ศิลปะพระซุ้มกอ น่าจะเป็นซุ้มโพธิ์ และไม้เลื้อยมีดอก


ในวงการพระเครื่องมักจะบอกว่าศิลปะพระซุ้มกอเป็นตัวกนกและนาค แต่จากพระซุ้มกอที่พิมพ์ยังคมชัด พบว่าน่าเป็นซุ้มโพธิ์และเถาวัลย์เลื้อยมีดอกมากกว่า

จากหนังสือตำราพระซุ้มกอ และภาษาที่ใช้ในวงการพระเครื่องมักจะพูดถึงพระกำแพงซุ้มกอว่ามีตัวกนก และนาค

เมื่อผมเข้ามาส่องพระ ผมก็คล้อยตามเขามาระยะหนึ่ง

แต่เมื่อผมมาศึกษาศิลปะพระเครื่องนั้น ผมเริ่มสงสัยว่า ตัวกนกคืออะไร ทำไมในพระรอด และพระอื่นๆจึงเรียกว่าซุ้มโพธิ์

ทำให้ผมเริ่มคิดว่า พระกำแพงซุ้มกอก็น่าจะเป็นซุ้มโพธื์ด้วยเช่นกัน แต่ยังคงคล้อยตาม คำว่า นาค ที่อยู่ทั้งสองข้างขององค์พระ

แต่เมื่อสองวันก่อนผมได้พระกำแพงซุ้มกอเนื้อดำปนแดง เนื้อแกร่ง มาจากปู่อำนาจ บูรพา แห่งเมืองลำพูน ที่มีพิมพ์ทรงคมชัดมาก จนเกือบดูเป็นพระเก๊ (แต่ยังมีเนื้อยุ่ย ผิวหลังเหี่ยว มีคราบกรุในร่องครบถ้วน จึงพอวางใจได้ )

พิมพ์พระองค์นี้ชัดมาก ว่า

ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาขององค์พระเป็นไม้เลื้อยที่มีดอกอยู่ข้างละ 2 ดอกแบบชัดๆ และดอกกำลังผลิอีก 1 ดอก รวมเป็นข้างละ 3 ดอก ตามหลักไตรสิกขาของพุทธศาสนา (ศีล สมาธิ ปัญญา)

และ  ด้านบนเป็นรูปใบโพธิ์อย่างแน่นอน

เพราะ ถ้าเป็นนาคแล้ว ช่างมักจะทำสองตัว สองข้างที่สมมาตรกัน แบบเดียวกับซุ้มในพระพุทธชินราช

ผมจึงมั่นใจว่าเราควรจะเปลี่ยนคำเรียกศิลปะเสียใหม่ จาก ตัวกนกและนาค เป็น ซุ้มโพธิ์และเถาวัลย์เลื้อยมีดอก มากกว่า

โปรดช่วยกันพิจารณาครับ

หมายเลขบันทึก: 492463เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท