บทสนทนาประสาคนชอบมวย..ว่าด้วยเรื่องเหลือเชื่อ (ต่อ)..


วิธฝึกบริกรรมในมวยไทย..

บทสนทนากับสมาชิกจากภาคอีสาน..เกี่ยวกับการฝึกสมาธิและการบริกรรมในมวยไทย..

สมาชิก :           สวัสดีครับคุณลุง

ลุงรักชาติ ราชบุรี :         สวัสดีครับ..

สมาชิก : คุณลุงครับปีนี้ผมอดไปเรียนมวยกับครูอำนาจหนึ่งปีครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี :          อ้าว..

สมาชิก : เพราะผมจะเรียนรามคำแหง ปีหนึ่งไปเรียนที่บางนา แล้วที่บางนาคนมันฆ่ากันเยอะครับ พ่อเลยไม่ให้ไป เพราะปีสองเรียนที่หัวหมากครับ พ่อถึงจะให้ไป ปีหน้าโน่นล่ะครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี :          งั้นฝึกเรียนกะลุงทางเน็ตไปก่อน..นะครับ..

สมาชิก : ครับ        ก็นั่งแต่สมาธิกับทำร่างกายให้แข็งแรงนี่ล่ะครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี :          อย่าทำแค่นั้นเลย..ฝึกรำมวยไปด้วย..ลองดูนะ..

สมาชิก : ก็ที่บ้านมีกระสอบทรายเลยหัดชกหัดเตะไปบ้างล่ะครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี :      ดีแล้วจ๊ะ.. 

สมาชิก : แต่เวลาชกกระสอบทรายระบายอารมณ์ได้เยอะเลยนะครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี :     งั้นลุงแนะให้ระบายกะต้นมะพร้าว มันกว่าเยอะ..5555

สมาชิก : อุ๊ยยย     กลัวเจ็บ ไปก่อนนะครับคุณลุง

...( วันต่อมา )...

สมาชิก : สวัสดีครับคุณลุง

ลุงรักชาติราชบุรี : สวัสดีครับ..สบายดีนะครับ..เรียนสนุกมั้ย..

 สมาชิก : ฝึกแต่สมาธิครับ แต่จิตยังไม่สงบซักที ส่วนร่างกาย ยังต้องฝึกให้แข็งแรงอยู่ครับ

ลุงรักชาติราชบุรี : การฝึกสมาธิ เป็นพื้นฐานของปัญญา ครับ..จิต ย่อมมีปกติ ไม่สงบ..จึงต้องคอย กำกับในขณะนั้นด้วย การบริกรรม เช่น ปวด กูบริกรรมว่า ปวดหนอๆๆๆๆไปเรื่อยๆ ครับ..ส่วนร่างกาย เป็นบ่าวของจิต เมื่อฝึกจิตและบริกรรม ก็ให้ฝึกเคลื่อนไหว ไปด้วยก็จะเพิ่มความเข้มแข็งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต ทำให้ไม่ใช้กำลังฟุ่มเฟือย จึงไม่เหนื่อยง่ายครับ..พิมพ์ผิด ครับ..ปวด ก็ บริกรรมว่า ปวด..

สมาชิก : ครับ

ลุงรักชาติราชบุรี : วิธีบริกรรมให้จิตตั้งมั่นขณะเคลื่อนไหว(ออกกำลังกาย)อย่างง่ายสุด คือ ใช้คำว่า พุทธังสะระณังคัจฉามิ...หรือ ใช้ พุท โธ..หรือ ใช้ นะ มะ พะทะ..หรือ ใช้นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ..ต้องลองฝึกดูเอาว่าอย่างไรดีที่สุด..ครับ..

สมาชิก : ชอบพุทโธครับ ติดพุทโธมากครับ

 ลุงรักชาติราชบุรี : คำบริกรรม พุท โธ ใช้ได้ทั้ง หายใจ..ทั้งนั่งสมาธิ..ทั้งเคลื่อนไหว ออกกำลัง..ทั้ง ตบตัว ลูบไล้..แต่มักจะไม่ช่วยเสริมให้ปราณก้าวหน้า แข็งแกร่ง ครับ..

 สมาชิก : แล้วอะไรล่ะครับเสริมความแข็งแกร่ง

ลุงรักชาติราชบุรี : ในวิชา มโนมยิทธิ จึงไม่นิยม..มักใช้ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ ครับ..แต่จะยากในการเข้าใจจังหวะ..ลุงคิดว่า ง่ายที่สุด คือ พุทธังสะระณังคัจฉามิ..ธัมมัง..สังฆัง..ครับ..ใช้ได้ ทุกเรื่องยกเว้น การหายใจ ควรใช้ พุท โธ..หรือ นะมะ - พะทะ..ครับ..

สมาชิก : ของผมหมุนธาตุ ..นะมะพะทะ..มะพะทะนะ..พะทะนะมะ..ทะนะมะพะ..เป็นของไสยศาสตร์ครับ 

ลุงรักชาติราชบุรี : อันนี้ ยิ่งดีครับ..จะช่วยฝึกจิต ให้รวดเร็วแข็งแกร่งและเป็นอัตโนมัติ..แต่ต้องระวัง หากไม่ฝึกพื้นฐานของการเคลื่อนไหว ให้ชำนาญ อาจทำให้ปราณติดขัด ปวดยอกได้..ต้องฝึกบริกรรมช้าก่อน..

สมาชิก : แรกๆเราต้องฝึกท่องบริกรรมช้าๆใช่มั๊ยครับ

 ลุงรักชาติราชบุรี : ใช่ครับ..อย่าฝึกแค่ท่อง ต้องฝึกประกอบกับ1.การหายใจ(พองยุบ)2.การเคลื่อนที่/เคลื่อนไหว เช่น เดินวน เดินจงกลม เดินเลข8..และ3.ฝึกกับท่ารำมวย..4.ฝึกกับการลูบไล้ตัว/การตบตัว..ครับ..อ้อ 5.ฝึกกับการชกลมเล่นเชิง และ การบริหารกายต่างๆ..

สมาชิก : มวยไทย ฝึกเหมือนฝึกมวยจีนเลยนะครับ มีฝึกปรานด้วย

ลุงรักชาติราชบุรี : สำคัญว่า ทุกขณะที่ฝึก จะต้องมี การประนมมือ รำลึกคุณ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์และบรมครูบุรพาจารย์เสมอๆนะครับ..เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดีเข้าแทรก..

สมาชิก : และวันนี้ อย่าลืมดูมวยนะครับ เพราะวันนี้ช่อง 5 เขาแข่งขันการชกมวยไชยา ที่ จ.สงขลา ครับ

ลุงรักชาติราชบุรี : ลุงเคยบอกแล้วว่า มวยไทย มวยจีน เทควันโด้ คาราเต้โด้ ยิวยิตสุ ไอกิโด้ ล้วนมีที่มาจากปรามาจารย์ต้นทางร่วมกัน..แต่ของเรามีจุดเด่น คือ พันหมัดพันมือ และท่าพระยาครุฑ ครับ..อ้าวเหรอ..ลุงไม่ทราบเลย..แข่งกี่โมง ครับ?

สมาชิก : 16.30 ครับ

ลุงรักชาติราชบุรี : ขอบคุณมากครับ..ตั้งใจศึกษาวิชาความรู้และดูแลสุขภาพด้วยนะครับ..เด๋วลุงมีธุระเข้าประชุม..วันนี้ สวัสดีครับ บายยย..

สมาชิก : ครับ..บาย..

หมายเหตุ : ที่ได้นำเรื่อง..การทำสมาธิ และการบริกรรม..มาแลกเปลี่ยน อาจคล้ายกับจะเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและงมงาย สำหรับคนในยุควัตถุนิยม..แต่ มันเกี่ยวเนื่องกับ กระบวนการประสมจิต ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ ในการฝึกพาหุยุทธ์ชาวสยาม..ซึ่งควรแก่การทำความเข้าใจให้ชัดเจนและไม่นำไปใช้แบบงูๆปลาๆซึ่งจะทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์..ครับ..

หมายเลขบันทึก: 493378เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท