หินแร่ภูเขาไฟย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย


ประเทศที่มีพื้นที่เป็นหินแร่ภูเขาไฟจำนวนมหาศาลอย่างญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ คาซัคสถาน ฯลฯ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย เกาะบาหลีจะค่อนข้างโดดเด่นมากในเรื่องการท่องเที่ยวเกษตรเชิงธรรมชาติเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เพาะปลูกโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยยาฆ่าแมลงเลยแม้แต่น้อยเพราะอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากหินแร่ภูเขาไฟใต้พื้นพิภพที่มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนมหาศาลเป็นแสนๆล้านๆตัน
มีความกังวลของเกษตรกรเพื่อนสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษท่านหนึ่งในเรื่องการใช้หินแร่ภูเขาไฟ ที่เกรงว่าเมื่ิใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟไปนานๆแล้วจะเกิดการสะสมพอกพูนอยู่ในพื้นดินจำนวนมาก แล้วจะกลายเป็นโทษทำให้ปุ๋ยและแร่ธาตุสารอาหารในดินจะถูกจับถูกยึดตรึงไม่ให้พืชดูดกินนำไปใช้ได้สะดวก ส่วนในเรื่องของการสะสมความเป็นกรดหรือด่างนั้นหมดความสงสัยสบายใจไปแล้วจากที่ได้อ่านได้ศึกษาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตไปมากพอสมควร เพราะหินแร่ภูเขาไฟไม่ใช่กลุ่มวัสดุปูนเหมือน ดินมาร์ล,  ปูนเผา, ปูนขาว, โดโลไมท์, ฟอสเฟต ซึ่งกลุ่มปูนดังกล่าวนี้จะมีความเป็นด่างสะสมจึงเหมาะต่อการนำไปแก้ดินกรดดินเปรี้ยวนั่นเอง

ส่วนหินแร่ภูเขาไฟอย่าง ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต, พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์, สเม็คไทต์, สเม็คโตไทต์, ซีโอฟาร์ม, ม้อนท์โมริลโลไนท์และไคลน็อพติโลไลท์ นั้นเป็นหินหนืด หินเดือด แมกม่า ลาวา ที่ผ่านความร้อนมหาศาลเป็นล้านๆองศา เมื่อระเบิดพ้นปากปล่องภูเขาไฟเย็นตัวลงเกิดรูพรุนมหาศาล และในโมเลกุลมีมวลสารที่เป็นแหล่งรวมแร่ธาตุสารอาหารเหมาะต่อการนำไปใช้สร้างการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตต่างๆมากมายทั้งพืช สัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลา ประเทศชิลี เปรู ที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่น น้ำเย็นที่พัดเอาแร่ธาตุสารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟติดไปด้วยจึงก่อให้เกิดแพลงค์ตอนจำนวนมหาศาลซึ่งเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของกุ้งปลาฯลฯ และผลพลอยได้คือมีปลาจำนวนมากทำให้ประเทศชิลี เปรู เป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่โด่งดังเรื่องอาชีพประมงและมีปลากระตักส่งออกไปทั่วโลก

ประเทศที่มีพื้นที่เป็นหินแร่ภูเขาไฟจำนวนมหาศาลอย่างญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ คาซัคสถาน ฯลฯ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย เกาะบาหลีจะค่อนข้างโดดเด่นมากในเรื่องการท่องเที่ยวเกษตรเชิงธรรมชาติเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เพาะปลูกโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยยาฆ่าแมลงเลยแม้แต่น้อยเพราะอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากหินแร่ภูเขาไฟใต้พื้นพิภพที่มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนมหาศาลเป็นแสนๆล้านๆตัน ซึ่งหินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนและเดือดพล่านพองตัวเหมือนข้าวโพดคั่ว (popcorns) จึงมีคุณสมบัติพร้อมต่อการเปื่อยยุ่ยผุสลายตัวเองปลดปล่อยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช สัตว์และสิ่งมีชิวิตต่างๆในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอ ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปด้วยเช่นกันเหมือนกับ ดีบุก ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ จึงไม่มีปัญหาการสะสมและเกิดโทษต่อการทำเกษตรกรรมในระยะยาวอย่างแน่นอน จะถูกกระบวนการของธรรมชาติทั้งจุลินทรีย์ อากาศ สายลม แสงแดด เปลี่ยนแปลงย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยและหล่งอาหารของพืชและสัตว์จนหมด

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 492471เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หินจากภูเขาไฟ ในอินโดนีเซีย.. นอกจากนี้ เค้ายังนำไปสร้างโบราณสถานที่สำคัญๆ ทำถนนหลายสาย ทำเครื่องประดับต่างๆ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท