ความกร่อน ความเหี่ยว และ คราบกรุของพระรอดเนื้อดินเผาแกร่ง กรุมหาวัน


แม้จะแกร่งปานใด ก็ต้องเหี่ยว และกร่อนตามกาลเวลา

จากการนั่งศึกษาพระรอดผ่านกล้องจุลทัศน์ ทำให้ผมยิ่งเข้าใจถึงหลักธรรมชาติของการดูพระเนื้อดินเผาแกร่งแบบพระรอดมหาวัน ที่มีทั้งเนื้อดินกรอง และหินอัคนีเป็นมวลสารหลัก

ผมพยายามดูเปรียบเทียบกับพระฝีมือจัด ที่ใช้ความพยายามมากที่จะเลียนแบบ แต่ยังไงก็ยังไม่ใกล้เคียง

โดยเฉพาะความกร่อน ความเหี่ยว และ คราบกรุของพระรอดเนื้อดินเผาแกร่ง กรุมหาวัน

ที่แม้จะเผาได้แกร่งปานใด ก็ต้องเหี่ยว และกร่อนตามกาลเวลา

ที่พระฝีมือยังทำได้ห่างไกลมาก

โปรดพิจารณาตามรูปครับ

ความเหี่ยว และกร่อนของผิวของพระรอด องค์ที่แกร่งทั้งองค์

คราบกรุที่ฐานด้านล่างของพระรอด

หลุมกร่อน ในพระรอดบางองค์ที่อาจเกิดจากความร้อนไม่พอ หรือไม่ทั่วถึง

หมายเลขบันทึก: 492474เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ดร.แสวง ที่เคารพนับถือครับ ผมเป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจพระเครื่องเมื่อไม่นานมานี้ โดยเริ่มศึกษาพระเครื่องเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมานี้เอง มูลเหตุของการศึกษา สืบเนื่องจากผมนำมะพร้าวห้าวไปขายสวนในกลุ่มนักนิยมพระเครื่องในบริเวณท้องถิ่นที่พักอาศัยของผม ทำให้ผมหน้าแตกยับเยิน มูลเหตุมาจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ท่านได้ให้ผมชมพระร่วงรางปืนตะกั่วสนิมแดง ผมก็ถ่ายเก็บไว้ชมในภายหลัง อยู่มาวันหนึ่งผมได้ไปบ้านน้องชาย (เป็นบุตรของอา) เพื่อเล่นกีต้าร์และดูพัฒนาการทางดนตรีของน้องชาย ซึ่งผมเป็นผู้ฝึกสอนให้มาแต่เดิม ขณะเล่นดนตรีอยู่ได้มีเพื่อนของน้องสองคนเข้ามาหา แล้วชวนพูดคุยกันถึงเรื่องพระเครื่อง จนมาถึงตะกั่วสนิมแดง ผมคะเนว่าเด็กเบญจเพศคงไม่รู้เรื่องพระเครื่องเท่าใดนัก จึงนำภาพถ่ายพระร่วงรางปืนตะกั่วสนิมแดงมาให้พวกเขาชม พร้อมกล่าวว่า "ตะกั่วสนิมแดงต้องมีลักษณะตามภาพนี้" ทุกคนก็ชมกันตามที่ผมนำเสนอไป แต่เมื่อเพื่อนของน้องชายกลับกันหมดแล้ว น้องชายของผม ก็เข้าไปในห้องแล้วนำตะกั่วสนิมแดงมาให้ผมดู ปรากฎว่า ของจริงที่ดูที่เห็นนั้น ห่างไกลกับภาพถ่ายที่ผมถ่ายไว้มากนัก ผมจึงถามน้องชายผมว่าทำไมจึงแตกต่างกันเช่นนั้น น้องชายตอบว่า งานฝีมือทำได้ไม่เหมือนของจริง ยังมีอีกหลายอย่างที่งานฝีมือทำไม่ได้ ซึ่งในหลาย ๆ อย่างนั้นพี่ต้องศึกษา "เพื่อไม่ให้เป็นหมูสนาม" จากนั้นน้องชายก็เริ่มอธิบายถึงวิวัฒนาการของพระเนื้อชินตะกั่วให้อย่างละเอียด แต่เพราะผมใหม่มาก ๆ กับพระเครื่อง จึงสื่อกันไม่เข้าใจนัก ผมอะแมชซิ่งกับเจ้าน้องคนนี้จริง ๆ ครับ ปัจจุบันน้องชายเพิ่งบวชพระเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 55 ที่ผ่านมา ที่วัดเขาดินใต้ (วัดหลวงพ่อเฮง ผู้สร้างคชสีห์ระบือนาม)

  • ศิษย์ไม่มีครูย่อมเรียนรู้ผิด ๆ ถูก ๆ เป็นเหตุให้เสียเวลาแห่งชีวิต ผมขอยกอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน เป็นอาจารย์ผมนับแต่บัดนี้ครับ

  • ปัจจุบันผมอยู่ระหว่างศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (ระหว่างทำ Thesis)

  • ขอท่านอาจารย์โปรดรับเป็นศิษย์ด้วยครับ ด้วยความเคารพยิ่ง

ด้วยความยินดีครับ แค่ตั้งใจเรียน ไม่เกินปี ดูได้ครบทุกเนื้อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท