รื้อฟื้นการขุดคอคอดกระ (ด้วยนวัตกรรมใหม่เอี่ยมครั้งแรกของโลก)


มันน่าจะเป็นไปได้ในเชิงวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ความคุ้มทุน วิธีนี้มีผลดีกว่าการขุดคลองหลายประการ

เรื่องนี้ผมคิดไว้แต่ประมาณ พศ. ๒๕๓๗ เห็นจะได้  คือแทนที่จะขุดคอคอดกระ ผมลองคิดถึงความเป็นไปได้ในการอุ้มลากเรือโดยรถไฟข้ามคอคอดกระแทน ดังนี้ครับ

 

  1. เอาเรือเข้าอู่ลอย  (อู่ลอยก็คือกาละมังยักษ์ลอยน้ำ เพื่อใช้ในการซ่อมเรือ  มันมีประตูเปิดให้เรือเข้าได้ เอาเรือนั่งแท่น  ปิดประตูแล้วสูบน้ำออก แต่ของเราจะไม่สูบน้ำออก ปล่อยให้เรือลอยในอู่อยู่อย่างนั้นแหละ)
  2. ลากอู่ลอยขึ้นบนรางรถไฟ ด้วยหัวรถไฟและลวดสลิง อาจลากขึ้นมาพร้อมน้ำในอู่ หรือจะเอาน้ำออกก็ได้ แล้วปล่อยให้เรือนั่งแท่น  แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าเอาน้ำออกจะทำให้ตัวเรือต้องรับแรงมากเกินไปไหม (เพราะขาดการพยุงของน้ำ) โดยเฉพาะเรือที่บรรทุกน้ำมันมาเต็มระวางเป็นแสนตัน    แต่เรื่องนี้ศึกษาได้ไม่ยาก หรือ อาจเอาน้ำออกบางส่วน เพื่อลดน้ำหนักกดทับลงมาให้อยู่ในระดับจัดการได้
  3. หัวรถไฟยักษ์วิ่งพ่วงอู่ลอยพร้อมเรือไปบนรางยักษ์  พาเรือไปส่งยังอีกฟากหนึ่ง (อ่าวไทย-อันดามัน) จากนั้นปล่อยอู่ลอยและเรือลงน้ำอีกฟากหนึ่ง

 

ผมเห็นว่า  มันน่าจะเป็นไปได้ในเชิงวิศวกรรมศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  ความคุ้มทุน วิธีนี้มีผลดีกว่าการขุดคลองหลายประการคือ

  • ได้ผลเชิงจิตวิทยา ไม่เสียบูรณภาพแห่งดินแดน (ไม่ต้องแยกแผ่นดินเป็นสองส่วน)
  • น่าจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขุดคลองมากกว่าสิบเท่าสบายๆ  
  • ผลเสียเชิงนิเวศวิทยาน้อยกว่าขุดคลอง (เช่น ดินที่ขุดจำนวนมหาศาลจะเอาไปทิ้งที่ไหน)
  • สำหรับรถยนต์ที่ต้องวิ่งตัด  อาจสร้างสะพานข้ามรางรถไฟ หรือขุดอุโมงค์ลอดใต้  และหรือให้รถยนต์ติดไฟแดง รอวิ่งผ่านรางรถไฟลากเรือที่ช่องว่างของเรือแต่ละลำ ซึ่งไม่น่าติดไฟแดงเกิน 1 นาทีถ้ารถลากวิ่งด้วยความเร็ว 20 กม. ต่อ ชม. โดยอาจเว้นช่องไฟสัก 1 กม. ระหว่างเรือแต่ละลำ
  • หากทำได้ จะอาจกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมศาสตร์แห่งเดียวของโลก สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยได้อีกโสดหนึ่ง นอกจากนี้ยังสร้างความมั่นใจให้คนไทยได้ (โดยเฉพาะถ้ากำหนดว่า ทั้งหมดนี้ออกแบบ สร้าง โดยบริษัทคนไทยเท่านั้น)
  • จะเกิดเมืองท่าสองเมืองทั้งสองฝั่งของราง เสริมสร้างเศรษฐกิจของชาติ โดยอาจทำเป็นเมืองท่ารับส่งสินค้าไปในตัว  เพื่อส่งผ่านสินค้าต่อไปยังภาคใต้ไทย มาเลย์  พม่า บังคลาเทศ และจีนตอนใต้ด้วยระบบรถไฟ  (จะทุ่นเวลากว่าไปส่งยังเมืองท่าอื่น)
  • จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ   เช่น บนสะพานข้าม จัดให้มีภัตตาคารลอยฟ้า  ชมวิว  มองเรือ วิ่งบนบกแล้วกินข้าวไปพลาง   (ออกแบบให้สวยและดึงดูดยิ่งกว่าหอไอเฟิลไปเลย ดีไหม) 
  • เรือรบไทยเองก็สามารถวิ่งข้ามไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมาลายู

 

ถ้าเราทำได้สำเร็จ เรือจำนวนมากจะเลิกเดินผ่านช่องแคบมะละกา (และสิงคโปร์) เพราะทุ่นเวลาได้มากกว่าสองวัน สำหรับเรือยักษ์มันหมายความว่าทุ่นเงินค่าน้ำมันไปปีละหลายสิบล้านทีเดียว  ยังค่าเวลาอีกมหาศาล เช่นถ้าต้องมีเรือ 10 ลำในการขนน้ำมันก็ลดลงมาเหลือเพียง 8 ลำได้  ประหยัดค่าเรือสองลำก็หมื่นล้านเข้าไปแล้ว ยังประหยัดงบดำเนินการอีกด้วย 

 

...คนถางทาง (๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕)

 

ปล. อีกวิธีคือ ไม่ต้องมีอู่ลอยให้เปลืองและหนัก  แต่เอาเรือวิ่งเข้าเกยนั่งแท่นเลย โดยมีระบบการนั่งแท่นที่รวดเร็วและรับน้ำหนักเรือได้เพียงพอ จากนั้นลากนั่งแท่นขึ้นรางรถไฟ แบบโป๊ไม่เปลือย

หมายเลขบันทึก: 492774เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

แต่ละปีจัดให้มีการแข่งขันแปลกๆ เช่น แข่งวิ่งข้ามสะพานแบบไปกลับ แข่งจักรยานข้ามสะพาน ฯลฯ เพื่่อโปรโมทประเทศไทย

ภาพตอนกลางคืนจะสวยมาก ที่มองเห็นเรือยักษ์ติดไฟระนาว วิ่งบนรางรถไฟ

โครงการใหญ่ขนาดนี้ถ้าประเทศไทยทำได้จะเยี่ยมไปเลยครับ แต่ดูจากความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของคนไทยในขณะนี้น่าจะหวังที่จะได้เห็นได้ยากครับ

ผ่านไป ๑๘ ปีเต็ม.. ถ้าทำโครงการนี้ ป่านนี้คงสำเร็จแล้วนะคะอาจารย์

โอกาสเสียดินแดน (ด้านล่างคอคอดกระ) คงน้อยลง ดีใจไม่ต้องตัดประจวบออกเป็นสองท่อน

 

โครงการนี้ ทำดีๆ จะ ปรองดอง แดงเหลืองได้ เป็นอย่างดี แดงเป็นแรงงานสร้าง เหลืองร่วมลงทุน (ซื้อหุ้น พันธบัตร) แล้วเราเอากำไรที่จะได้มาแบ่งกันในระยะยาว ...ไทยคิด ออกแบบ ออกแรง สร้างเองหมด ซื้อมาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เรียน คนถางทาง ป่าคอคอดกระ ผมเคยเดินสำรวจกับที่ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ ของนายหัวพงศา

ึ7วัน 7 คืน เส้นทางหลักไก่ต่อถึงหลาวตาง ความอุดมสมบูรณืในพื้นที่ยังมีอีกมาก ก็ให้เสียดายหากต้องขุดตรงนี้ แต่วิธีของคนถางทางก็น่าสนใจดี

อืมม.... อาจารย์มองในแง่บวก ผมมองในแง่ลบดีกว่า

ถ้าสร้างแถวนั้นตอนนี้ แดงไม่ได้เป็นแรงงานสร้างแน่ๆ ครับ เดี๋ยวนี้ไประนองเหมือนไปเมืองนอกแล้วครับ ยิ่งมีโครงการใหญ่มาถึงที่นี่ยิ่งแล้วใหญ่ โครงการนี้อาจจะต้องใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาหลักครับ

ส่วนเหลืองก็คงไม่ได้ลงทุน โครงการใหญ่อย่างนี้เหลืองก็คงได้เป็นแค่นายหน้าตัวแทนให้แก่นายทุนต่างชาติครับ เอกสารชี้ชวนการลงทุนทุกอย่างก็น่าจะต้องทำเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดครับ

สรุปว่าไม่มีภาษาไทยเลย (ฮา)

I am not familiar with general cargo ships. But say a 'new panamax' class ship (49m beam/wide, 366m long, 15+m draft/'dept in water', carrying 10,000-15,000 TEU/'20foot containers', total weight can be over 1 billion tons)... To move a monster like this across land (and get there in one piece) would be a monumental engineering feat. Insurance premiums can also be astronomical. The speed of movement over land may not save 2 days of going (at 12-15 knots) around the strait of Mallaca. ...(Running a panamax ship could cost USD 50,000+ per day)

I don't know enough about materials and concrete to build containment and 'tracks' for this scale of work. May be we can get some 'engineering thoughts' on the subject and see what can be done in our life time. ;-)

I see a picture of "Gulliver" being tied down by little threads on a wooden cart...

ท่าน sr ครับ เท่าที่ได้ยินจากเพื่อนๆ ทหารเรือ เรือใหญ่ที่สุดในวันนี้คือ เรือบรรทุกน้ำมัน ชื่อย่อยาวๆ VLCC ULCC ซึ่งมีขนาดประมาณ 3 แสนตัน ส่วนเจ้า panamax ขนาด 5 พันล้านตัน ผมยังไม่เคยได้ยิน มันคงประมาณ noah's ark เลยนะครับ

ตรรกะของผมคือ เวลาเราสร้างเรือพวกนี้ เราก็สร้างมันบนบก บนนั่งแท่นในอู่ มันก็รับนน.กันได้ แ่ต่เวลามันบรรทุกสินค้ามันก็หนักขึ้นมาก แต่ผมว่าไม่น่าเกินกว่าที่เราจะสร้างแท่นรองรับได้ ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็เข้าอู่ลอยไปเลย

ปัญหาอยู่ที่แท่นครับ ถ้านั่งแท่นได้ การลากไม่น่ายากครับ เพราะรถไฟนั้นเขาถนัดในการลากของหนักอยู่แล้ว เพราะแรงต้านที่ล้อน้อยกว่ารถยนต์ 8-10 เท่า ...สมัยเด็กๆ ผมไป "เข็นตู้รถไฟ" เล่นบ่อยๆ ไม่น่าเชื่อว่าเด็กเล็กคนเดียวสามารถเข็นตู้รถไฟให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนสองวันก่อนผมไปเข็นรถปิ๊คอัพที่จอดขวางทางออกในที่จอดรถศูนย์การค้า กว่าจะเข็นออกแทบแย่

ถ้าเราบริหารจัดการดีๆ เทคโนโลยีพร้อม ผมว่าการเอาเรือเข้านั่งแท่นไม่น่าเกินสองชม.. ลากอีก 2 ชม (ระยะทาง 50 กม.) ปล่อยลงน้ำอีก 1 ชม. ดังนั้นการประหยัดเวลา 2 วัน น่าเป็นไปได้ครับ

แนวคิดของคนถางทาง ชอบมาก ตรรกะชัดเจน คิดตามความคิดของท่าน น่าสนใจ

ถือเป็นนวตกรรม ที่น่าสนใจมากๆครับ

ออกแบบเรือสินค้า หรือ ตู้คอนเทนเนอร์ เสียใหม่ ถึงฝั่งอันดามันเมื่อไร กัปตันกดปุ่มแก็ก เรือหรือตู้คอนเทนเนอร์ก็เลื่อนขึ้น สายสะพานขนาดใหญ แล้วเลื่อนไป ๆ ด้วยหัวรถไฟความเร็วสูงถึงฝั่งอ่าวไทย พอจะไปไหมครับ 555

ผมประเภทพอคิดได้-ผิดถูกไม่รู้-และทำไม่เป็นหรอกครับ 555 แต่คุยกันเรื่องสร้างสรรค์อย่างนี้ ชอบ ๆ

เคยฝันกับพรรคพวกที่เชียงใหม่ เขาบอกว่า อุโมงลมขนาดใหญ่ของเขา ใช้แทนรถไฟ 30 นาที ถึงสถานีหัวลำโพง 555

กทน.วอญ่า เสียดายป่า ก็เอารถไฟ เรือสินค้า เข้าอุโมงค์ไปเลยไดไหม 555

ปู่ชัดต้องหากระเป๋าโดเรมอนมาใช้ อิ อิ

ผมมานั่งนึกคิดใหม่ว่าจะยกเรืออย่างไร คิดว่า ต้องใช้วิธีผ้าห่อศพ เพื่อเฉลี่ยน้ำหนัก อย่าลืมว่าในช่วงน้ำท่วม ผมได้ทำรถลอยน้ำด้วยพลาสติหุ้มมาแล้ว ทีวีทุกช่องมาถ่ายทอดกันใหญ่

แต่เราจะใช้ผ้าไฮเทคแทน ทำด้วยใยเหล็กประสาน ก่อนอื่นเอาผ้าหน้ากว้างสัก 5 เมตร ยาวเท่าลำเรือ (เช่น 300 ม.) มาหุ้มกระดูกงูตลอดแนวยาว ริมผ้ามี "ตาำไ่ก่" (รูเจาะ) ตลอดแนว ห่างกันสัก 5 เมตร (ดังนั้น 300 เมตรสองข้างก็มี 120 รู เพื่อเอาเื่ชือกร้อย ต้องเป็นเชือกเส้นใยเหล็ก และ เป็นเส้นแบน (ไม่กลม) เพื่อให้แนบกับกราบเรือ เพื่อรับน้ำหนักแบบเฉลี่ยให้ได้มากที่สุด โดยหน้ากว้างของเชือกแบบนี้น่าจะสัก 1 เมตร

จากนั้นก็เอาเชือกนี้ ไปผูกมัดไว้กับคานของโครงเคร่าที่ออกแบบให้รับนน.เรือทั้งลำได้ พอดึงเืชือกให้ตึงดีแล้วก็ทำการลากโครงเคร่าขึ้นบกได้เลย ซึ่งล้อโครงเคร่าก็วางอยู่บนรางรถไฟ(ที่จมน้ำ)แล้ว

หัวรถไฟขนสินค้าธรรมดา 1 หัวลากตู้สินค้าได้ 100 ตู้สบายๆ ตู้ละ 30 ตัน (นน.ตู้รวมสินค้า) รวม 3000 ตัน วิ่งด้วยความเร็ว 100 กม. ต่อ ชม ส่วนของเราออกแบบที่ 20 กม.ต่อชมเท่านั้น ดังนั้นจะลากได้ 15,000 ตัน ดังนั้นถ้าเรือหนัก 300,000 ตัน เราก็ต้องการหัวรถไฟ 20 หัว ถ้ามีรางสี่ราง รางละ ๕ หัวต่อกัน ก็จะสามารถลากเรื่อ 3 แสนตันด้วยความเร็ว ๒๐ กม. ต่อ ชม.ได้ ข้ามคอคอดกระด้วยเวลาประมาณ 3 ชม. รวมเวลาเอาเรือขึ้นโครงเคร่า ออกจากโครงอีก 3 ชม. ก็ ๖ ชม.เท่านั้นเอง

...ส่วนเจ้า panamax ขนาด 5 พันล้านตัน... huh, where did I say that? I tried to find and correct it but I failed.

Anyway, I tought about it and note my thoughts. Here it is:-

I had worked on a coal transport system -- looking for a way to improve throughput of a coal mine-rail-port-coal ship combined system. I only got to see some coal mines, coal trains, coal loading and some ships at ports. The rest of my work was on computer simulation and performance graphs ;-)

I had varied many simulation parameters, including coal ships: e.g. ex-cargo (old = 33m wide 12m draft) panamax class with dead weight of some 160,000 tons converted to coal ship carrying capacity of ~170,000 tons; so the total weight of a loaded panamx ship is about 330,000 tons. The new panamax class (Maersk: 49m wide, 15m draft, 400m long) has the dead weight of about 180,000 tons and capacity for 200,000 tons load, in total 380,000 tons. Most bigger ships (as I found out in wikipedia) are now 'broken up' (and possibly cut up in Bangladesh). Some have total loaded weight of 600,000 tons.

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_world%27s_longest_ships http://en.wikipedia.org/wiki/Panama_Canal http://en.wikipedia.org/wiki/Panamax http://en.wikipedia.org/wiki/Track_%28rail_transport%29

Panama's old lock bay is 33m wide 12.6m deep, new lock bay is 50m wide, 16m deep. The sizes of locks limit the sizes of ships that can go through the Panama canal.

I don't know much about the gas carrier ships. ...

Now if we look at a carrier structure (bowl) to contain water and a loaded ship. What would the weight of the structure be? 200,000 tons of steel? And 50x400x15=800,000 tons of water? Altogether, we stare at 1+ billion tons to move in one lump by rails. [For comparison a 18-wheel truck with 2 trailers can carry in total 6+15+15=36 tons. Some 30 millions 18-wheel trucks with 2 trailers are needed to move 1 billion tons of weight in one lump.]

The rails are another interesting engineering megastructure. The ships are upto 50m wide, so the track must be at least that wide for stability of the ship carrier. Building and maintaining track supports to ensure distribution of load over the tracks (of some 17-25 rails 3m-2m apart; a heavy rail guage 75+kg/m may be needed) and smooth movements would be a challenge (water sloshing while in motion would be another challenge). Two tracks, two carriers and two pulling engine sets (lead units) would be needed for 2 ways traffic.

How do we load a ship into a carrier on the track? There maybe other ways but a simple way is to move the carrier to the ship anchoring at sea, somehow submerge the carrier under the ship, secure the ship and refloat the carrier before moving the carrier back to shore, on to a track and let the pulling engines (lead unit) take it (the consist) away.

We may unload a ship by reversing the load procedure.

It is easier to see why digging a 120m wide, 20m deep canal and build 4 concrete water locks -- roughly 120x20x50,000=120 billion tons of dirt to dig and move a little at a time, but once -- is preferred. A canal promises lower setup cost, lower operating cost and simpler operations.

Ahhh, got it the "billion tons" is wrong "million tons" is the correct scale. Sorry, my mistake!

Please correct any "billion" to "million".

รับทราบครับ ท่าน sr ..ผมเองก็เว่อ ไปเอา 5 พันล้านตันมาได้ ทั้งที่ต้นฉบับเขาผิดไปแค่พันเท่าเท่านั้นเอง ส่วนผมทำให้ผิดอีก 5 เท่า อิอิ

เรื่อง weight ผมว่าไม่เท่าไรหรอกครับ แต่ specific weighะ นี่สิทีมันต้องรองรับให้ได้

เรือบรรทุกขนาด ล้านตัน ผมยังไม่เคยได้ยินนะครับ ใหญ่ที่สุดวันนี้คือ ULCC (Ultra large crude carrier ) ประมาณ 5 แสนตันครับ ซึ่่งมีไม่มาก ให้มันไปวิ่งผ่านช่องแคบสิงคโปร์ก็ได้ 90% ที่เหลือ ไม่เกิน แสนตัน เราก็สร้างระบบรถไฟลากเราเอาใจพวกนี้ก็ได้ ลงทุนน้อยกว่า 10 เท่า แต่ลูกค้าลดลงแค่ 10%

ทำเปนคลองลอยเลยสูบน้ำเข้าไว้มนคลองกว้างซักร้อยเมตรยาวห้าสิบ ก.ม ทางหัวคลองกับท้ายคลองทำเปนอู้เรือขนาดใหญ่พอเรื่อเข้ามาในอู้ก็สูบน้ำเข้าให้เท่ากับระดับคลองส่งน้ำแล้วเปิดประตูให้เรือแล่นเข้าไปในคลองพอวิ่งไปถึงปลายคลองก็ทำแบบเดียวกันสูบน้ำเข้าให้ถึงระดับเดียวกันแล้วก็ปิดคลองปล่อยน้ำออกแล้วเปิดประตูปล่อยเรือออกไปฮาๆๆ

 

gx

เป็นกำลังใจให้นะครับ ท่าทางความคิดของท่านผู้เขียนน่าจะคล้ายกับรถไฟขนเรือแบบนี้ใช้ไหมครับ แต่คงใหญ่กว่ามากๆ เลย รูปนี้ เอามาจากคลองElblagในโปลแลนด์ครับ (

http://www.afar.com/highlights/whith-ship-on-the-rail ) สมัยเด็กๆ ผมเคยอ่านพบในนิตยสารว่าที่แถวตะวันออกกลางมีการเอาเรือเดินสมุทรบรรทุกรถไฟข้ามทะเลทรายเหมือนกันครับ แต่เสียดายหาข้อมูลไม่ได้ครับ ไว้ถ้าพบจะเอามาแป๊ะให้นะครับ

<p>ส่วนนี้คือ รถไฟใส่เรือยุคโบราณของกรีกครับ </p><p>Diolkos</p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท