บทสนทนาประสาคนชอบมวย..ว่าด้วยเรื่องเหลือเชื่อ..


วิชชาอาคม ในโลกวัตถุนิยม..

บทสนทนากับสมาชิกจากภาคใต้ เกี่ยวกับเรื่อง วิชชาอาคมและการเข้าทรง...

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: สวัสดีครับลุงงงง:-)..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: สวัสดีครับ

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ทานนมื้อเที่ยงแล้วหม้าย (ขอออกใต้นิดนุง อิอิ)..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: เอมแล้วคราบพ้ม..บางที่เค้าว่า เท่าแล๋ว..อิอิ..

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: กินกับไหรอ่า..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: กวยเตี่ยว..เอ้ออ. ลุงอิถามสักหีด ว่า โย่ไหน๋..กรุงเทพ รึ พัดลุง หา....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: พัดลุง..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: ออ..เรียนที่ไหนรึ..

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: เรียนแถวๆนี้แหละ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: อืมม..เอาเถิด ตั้งใจเรียนหนา..

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ทำไมหรอครับจะลงมาสอนมวยแถวนี้หรอครับ อิอิ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: ว่าถิไปโย่เหมือนแหละ....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ครับตั้งใจอยู่แว๊วว ถ้ามาหล่าว มาปากยูนมั่งนะ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: อยากไปเรียนวิชชาวัดเขาอ้อ....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: อ๋อ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: ปากยูน มีใครมีวิชชาดีๆมั่งแหละ....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: แล้วลุงเป็นครูสอนมวยอย่างเดียวเลยหรอครับ ไม่มีงานอื่นก่อนนหน้านี้หรอครับ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: เป็นครูสอนพละครับ....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ถ้าพูดถึงวิชาดีๆไม่ค่อยรู้จักรู้จักอะครับไม่ค่อยมีครับ แต่วิชาที่ว่าหมายถึงวิชาด้านอะไรล่ะครับ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: วิชชาบางอย่างไม่มีใครรู้ว่ามีครับ..คนปากยูน เมื่อก่อนขยันมากครับ..ทำนา และรับจ้าง และหาปลา..ปากยูน มีทั้ง ไทย แขก จีน ปนกัน..วิชาที่น่าจะมีการสืบทอดคือ
เพลงบอก หนังลุง โนราห์..เข้าทรง ยาสมุนไพร..ต้องค่อยๆวิเคราะห์สังเคราะห์ส่วนที่เป็นประโยชน์..ครับ..แถวปากยูน หารเทา เคยมีสัตว์ป่าเยอะนะครับ..คนโบราณ จึงต้องเก่งวิชชา..

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ทีแรกนึกว่า ลุงหมายถึงวิชาอาคม เพราะผมไม่ชอบเรื่องแบบนี้เลย เก็บไปฝันร้ายทุกทีเลย (แต่ผมชอบที่จะฟังนะ อิอิ) แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องวิชาด้านภูมิปัญญา เยอะครับอย่างที่บอก มีคนหลายเชื้อชาติปนกัน เพราะติดกับทะเลการคมนาคมเลยสะดวก ปัจจุบัน หลายๆอย่าง เริ่มจางหายแล้วมีอยู่บ้างก็ในเขตชุมชนเล็กๆเช่นเรื่องการเข้าทรง(หรือโนราห์โรงครู)..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: นี่แหละครับ..โนราห์โรงครู รึเรียกว่า รำซัดชาตรี..เป็นกระบวนการทางจิต ที่ต่อเนื่องมาจาก พาหุยุทธ์ชาวสยาม หรือ รำหมัดรำมวย..การรำโนราห์โรงครู คือ การรำท่าครู ที่กลายมาเป็น ไหว้ครูรำมวย..แต่ภายหลังได้กลายเป็นส่วนของนาฏศิลป์ไป....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ถ้าพูดถึงวิชาที่ลุงพูด ก็นึกถึงเรื่องที่ปู่เคยเล่าให้ฟัง ว่า เมื่อก่อนแถวบ้านปัจจุบันที่ผมอยู่เป็นป่า มีสัตว์ที่ปัจุบันสูญย์พันหมดแล้วมากมาย และสัตว์เหล่านั้นก็ดุร้ายด้วยคนในอดีตเลยต้องมีวิชาอาคมมากมาย เลย สืบทอดมารุ่นสู่รุ่น..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: การรำท่าครู..เป็นการคงไว้ของท่ารำสำคัญ..สำหรับ วิชาอาคม มีส่วนที่เกี่ยวกับ การฝึกจิต ให้เกิดพลังและความเข้มแข็งของกายและจิต ครับ..มันทำให้บรรพบุรุษของเราอยู่รอด...รักษาบ้านเมืองไว้ได้....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ผมเคยเห็นมโนราห์โรงครู อ่ะครับ น่ากลัวมากเลย เวลาผีเข้าอาละวาดเลยอ่า ทุบนู่นทุบนี่ กินเนื้อสดๆ หยี เหมือนจะอ๊วกทุกทีเลยครับ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: วิชาอาคม จะแบ่งเป็นหลายส่วน..1.เป็นส่วนการบริกรรม..ให้บังคับควบคุมจิตและกาย..2.เป็นส่วนของการกระตุ้นจิตและกาย..3.เป็นส่วนของการบำรุงจิตและกาย..4.เป็นส่วนของการรักษาจิตและกาย..5.เป็นส่วนของการบูรณาการ..จิต/กาย/สิ่งแวดล้อม....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: บ้านผมนับถือเทพเจ้าด้วยนะครับ เป็นเทพเจ้า7องค์ แต่ไม่เคยมีเหตุที่ต้องเข้าทรงอะไรๆเหมือนของบ้านอื่นๆ

ลุงรักชาติ ราชบุรี: การเข้าทรงที่ดี คือ การทำให้จิตเข้มแข็ง กายเข้มแข็ง ทำให้ยึดมั่นในความดีมีคุณธรรม..ทำให้จิตและกายมีพลังสมบูรณ์ บำบัดตนเองได้..ดังนั้นคนที่จะฝึกฝนวิธีการเข้าทรงเพื่อนำมาใช้ประโยชน์จะต้องมีกฏมีหลักมีครู..สิ่งสำคัญ คือ การตระหนักในคุณงามความดี การมีกตัญญูรู้คุณ การสำรวมในกายวาจาใจ การเคารพนับถือศรัทธาต่อพระศาสดา บุรพาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตลอดจนบุพการี..ครับ....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: ผมอยากรู้อีกเรื่องครับ คือเราจะดูยังไงครับว่า ระหว่างการเข้าทรงปลอม กับ เข้าทรงของจริง ผมเคยดูในยูทูปเขาปลอมได้เนียนมากสุดท้ายถูกจับ..

ลุงรักชาติ ราชบุรี: เข้าทรงปลอมหรือจริง ของคนอื่น ช่างเขาครับ..แต่เข้าทรงตัวเรา เราจะรู้ว่าเข้าหรือไม่เข้าได้ครับ..ที่ผมศึกษา คือ ทำอย่างไรให้เราทรงได้และเกิดพลังในขณะทรงต่อเนื่อง..จนเมื่อเราชำนาญเราอาจจะสามารถถ่ายทอดการเข้าทรงและพลังไปยังคนอื่นได้ อันนี้ครับสำคัญ..ดังนั้นเราจึงเริ่มที่จะต้องศึกษาการเข้าทรงของผู้อื่นก่อนว่า ทำอย่างไร?..ซึ่งในการฝึกพาหุยุทธ์ชาวสยาม ที่ผมพยายามศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ก็พอจะพิสูจน์ผลได้บ้างแล้วแม้ว่า ยังไม่ค่อยชำนาญ..ครับ..

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน:  ครับผม:-) อ้อ ลืมถามลุงไปเลย ลุงอายุเท่าไหร่แล้วครับ

ลุงรักชาติ ราชบุรี: ผมอายุ 58 ปี ครับ เกิดปีมะเมีย 2497.. สิ่งที่เล่ามานี้ไม่ใช่ไสยศาสตร์ครับ..และก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์..เพราะมันเกิดได้ไม่ทุกเวลา....

แอลซีเอฟ อาร์ตแมน: อ๋อ เรื่องที่ลุงเล่ามาที่ว่า ไม่ใช่ไสยศาตร์และไม่ใช่วิทยาศาตร์ ก็จริงอย่างที่ลุงพูด เคยมีคนบอกว่า การที่มีการเข้าทรงอะไรประมาณนี้ เป็นอุทานหมู่เป็นคำสั่งจากจิตในต้สำนึกหรืออะไรซักอย่างนี่แหละครับ (อันนี้ผมหยิบยกมาจากหนังสือ)…

ลุงรักชาติ ราชบุรี: ในการศึกษา โนราห์โรงครู ควรศึกษา เพลง ดนตรี ที่ใช้ และท่ารำ ตลอดถึง พฤติกรรมของ ผู้รำ เช่น สมรรถภาพทางกาย ก่อน/หลังการรำ..พยาธิสภาพ ขณะรำ..ครับ..คำว่า อุปาทานหมู่..การเข้าทรง..การดลจิต..การสะกดจิต..เป็นสิ่งที่มีจริง..เกิดได้ภายใต้สภาวการณ์ที่เหมาะสม..และมีผลในทางการบำบัดรักษาโรคบางชนิด และมีผลทางลบในโรคหรือคนบางประเภทเช่นกัน..ซึ่งเป็นเรื่องที่วงการแพทย์กำลังศึกษา....ขอบคุณครับที่ได้แลกเปลี่ยนกัน..ขอให้มีแต่ความสุขความเจริญนะครับ..สวัสดีครับ..

หมายเหตุ : ที่ได้นำเรื่องเข้าทรง หรือ การดลจิต..มาแลกเปลี่ยน อาจคล้ายกับจะเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อและงมงาย สำหรับคนในยุควัตถุนิยม..แต่ มันเกี่ยวเนื่องกับ กระบวนการประสมจิต ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญ ในการฝึกพาหุยุทธ์ชาวสยาม..ซึ่งควรแก่การทำความเข้าใจให้ชัดเจนและไม่นำไปใช้แบบงูๆปลาๆซึ่งจะทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์..ครับ..

คำสำคัญ (Tags): #การเข้าทรง
หมายเลขบันทึก: 493376เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท