอภิปรายถกเถียง แต่เป็นการหารือและช่วยกันคิด คุณเกษตรศักดิ์ ล่วนเส้ง จาก รพ.วังวิเศษ ที่ถือว่าเป็นน้องใหม่สุด ช่วยบันทึกสิ่งที่เราประชุมกันลงใน Flip chart ได้อย่างละเอียด น้องมด ภญ. ปราณี ลัคนาจันทโชติ ช่วยบันทึกเสียง อ้อเล็ก รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์ อ้อใหญ่ เปรมสุรีณ์ แสนสม จินตนาการว่าจะมีวิธีการทำงานอย่างไรให้ง่าย ไม่ยุ่งยากเกินไป

 

ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร กำลังพูด นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ กำลังคิด

 

นพ.จักรกริช โง้วศิริ จาก สปสช. คอยตั้งคำถามกระตุกให้พวกเราหยุดคิด ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร และ นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ คิดออกแบบการทำงานและหาทางแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า คิดไปไกลถึงการทำงานวิจัยเรื่องนี้หลาย ๆ ปีว่าควรจะมีใครหรือหน่วยงานใดมารับรู้บ้าง

หลังอาหารกลางวัน พญ.อารยา ทองผิว นำกิจกรรม Dancercise ให้ได้ยืดเส้นยืดสายกันเล็กน้อย

 

ยืดเส้น ยืดสาย ด้วย Dancercise

 

ดิฉันสังเกตบทบาทของผู้เข้าประชุมแต่ละคนและบรรยากาศตลอดการประชุมแล้วสงสัยเหลือเกินว่าจะมีกลุ่มหรือหน่วยงานไหนบ้างไหม ที่ผู้เข้าประชุมทั้งหมดต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน ช่วยให้เรื่องราวต่าง ๆ มีความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555
ดิฉัน ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ นัดคุยกับ ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์สิทธา พงษ์พิบูลย์ จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องวิธีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารและการมีกิจกรรมทางกาย

ในเบื้องต้นจึงต้องขอให้ทีมแกนนำในแต่ละจังหวัดให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของพื้นที่ และเมนูอาหาร Top 10 ที่ชาวบ้านนิยมกิน

ดิฉันได้ปรับแก้ไขข้อมูลในโครงการวิจัยที่เสนอขอทุนให้ตรงกับที่เราประชุมกันในวันที่ 2 ปรับงบประมาณให้ตรงตามงานที่เพิ่มขึ้น ทำรายละเอียดแยกแหล่งงบประมาณแต่ละที่ให้เห็นชัดเจน เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน (เวลาของประเทศไทย) Project Manager ของ BRIDGES ได้ส่งไฟล์เอกสารต่าง ๆ มาให้พริ๊นสำหรับการลงนามของทั้งสองฝ่ายต่อไป

วันที่ 6 กรกฎาคม 2555
Project Manager ของ BRIDGES ส่ง email มาแจ้งว่าได้มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้าน translational research เป็น mentor ให้กับเรา โดยจะมี conference call กันทุก 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป เป็นระบบสนับสนุนของเขาเพื่อให้โครงการของเราประสบความสำเร็จ

เราเพิ่งจะเริ่มต้นทำงานโครงการวิจัย ยังมีงานรออยู่ข้างหน้าอีกมากมาย ต้องพยายามมองให้เป็นความท้าทาย

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 494137เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนุกและน่าเรียนรู้มากครับอาจารย์

ดีใจด้วยครับ เห็นพี่มดด้วยเย้ๆ

เพชรบุรี===> DM + HT ==> เป็นปัญหา "โลกแตก...ที่คิดไม่ตก" โดยเฉพาะ อำเภอบ้านลาดค่ะ เพราะ เป็น อำเภอ ทำขนมหวาน ส่งให้ "ร้านแม่... แม่ ทั้งหลาย มากที่สุดนะคะ ประชาชน คนเมืองเพชรแท้ ๆๆๆ ก็มีพฤติกรรม "ไม่อ่อนหวาน....ไม่อ่อนเค็ม" เลยละคะ คือทานหวานจัด เค็มจ้ด....ผู้ป่วยDM รายใหม่ "ไม่ลดลงเลย" รายเก่า ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนไปที่ ==> 3 ต. คือ ตา ไต ตีน (เท้า) นะคะ

เราชาวสาธารณสุข ....หาสาเหตุ แก้ที่สาหตุ แต่ผลลัพธ์ ก็ขยับนิดหนึ่ง ..... ปัญหา...โลกแตกก็คิดไม่ตกนะคะ (ของ อ.ล้านลาด นะคะ

ขอบคุณ บทควมดีดีที่มาแบ่งปันให้เกิดการเรียนรู้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท