โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 6


สวัสดีครับลูกศิษย์ EADP 8 ที่รักทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งในช่วงสุดท้ายของกิจกรรมการเรียนรู้ของเรา ในช่วง EGAT Learning Society (Group Study): The Wise Leader in the Next Decade ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2555 ณ ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นช่วงที่มีความน่าสนใจและสำคัญมาก เพราะจะเป็นการประมวลความรู้ ความคิด และนำมาสู่การเสนอเป็นผลงานของทุก ๆ คน เพื่อการนำมาใช้ในงานที่สร้างคุณค่าให้แก่ กฟผ.ได้จริง เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ  

จีระ หงส์ลดารมภ์

..............................................................

ติดตามการเรียนรู้ที่ผ่านมา

โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 4 และ 5

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/488095

ระยะที่ 3

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485957

กิจกรรมการเรียนรู้ช่วงที่ 2: CSR  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/483425

กิจกรรมการเรียนรู้ช่วงที่ 1

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481480

.................................................

ติดตามการเรียนรู้ของรุ่นอื่น ๆ

รุ่น 7: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/438578

รุ่น 6: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/339639

รุ่น 5: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/266888

รุ่น 4: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/179282?page=2

รุ่น 3: http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/95849

        http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/109820 (Study Tour in Sydney)

รุ่น 2: http://gotoknow.org/blog/chirakm/32392 (Study Tour in Melbourne)

อื่น ๆ http://gotoknow.org/blog/casestudies

..................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2555

วิชา เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

Group study: ร่วมให้คำปรึกษาและแนะนำโดย อาจารย์กิตติ ชยางกุล

Learning Forum: กฟผ. กับเส้นทางสู่องค์การแห่งการเรียนรู้

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #(EADP 2012) ระยะที่ 6
หมายเลขบันทึก: 491768เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สรุปการบรรยายโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

โดย    ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

 

โมเดลภาพลักษณ์ขององค์กร แบ่งเป็น

  1. Corporate Image ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ วิธีการบริหาร
  2. Business Image  หรือเรียกว่าภาพลักษณ์ในด้านการทำมาหากิน ซึ่งเป็นตัวที่สำคัญ
  3. Brand Image หรือเรียกว่า ภาพจำ  แบ่งได้เป็นจำเรื่องที่ดี กับเรื่องที่ไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าคนเลือกจำอะไร หรือที่เรียกว่า Image by Character

ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขาย เช่น เพลินวาน ที่หัวหิน เจ้าของสังเกตว่าคนชอบถ่ายรูป ก็จัดมุมสำหรับให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นเปรียบเหมือนกับภาพลักษณ์องค์กรที่สามารถบริหารจัดการได้โดยการสังเกตและตรวจสอบก่อนเช่นกัน

ไม่ว่าจะต้องติดต่อกับใคร เช่น ลูกค้า ซัพพลายเออร์  ผู้ลงทุนร่วม ฯลฯ เราจำเป็นที่จะต้องให้เขารู้ภาพลักษณ์ขององค์กรเรา

ทิศทางของสภาพแวดล้อมของธุรกิจ มีลักษณะดังนี้

-         การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

-         เกิดเป็นความท้าทายของประชาสัมพันธ์แบะการสื่อสารองค์กร

-         วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายก่อนเสมอ

-         ทำให้รูปแบบการสื่อสารในภาพรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งในปัจจุบันมีควากลมกลืนกัน เนื่องจากผลกระทบของ Social media

-         Crisis ที่เกิดที่หาดใหญ่ ที่โรงแรมที่เกิดไฟไหม้ ทันทีที่ข่าวแพร่ออกไป ทำให้นักท่องเที่ยวไม่เข้าพักและยกเลิกการจองจำนวนมาก

-         การประชาสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ขององค์กร ซึงเป็นการกำหนดทิศทางบริหารขององค์กร

-         ต้องรู้ว่าใครเป็น Key communication ที่ดีที่สุด

-         การเปลี่ยนแปลงทำให้ทิศทาง กลยุทธ์เปลี่ยนไป ต้องใช้ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

-         ต้องโฟกัสประเด็นในภารกิจต่างๆที่สำคัญ ที่ตรงกับความต้องการ เหมือนกับคนที่เลือกจำในเรื่องที่ชอบ เรื่องที่ไม่ชอบ เรื่องที่โดนใจ  

ทักษะด้านการสื่อสาร มีความสำคัญมาก ซึ่งนำไปสู่ความน่าเชื่อถือ

การสื่อสารทั้งหมดเปลี่ยนแปลงจาก

1.  พฤติกรรมในการรับรู้การข่าวสารเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด

2. ทางเลือกของการรับการสื่อสารมีเยอะมาก

ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิต ทำให้ชีวิตการทำงานเปลี่ยนไปด้วย เช่น ใน 3-4 ปีที่แล้ว โนเกีย และซัมซุงได้รับความนิยมมาก แต่ในปัจจุบันพบว่าสมาทร์โฟนได้รับความนิยมมาก

      วิทยาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคนระดับสูง คือ ในเมือง ชุมชนใหญ่

      ผู้บริหารต้องใช้การสื่อสารอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเป็นการสื่อสารแบบ 2 way communication ไม่ใช่ one way communication แล้ว สื่อสารลงมาเป็นแบบ  Top Management

      Spokeperson ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เข้าใจวัตถุประสงค์  ต้องให้ความสำคัญระหว่างกัน
  2. แยกกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของความสนใจ โดยมีการคุยมีการแลกเปลี่ยนกัน

-         ระดับการศึกษา

-         ตำแหน่งอาชีพ/ความรับผิดชอบในงาน

-         ระดับความรู้

-         ประสบการณ์/ภูมิหลัง  ต้องดูว่าจริงๆแล้วเข้าต้องการอะไร

  1. ข้อมูลของเราจะให้เขาอย่างไรบ้าง ต้องตรวจสอบทัศนคติ และแนวคิดเชิงบวกของเขา

-         ข้อมูลต้องน่าเชื่อถือ  โปร่งใส ข้อมูลข่าวสารรวดเร็วและชัดเจน

-         แสดงเหตุผลได้ทุกอย่าง ทำให้เกิดการยอมรับ

-         มีความเป็นกลาง

  1. หาช่องทางในสื่อสารให้ดีที่สุด

วิธีการ 10 ข้อ ที่ทำให้ทำงานกับสื่อได้ง่าย

  1. ต้องมีลิสรายชื่อที่อัพเดท 
  2. รู้จักวิธี media mapping
  3. ทำอะไรให้ทำทีละเรื่อง เป็น One message Key message ก็จะทำอะไรง่ายขึ้น
  4. ต้องมีการตรวจสอบความเข้าใจอยู่เสมอ
  5. ต้องมีการเจอกันอยู่เป็นประจำ
  6. ต้องรู้ค่าย ถึงจะรู้ว่าเขาอยู่เครือข่ายไหน(media network) ทำให้เวลาต้องการไปพบกลุ่มไหน จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทั้งรูปแบบของการทำงาน  ระบบการทำงาน
  7. สัมพันธภาพต้องมีการพัฒนาอย่างรู้คุณค่า คือ มีการให้ทั้งและรับกันทั้ง 2 ฝ่าย
  8. ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา และบุคคล
  9. ต้องมีความสอดคล้องกัน
  10.  ต้องมีความจริงใจ

-         Press release ที่ดีต้องไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ข้อมูลไม่ควรจะเยอะเกินไป ให้ผู้อ่านเข้าใจในเวลารวดเร็ว

 

บุคคลที่จะให้ข่าว มีลักษณะดังนี้

-         ต้องมีความเชื่อถือที่เพียงพอ

-         มีไหวพริบดี/ มีปฏิภาณ

-         ทุกคนขององค์กรต้องให้ข้อมูลที่ตรงกัน การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน จะมีผลมากโดยเฉพาะคนที่เป็น Spoke person

-         ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกระดับ

ประเด็น

-         มีความชัดเจน

-         มีขอบข่ายอย่างไร

-         ต้องหลีกเลี่ยง  คำตอบ ที่ไม่มีความเห็น

เทคนิคการสื่อสาร

ภาวะปกติ

-         ติดตามสถานการณ์ ต้องรู้กระแสสังคม รู้เทรนด์ของสังคม พอรู้แล้วบางเรื่องดีต้องขยาย  เรื่องร้ายต้องขมวด

ภาวะการแข่งขันสูง

-         เกิดขึ้นในชีวิตจริง ต้องรู้เรา รู้เขา และรู้โลก

-         ควรทำ R&D กำหนดแนวทางรับมือ  การเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เช่น มีคนเข้ามาใช้บริการในธนาคาร ชั่วโมงละกี่คน

-         ควรจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ด้วย

-         มีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน

-         ออกแบบหน้าที่ให้ตรงกับบทบาทีเกี่ยวข้อง

ภาวะวิกฤติ

-         มีแผนรองรับภาวะฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

-         ต้องมีการซักซ้อมเพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจ

-         ต้องมีการแบ่งบทบาทผู้รับผิดชอบ

คำถาม

หากจะทำรัฐกิจสัมพันธ์ แล้วต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ หากจะทำให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร

ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ตอบว่า

-         ต้องให้ความสำคัญกับเขา  และเขาให้ความสำคัญอะไรกับเรา

-         จุดอ่อน คือ คนที่ประสานงานจะไม่มีความเชี่ยวชาญ ไม่มีวิธีสร้างความสัมพันธ์

-         ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสำคัญมากกว่าตัวงาน

-         ต้องมีการเล่าเรื่องจากสิ่งที่เขาได้รับประโยชน์ก่อนถึงจะดี

-         ต้องเริ่มต้นจากสิ่งง่ายก่อนสิ่งยาก

-         ดูกลุ่มเป้าหมายก่อนว่าเข้าต้องการอะไร

 

 

 

 

 

 

 

      

 

กฟผ. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-          การหาความรู้ ไม่ควรนำมาจากแหล่งข้อมูลเก่าๆ ควรหาข้อมูลใหม่

-          การเปลี่ยนแปลงองค์กร ควรเริ่มมาจากการเปลี่ยน Mindset ก่อน

-          การเป็นสังคมการเรียนรู้ของ EGAT  จะเป็นอย่างไร

-          ตัวคุณได้ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เกิดเป็น Habit ในช่วงดารเรียนรู้นี้ได้อย่างไร

-          หากขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กร จะสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

-          องค์กรมักจะเกิด สับสนระหว่าง KM และ LO

-          คุณภาพของคน จะมีผลประกอบการได้ต้องผ่านองค์กร  HR=พฤติกรรมองค์กร + ทุนมนุษย์

-          ถ้ามีความรู้แต่ไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ เราจะไม่มีองค์กรแห่งการเรียนรู้เช่นกัน

-          KM = TOOL+TECHNIQUE

-          ปัญหาของการเรียนในปัจจุบัน คือ ครูสอนไม่เป็น  เทคนิคในการสอนไม่ดี สอนให้เด็กจำอย่างเดียว  หากมีความรู้ แต่ไม่มี Learning Culture จึงไม่มี Learning Organization

-          องค์กรที่มีLearning Culture ก็อาจจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้

-          ต้องหาความรู้ คิดวิเคราะห์ และเชื่อมโยงได้

-          KM ได้มาจากความรู้ที่เก็บไว้ภายใน  กับการแสดงความรู้ภายนอก ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บความรู้ และแบ่งบันออกมาภายนอก ทำให้สามารถนำเอามาใช้ ทำให้มีการตระหนักถึงคุณค่าได้ดี

-          KM มาก่อน LO และ LC มาก่อน LO

กรณีศึกษากฟภ. กับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

ขั้นที่ 1  เริ่มต้นโครงการ Learning Organization Awareness สำหรับบุคลากรระดับกลางของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 4,000 คน (ปี 2551)

เริ่มสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญและความจำเป็นของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

     โดยการจัด Workshop ทั่วประเทศรวมกว่า 10 ครั้ง ครั้งละ 2 วันให้ความรู้ในเชิงเทคนิค 1 วัน และอีก 1 เต็มเป็นการสร้างความตระหนักด้วยแนวคิดที่สำคัญเพื่อการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยมีผมทำหน้าที่เป็นโค้ชตลอดทั้งวัน

ขั้นที่ 2 ต่อเนื่องด้วยการจัดโครงการ KNOWLEDGE AUDITING สำหรับบุคลากรระดับกลางของกฟภ.ทั่วประเทศ จำนวน 4,000 คน (ปี 2552)

เป็นการติดตามผลการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถาม  เป็นการสำรวจการปรับพฤติกรรมในการเรียนรู้ของตนเอง การนำไปใช้ในระดับองค์กร และประเทศชาติและร่วมกันหากลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

ผลที่ได้คือ  การจัดการบริหารดีขึ้น  มีผลประกอบการสูงขึ้น

-          การฝึกอบรม ส่วนใหญ่มีอยู่ในองค์กร แต่ไม่มีการเรียนรู้

-          Learning how to learn

-          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีวิธีการคิด 4 แนวคิด ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 1) ทำอะไร
 2) ทำอย่างไร  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
 3) ทำเพื่อใคร
 4) ทำแล้วได้อะไร

-          กฎของ Peter Senge เป็นคนที่มีอิทธิพลต่อโลกมาก

-          Personal Mastery   รู้อะไร รู้ให้จริง

-          Mental Models      มีแบบอย่างทางความคิด

-          Shared Vision       มีเป้าหมายร่วมกัน  และกฟผ.ต้องแชร์วิสัยทัศน์กับชุมชนด้วย

-          Team Learning     เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

-          System Thinking   มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

Lateral Thinking   ตรงข้ามกับ Vertical Thinking  คือ การมองข้ามศาสตร์ และ Challenge Assumption

7 habits:

  1. รุกมากกว่ารับ
  2. นึกถึงจุดสุดท้าย
  3. ทำสิ่งสำคัญก่อน
  4. คิดแบบ win-win
  5. เข้าใจคนอื่น
  6. ร่วมพลัง
  7. ต้องมีไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตลอดเวลา

แนวคิดใหม่ของ Grid คือ การแบ่งข้อมูลข่าวสารต้องเป็นไปอย่างมีประชาธิปไตย

ทฤษฎี 2 R’s

-          Reality      

-          Relevance   เรียนรู้ในสิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเอง ซึ่งมากจาก Line manager

จากทฤษฎี 8 K’s  สิ่งที่สำคัญ 3 อันดับแรก คือ

ทุนทางจริยธรรม 

ทุนทางปัญญา

ทุนแห่งความยั่งยืน

5 K’s ได้แก่

ทุนแห่งการสร้างสรรค์

ทุนทางความรู้

ทุนทางนวัตกรรม

ทุนทางอารมณ์   ต้องมีการควยคุมอารมณ์ให้ดี

ทุนทางวัฒนธรรม  

ปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัย  หากท่านขึ้นไปเป็นผู้นำขององค์กร มีดังนี้

1. สร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีวัฒนธรรมการเรียนรู้

2. ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร

3. สนับสนุนในสิ่งที่จำเป็น  เงิน  ห้องสมุด

4. การวัดผล  ต้องดูว่าผลประกอบหารของเราสูงขึ้นจริงหรือไม่

 

 

 

 

 

การทำงานอย่างมีความสุขและอารมณ์ขัน

ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล

-         ผู้บังคับบัญชา หรือ หัว+หน้า

-         หัว จะต้องมี ทัศนคติ และปัญญา

-         หน้า จะต้องมี  หา  รักษา และ พัฒนา

-         ดร.สุรวงศ์ถามว่า วิทยากรมาบรรยายทำไม?

  1. ร้อนวิชา
  2. เห็นแก่ตัว
  3. ฆ่าเวลา
  4. วิทยาทาน
  5. ดีกว่าอยู่เฉยๆ

-         การทำงานทำเพื่ออนาคต หรือ เพี่อชีวิตของเราเอง เพราะฉะนั้นอาจารย์เฉลยว่าตอบข้อ 2  คือเห็นแก่ตัวนั่นเอง

-         การอธิบายด้วยการยกตัวอย่าง แบบมีอารมณ์ขัน จะมีผลทำให้ผู้เข้าอบรมจำการบรรยายนั้นได้ดีกว่าการบรรยายแบบเครียดๆไม่มีการยกตัวอย่างประกอบ

การทำงานกับคนอื่นต้องมีหลักการ ดังนี้

-         ทำดีเพื่อคนอื่นและตัวเอง

-         มีน้ำใจ

-         ต้องยึดหลักการที่ว่า มิตรภาพหาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน

-         ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

-         มีน้ำใจเป็นพิเศษ

การข่มอารมณ์โกรธ และโมโหในขณะทำงาน แต่สามารถปฏิบัติงานต่อได้ ถือว่าเป็นการชนะใจตัวเองได้แล้ว

ในสังคม ถึงจะมีเงินทองมากมาย แต่ไม่มีใครคบ ก็อยู่ไม่ได้

EQ หรือความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความสำคัญในการทำงานมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นตัวอย่างที่ควรเป็นแบบอย่างในการมีอารมณ์ขัน

หากโดนด่าจะท่องคาถามอะไร

-         หาพ่อแม่ปากมาก    ท่องคำว่า   “บุญคุณ”

-         เพื่อนปากแปร๋น                          “ของฝาก”

-         แฟนปากปลาร้า                         “กรรมเก่า”

-         ลูกค้าปากร้าย                            “ชื่อเสียง”

-         ลูกน้องปากไว                            “ตัวช่วย”

-         ลูกพี่ปากไว                               “ตำแหน่ง”

เรียกว่าเป็นวิธีการกำหนดอารมณ์ ซึ่งเป็นหลักธรรมวิธีหนึ่ง

คุณสมบัติของพนักงาน ควรมีดังนี้

  1. องค์ความรู้เหมาะกับตำแหน่งงานหรือไม่
  2. ทักษะในตำแหน่งงานเป็นอย่างไร
  3. 2 ข้อ รวมกันเป็น ฝีมือ
  4. ควรมีทัศนคติที่ดี

หากเจอใครแล้วไม่สบอารมณ์ ต้องคิดว่าคนเรานั้นแตกต่างกันเนื่องจาก

-        สายเลือด 

-        การอบรมเลี้ยงดู

-        สิ่งแวดล้อม

-        บุพกรรม

คนเราจะมีสุขภาพเป็นอย่างไร  ขึ้นอยู่กับ

-         อาหาร

-         อุตุ  ไม่ควรนั่งนาน ควรเดินผ่อนคลายบ้าง

-         จิต  ควรมีอารมณ์ขัน จิตจะได้ไม่เครียดมาก

-         นวกรรม

เสน่ห์ของคนเรา ไม่จำเป็นที่จะขึ้นอยู่กับหน้าตาเท่านั้น หากมีความฉลาด และมีความคิดที่ดีก็ทำให้มีเสน่ห์ได้

ในเวลาการทำงานหากมีใครมาแซว หรือทำให้มีอารมณ์โกรธ  เราควรข่มใจแล้วตอบกลับอย่างมีอารมณ์ขัน

ทัศนคติแง่บวกที่มีต่องาน มีความจำเป็นในการทำงานมาก

งาน =  ศึกษา  การมีมิตร  เงิน  ชื่อเสียง ข้อสอบ ท่องเที่ยว ฟิตเน็ต

ปราชญ์ มี 4 แบบ คือ

  1. ผู้เกิดนาน
  2. นักพเนจร
  3. ผู้มีนัยย์ตาที่ 3
  4. ผู้ปฏิบัติธรรม

ขั้นตอนการเรียนรู้

  1. การรับรู้
  2. การเปรียบเทียบ
  3. การวิเคราะห์
  4. ปฏิกิริยา
  5. ตัดสินใจ
  6. บทสรุป

ใครว่าอารมณ์ขันไม่ใช่วิชาการ???

อารมณ์ขันมีหน้าทีของมันอย่างมีแก่นสาร หากเราเรียนรู้แบบอารมณ์ขัน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

การที่จะทำให้มีคนสนใจคุยกับเรา ต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  ต้องมีมุขใหม่ ท้าทาย ทันยุค น่าขำ ง่ายง่าย  คาใจ

ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

-        ศาสตร์ใหม่เริ่มมองเห็นการที่ผู้นำจะต้องเป็น Adaptive Change จากเดิมเป็น Transformational Leadership

-        การทำหน้าที่โค้ช คือการทำหน้าที่พูดคุยกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน อย่างเป็นศาสตร์และศิลป์  ผู้นำต้องสอนผู้นำให้เป็นผู้นำรุ่นต่อไปได้

-        ทักษะที่สำคัญของโค้ช คือ ทักษะการสื่อสาร แบ่งเป็น ทักษะการถาม ฟัง การให้ feedback การให้Feedback เป็นสิ่ง

 การสร้างสัมพันธภาพของทีมงาน ต้องรู้สไตล์ของลูกน้องแต่ละคน

-        หากมีวัฒนธรรมองค์กรแล้วผู้นำต้องมีการบริหารงานแบบปรับ คือ ปรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้

-        การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่สร้างยากมากเนื่องจาก 3 ปัจจัย ได้แก่

  1. สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเกรงใจ  แก้โดยการสร้างวัฒนธรรมการเปิดใจ
  2. Conflict Avoidance
  3. Force Saving

-        ในการสร้างความสามารถขององค์กร คนแต่ละคนต้องมีความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ อยากให้องค์กรยิ่งใหญ่ด้วย แต่ละคนมุ่งมั่นที่อยากจะทำให้ถึงเป้าหมาย

ความเชื่อของคนในองค์กร ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผลงานขององค์กรสะท้องให้เห็นการจัดการบริหารองค์กรของผู้นำ

 

Baby Boom  อายุ 45-63 เป็นพวกยึดติด ไม่ชอบเทคโนโลยี

Gen X อายุ 30-45
Gen y อายุ9-29 ต้องการทำงานแต่มีชั่วโมงการทำงานน้อย  และต้องการเทคโนโลยี ชอบเปลี่ยนที่ทำงาน ทำงานไม่ถึง 1 ปี ก็ลาออก

-        เป็นความท้าทายของผู้นำ ที่ต้องจัดการกับคนที่หลายยุคที่แตกต่างกัน

-        ผู้นำจะต้องให้โอกาสอย่างเป็นอิสระที่จะพูด

-        มีความยืดหยุ่นในการทำงาน

-        ให้การCoaching

-        วัฒนธรรม จะเป็นเสมือนจิตใจขององค์กรที่จะเป็นเครื่องชี้นำในการแสดงออก และตอบสนองความต้องการของสภาพแวดล้อม โดยวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์ และความสำเร็จขององค์กร องค์กรอาจมีความสำเร็จหรือความล้มเหลวแตกต่างกัน เนื่องจากวัฒนธรรมหรือจิตวิญญาณขององค์กรที่ไม่เหมือนกัน

-        หน้าที่ของวัฒนธรรม เพื่อสร้างแนวทางการประพฤติปฏิบัติ มาตรฐานการปฏิบัติงานและหนทางในการจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสภาพแวดล้อมซึ่งลดความไม่แน่นอน เพิ่มความสามารถในการทำนายได้และเกิดการส่งเสริมความอยู่รอดและความเจริญเติบโต

-        ปัญหาคือ ทำให้คนในองค์กรเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรที่สร้างมาได้อย่างไร

-        วัฒนธรรมขององค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

-        การคิดต้องคิดอย่างเป็นระบบ ต้องปลูกให้ให้คนในองค์กรอย่านิ่งดูดาย(critical thinking) และคิดอย่างมี innovation

สร้างระบบเพื่อสนับสนุนแนวคิดใหม่

-        ระบบทางเทคนิค (Technical) ที่จะนำไปสู่การผลิต และการ  บริการที่มีประสิทธิภาพ

-                   คน

-                   เงินลงทุน/งบประมาณ

-                   เทคโนโลยี

-        ระบบทางการเมืองในองค์กร (Poetical) มีอิทธิพลต่อ อำนาจ, โอกาสในอาชีพ และ การให้รางวัล

-        ระบบด้านวัฒนธรรม (Cultural) จะสร้างแนวปฏิบัติร่วมกัน ความเชื่อและทัศนคติของผู้คนในองค์กร

การนำเสนอความคิดเห็นจากกลุ่ม โดยระบุรายละเอียดของแนวคิดและสิ่งที่จะทำให้เป็นจริง

กลุ่ม 1  ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบเรียนรู้

กลุ่ม 2 ทบทวนเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ

กลุ่ม 3 โครงสร้างองค์กร  ตามกระบวนการท้าทาย

   Hr เป็นศูนย์กลาง

 

กลุ่ม 4 ผลักดันเรื่อง Asean ปรับแนวคิดเรื่อง o&m (Operation and Management)

 องค์กรที่ประสบความสำเร็จ มีวัฒนธรรมและค่านิยมร่วมที่

-        กำหนดพฤติกรรมที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ตลอดเวลา

-        สนับสนุนเป้าหมายหลักขององค์กร

ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ มีค่านิยมของตนเองและค่านิยมขององค์กร

-        การกระทำของผู้นำสะท้อนค่านิยมที่ผู้นำกำหนด และยึดถือ

 

 

 

วันนี้ได้อะไร

วันที่วันที่ 20 มิถุนายน 2555

 

        ครั้งแรกที่เห็นโปรแกรมก็คิดอยู่ในใจว่า เอ... ใกล้จะจบอยู่แล้วอาจารย์จีระ ยังจะให้เรียนอะไรอยู่อีก จัดนำเสนอรายงานแต่ละกลุ่มไปเลยก็น่าจะ OK

          แต่ผิดคาดครับเพราะอาจารย์ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ที่มาสอนเรื่อง “เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน” ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล เรื่อง “การทำงานอย่างมีความสุขและมีอารณย์ขัน” และ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมองค์กร” ไม่ได้ทำให้ผิดหวังเลยครับ รวมทั้ง ดร.จีระที่เหมือนมาสรุปรวบยอดให้เป็นหนึ่งเดียวในที่สุด

        ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ เรื่อง “เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน”

  • อาจารย์เริ่มต้นที่ความท้าทายของ “ผู้นำ” ในการสร้างความสามารถขององค์กร ทั้งในกระบวนการทำงานและระบบปฏิบัติการ < -- > คน เมื่อมีคนเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขององค์กรและค่านิยมร่วมกันของคนกลายเป็นวิถีแห่งองค์กร ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการเดิมแบบ Transformational Leadership ได้อีกต่อไป กลับต้องใช้ Adaptive Change
  • ระบบปฏิบัติการที่ดีโดยทั่วไปคือ 1) คนต้องการคำชื่นชม 2) สมรรถภาพเริ่มต้นจากความคาดหวังของแต่ละคน 3) ความคาดหวังขับเคลื่อนจากสิ่งที่คนคนนั้นมีอยู่ในตัวเขาเช่น เป้าหมาย มุมมอง ความเชื่อและสิ่งแวดล้อม 4) การกระทำของหัวหน้า 5) การเรียนรู้เป็นกระบวนการไม่ใช่เป้าหมาย และ 6) ผลลัพธ์ขององค์กรสะท้อนฝีมือผู้นำ
  • ผู้มีส่วนร่วมในองค์กร มี 9 Parties เยอะไปหมด ที่สำคัญคือ Press หรือสื่มวลชน ดังนั้น ภาพลักษณ์ที่สื่อออกไปจึงสำคัญมาก สื่อที่เป็นบทบาทหน้าที่วิธีการบริหาร (Corporate Image) สื่อที่เป็นภาพลักษณ์ของธุรกิจคือการค้า วิธีการหารายได้ (Business Image) และสื่อที่คนจำได้เรียกว่า Brand Image เป็นภาพลักษณ์ขององค์กร
  • ทิศทางของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่แน่นอน ต้องพยากรณ์ เดาให้ได้ ต้องเลิกใช้การออกหนังสือเวียนได้แล้ว เปลี่ยนเป็น Morning Coffee คุยให้ทราบสถานการณ์ล่าสุด กาแฟหมดแก้ว 10-15 นาทีก็ OK การจัดงาน Event ไม่ใช่จัดเพื่อให้ได้ครบว่า 2 ครั้งตามที่กำหนดไว้เป็น KPI คนจะมาหรือไม่มีคนดูก็ไม่สนใจ จัดงานที่ Impact เมืองทอง แต่ไม่ยอมจัดรถบริการจากโรงเรียนที่เขาพอที่จะมีสถานที่ให้จอดรถได้สะดวก ก็บอกว่าไม่มีงบจัดรถ ที่จริงอาจไม่ได้คิดซะมากกว่า เหตุการณ์ระเบิดที่ใต้โรงแรมลีการ์เด้น มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมาก วันนี้ที่นั่งพิมพ์ก็มีแหม่มเจ้าของบริษัทท่องเที่ยวของออสเตรเลียกำลังมาหาข้อมูลเพื่อพาคนมาเที่ยว ก็ถูกแทงตายที่ภูเก็ต ผลกระทบจะรุนแรงมาก ผู้สื่อข่าวออสซี่แห่มาทำข่าวเต็มไปหมด
  • การแก้ข่าวของร้าน Mc ต้นทุนต่ำมาก แค่ SMS บอกว่า Mc ขายอาหารโดยใช้เตาไฟฟ้าเท่านั้น ไม่มีการใช้แก๊สในร้านเลย ให้ความจริง สื่อช่องต่างๆ ก็ช่วยกระจายข่าวให้เอง บทบาทของสื่อเชิงรุกสำคัญมาก เช่นสรยุทธขอบริจาคเงินซื้อรถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต ได้เงินกว่า 120 MB ขณะที่สภากาชาดทำมากกว่า 2 ปี จึงจะได้ซักคัน
  • ต้องจัดลำดับว่าจะสื่ออะไรในแต่ละปี เล่นปีละ 2-3 เรื่องจะมี Theme ชัดเจน ไม่ใช่ว่า สื่อมันทุกเรื่อง คนจะจำได้เพราะชอบ/ไม่ชอบก็จำได้แต่ไม่ค่อยดี และต้องสม่ำเสมอ รับมือแบบมืออาชีพ
  • ภริยาของบารัค ชอบที่จะปลูกผักหลังบ้าน ก็ The White House ไม่ก้าวล่วงบทบาทของสามี
  • ดูวิดีโอโลกใน 1 วันของอาจารย์ แล้วเห็นว่า สื่อในการสื่อสารมีความจำเป็นมาก Media ที่ส่งได้เร็วเป็นหัวใจของหนังชุดนี้ ดังนั้น กฟผ. ควรลงไปขยายงาน Fiber Optic ไม่ใช่แค่เป็นของเหลือจากการใช้งานควบคุมระบบแล้วเท่านั้น
  •  หลักการในการสื่อให้ได้ผล 10 ข้อ (Win-Win Solution) 1) ต้องมีลิสรายชื่อที่อัพเดท ไม่ใช่ว่ามีเบอร์โทรแต่โทรไปเขาเลิกใช้ไปแล้ว 2) รู้จักวิธี media mapping เช่น ผู้กำกับชอบร้องเพลงก็ต้องพาไปคาราโอเกะ  3) ทำอะไรให้ทำทีละเรื่อง เป็น One message Key message ก็จะทำอะไรง่ายขึ้น 4) ต้องมีการตรวจสอบความเข้าใจอยู่เสมอ โทรเช็คข้อมูล 2-3 แหล่งก่อนใช้ออกไป 5) ต้องมีการเจอกันอยู่เป็นประจำ ปีละ 4 ครั้งถึงจะจำกันได้ ไม่ใช่ว่าต้องมาเจอหน้านะ โทรหากันก็ได้ ส่งของฝากคนไปให้ก็ได้ 6)ต้องรู้ค่าย ถึงจะรู้ว่าเขาอยู่เครือข่ายไหน (media network) ทำให้เวลาต้องการไปพบกลุ่มไหน จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 7) สัมพันธภาพต้องมีการพัฒนาอย่างรู้คุณค่า คือ มีการให้ทั้งและรับกันทั้ง 2 ฝ่าย 8) ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา ความจริงและบุคคล 9) ต้องมีความคงเส้นคงวาสอดคล้องกัน และ 10) ต้องมีความจริงใจ
  • เทคนิคการสื่อสาร มี 3 สถานะ 1)ภาวะปกติ เกิดอะไรขึ้นในวงการ มีอะไรผิดปกติ 2) ภาวะการแข่งขันสูง วิจัย สังเกตสภาพการแข่งขัน กำหนดแนวทางการรับมือไว้หลายรูปแบบ เรียกว่า Strategic Planning และ 3) ภาวะวิกฤต มีแผนรองรับภาวะวิกฤต ต้องรู้ว่ามีแล้ว กำลังจัดเตรียม หรือยังไม่มีแผน ต้องซักซ้อมแผนเสมอ กฟผ. มีแผนจัดการภาวะวิกฤต แต่ก็ยังมองว่าเป็นแผนของกระทรวงพลังงานอยู่เพราะเป็น PA ของกระทรวงพลังงาน ต้องเปลี่ยนความคิดว่าเป็นงานหลักของ กฟผ.
  • Top 3 ต้องมีแผนรับมือ เหตุการณ์แบบนี้รับมืออย่างไร ประชาชนเขาจะไม่ยอมรับ ถ้าเกิดเหตุซ้ำสอง ต้องแบ่งงานเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง แก้ปัญหา อีกส่วนหนึ่ง คือ สื่อสาร
  • คำถาม งานรัฐกิจสัมพันธ์จะให้ประสบผลสำเร็จต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ต้องรู้ว่าแขกรับเชิญเขาให้ความสำคัญอะไร เราให้ความสำคัญอะไร ข้อเสียคือ เราชอบใช้คนไม่ชำนาญ (งานแบบนี้ต้องมี Skill)
  • คำถามที่สอง การประชาสัมพันธ์ Ft ให้สำเร็จ คำตอบ keyword คือตัวเลข เขาอยากฟังอะไร Ft เริ่มจากสิ่งที่ยาก ปิดประตูสำเร็จ ตัวอย่างเรื่อง VAT เล่าให้ง่าย พูดถึงประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย ไม่เล่าสิ่งที่เราทำ Map ตาม Life Style แทนตามภาคพื้นที่
  • เราจะสื่อสารใคร เนื้อหาอะไร และจะใช้เครื่องมืออะไร ต้องเลือกนะเช่น สสส. เล่าปีละเรื่อง

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

ขอตัด ออก 2 หัวข้อครับ เป็นของอาจารย์ศิริลักษณ์

• อาจารย์เริ่มต้นที่ความท้าทายของ “ผู้นำ” ในการสร้างความสามารถขององค์กร ทั้งในกระบวนการทำงานและระบบปฏิบัติการ < -- > คน เมื่อมีคนเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขององค์กรและค่านิยมร่วมกันของคนกลายเป็นวิถีแห่งองค์กร ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการเดิมแบบ Transformational Leadership ได้อีกต่อไป กลับต้องใช้ Adaptive Change

• ระบบปฏิบัติการที่ดีโดยทั่วไปคือ 1) คนต้องการคำชื่นชม 2) สมรรถภาพเริ่มต้นจากความคาดหวังของแต่ละคน 3) ความคาดหวังขับเคลื่อนจากสิ่งที่คนคนนั้นมีอยู่ในตัวเขาเช่น เป้าหมาย มุมมอง ความเชื่อและสิ่งแวดล้อม 4) การกระทำของหัวหน้า 5) การเรียนรู้เป็นกระบวนการไม่ใช่เป้าหมาย และ 6) ผลลัพธ์ขององค์กรสะท้อนฝีมือผู้นำ

ประเสริฐศักดิ์

วันนี้ได้อะไร

วันที่วันที่ 20 มิถุนายน 2555

                 ดร. กิติ ชยางกูร พี่เลี้ยงเรื่อง “รายงานกลุ่ม”

  • อาจารย์เป็นที่ปรึกษางานกลุ่ม 5 เรื่อง คือ
  1. การสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
  2. Eco Energy
  3. โรงไฟฟ้าชุมชนกับการพัฒนาไฟฟ้า
  4. โรงไฟฟ้าทับสะแก
  5. CSR กับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.
  •  อาจารย์แนะนำหลักการในการวิเคราะห์หรือนำเสนอโครงการของ กฟผ.
  1. ตอบโจทย์ กฟผ. คือสามารถสนอง Vision Mission Strategyได้
  2. ความเสี่ยงในการดำเนินงาน/โครงการ 1) มี Risk อะไรบ้าง และการขจัดความเสี่ยง และ 2) มีโครงการแล้วมีความเสี่ยงอะไรบ้าง
  3. ทรัพยากร – พื้นที่ – บุคลากร
  4. Break-even point มี Output และ Outcome ที่เป็นรูปธรรม จะชัดเจน มองเห็นได้ง่ายกว่านามธรรม ซึ่ง CSR ของโครงการทุกโครงการมี แต่ว่าจะวัดได้อย่างไร
  • Fundamental of Corporate Finance
  1. เข้าใจ สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและมูลค่า
  2. เข้าใจ สถานการณ์ ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์
  3. เข้าใจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความคุ้มทุน
  4. ความสามารถในการบริหารจัดการ
  5. เข้าใจ งบประมาณ มีแค่นี้
  • กลยุทธ์ มี 4 วิธี คือ 1) ดำเนินการเป็นเลิศ 2) สร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สิน 3) CSR คือต้องมีทั้ง Economy-Social-Ecology เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมชุมชน และ 4) HPO – High Performance Organization องค์การสมรรถนะสูงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
  • ช่วงต่อมาและในวันต่อมา 21 มิถุนายน 2555 เป็นการแนะนำการจัดทำรายงานของแต่ละกลุ่มให้มีประเด็นครบถ้วน
  • น่าเสียดายนะอาจารย์น่าจะแนะนำในช่วงที่ 5 ก่อนลงมือทำรายงาน คำแนะนำเหล่านี้จะได้ Empower มากกว่านี้

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร

วันที่ 20 มิถุนายน 2555

 อ.จีระ หงส์ลดารมภ์  เรื่อง “กฟผ. กับเส้นทางสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้”

  • อาจารย์เริ่มต้นทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในระหว่าง Class นี้ แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าคนอื่นที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์เขาจะฟังอาจารย์เข้าใจได้หรือไม่ จะมีปัญหาในการสื่อสารกันหรือไม่
  • ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนองค์กรควรเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ก่อน พูดแค่นี้คนที่อบรมมา 7 รุ่น ๆ ละ 30 กว่าคน ก็มี 200 กว่าคนเท่านั้นที่พอจะเข้าใจได้ว่าปรับจาก Fixed Mindset เป็น Growth Mindset จะค่อยๆ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ แล้วที่เหลือล่ะจะเป็นอย่างไร
  • นิสัยการเรียนรู้ ปรับได้ยาก ต้องเป็นคนที่อยากรู้ด้วยจึงจะมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ต่อไป แต่ละคน แต่ละบุคคลต้องมีนิสัยแบบนี้ก่อน จึงจะปรับองค์กรเป็น Learning Organization ได้
  • คนระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการยังสับสน หรือยังไม่เข้าใจเลยว่า Knowledge Management เป็นการเก็บสะสมความรู้เก่า เป็นคลังสมอง เก็บประสบการณ์คนรุ่นเก่าที่เคยเจอกรณีต่างๆ เป็นบทเรียนที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลาอีกต่อไป  ส่วน LO เป็นการต่อยอดสร้างภูมิความรู้ใหม่ขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ  แล้วคนระดับอื่นๆ จะเป็นอย่างไร น่าเป็นห่วงนะ ทุกวันนี้ ทำ KM เพราะว่า SEPA บอกให้ทำ AAR-Action After Review ก็ทำเพราะเขาบอกให้ทำ ไม่ได้มีใจอยากจะสะสมความรู้เหล่านั้นไว้หรอกนะครับ กลับรู้สึกเป็นภาระเสียอีกว่าต้องทำไตรมาสละ 3 เรื่อง เป็นต้น
  • อาจารย์สอน กฟภ. 4,000 กว่าคน ได้ปริมาณ แล้วได้คุณภาพด้วยหรือยังครับ หากมีผลการประเมินออกมาก็จะตามไปฟังด้วย ส่วนผมชอบการอบรมแบบ กฟผ. มากกว่า จำนวนคนน้อยๆ ครั้งละ 30-40 คน การฝึกฝนในแต่ละบทเรียนได้ทั่วถึง ยังติดใจว่ามารยาทสังคมน่าจะได้ฝึกกินกันจริงๆ
  • และจำนวนวันที่มากกว่า จัดเป็นช่วงๆ แบบนี้ดีมาก ไม่อัดรวดเดียว 10 วัน แบบนั้นเหมือนกินอาหารโดยไม่ได้เคี้ยว ย่อยก็ไม่ย่อย พาลพาให้ท้องอืดท้องเสียอีกต่างหาก เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้ม แบบหลังนี้
  • ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม ดีมาก สรุปให้เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนมากครับ Data คือการเก็บ Information คือ การจัดหมวดหมู่ Knowledge คือการวิจัย วิเคราะห์ Valued Added คือการเปิดโลกทัศน์ + การบริหารแบบแหวกวงล้อมที่ได้จังหวะ และ Wisdom คือสุดท้ายเป็นความฉลาดเฉลียว
  • แนวคิดตามพระราโชบายนั้นดีที่สุด หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในโลกนี้ สรุปแนวคิด Stephen Covey 7 ประการ, Peter Senge, Edward De Bono, Grid, และของ ดร. จีระ 4L+3L+2R+2I 8K 5K’s
  • Workshop ไม่ได้มีเวลาให้ทำ คือการให้คะแนนวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเราเองอาจจะได้ 6 สูงกว่าค่ากลาง 5 แต่ขององค์การ กฟผ. นั้นน่าเป็นห่วงมาก คิดเอาเองนะครับว่าคงจะอยู่ราวๆ 1-2 (นี่ก็ให้เยอะแล้วนะ) ส่วนโครงการที่ปฏิบัติได้ 2 โครงการเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของ กฟผ. จะขอส่งแค่เรื่องทำอย่างไรให้ กฟผ. มีงบในการฝึกอบรมเพียงพอ เป็นการบ้านในปีนี้ก่อนครับ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร

วันที่วันที่ 21 มิถุนายน 2555

                 ดร. สุรวงศ์ วัฒนกูล เรื่อง “การทำงานอย่างมีความสุขและอารมณ์ขัน”

  • อาจารย์สุรวงศ์เริ่มจากการทักทายกัน กราบเท้าสวัสดี 3 หน คิดว่าคนจะจำได้เพราะแปลกกว่าคนอื่น คำแนะนำว่าอย่าทักจุดอ่อน จำหนูได้ไหมคะ นี่โดนใจมาก เพราะหลายครั้งที่เราก็จำเขาไม่ได้ การทักทายแล้วบอกไปเลยว่าเราเป็นใครนี่ไม่ทำให้ผู้ถูกทักกลุ้มใจ กลัวคนทักเสียใจ เพราะเราจำเขาไม่ได้
  • คาถาทำมาหากิน ชอบมาก “หากิน อย่าหาเรื่อง”
  • ตัวอย่างวิทยากรมาสอนทำไมนี่ก็ใช้ได้เลย คำตอบคือ เห็นแก่ตัว ไม่ใช่ร้อนวิชา ไม่ใช่ฆ่าเวลา ไม่ใช่ วิทยาทาน และก็ไม่ใช่ว่า ดีกว่าอยู่เฉยๆ นั้นมีคำอธิบายได้ชัดเจนว่า ถ้าไม่เพื่อตัวเองก็คงไม่มา
  • พูดอย่าให้เกินเวลากินข้าว
  • การประชุมหรือระดมความคิดแบบขันๆ จะคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าแบบเคร่งเครียด
  • โดนด่าจะท่องคาถาอะไร โยโสนมัสิการ คิดให้ดีก่อนจึงพูด การท่องคาถาก็เพื่อให้มีเวลาคิดก่อน
  • เวลาเจอใครแล้วไม่สบอารมณ์ ต้องคิดว่าคนเราแตกต่างจาก สายเลือด การอบรมเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม และกรรมเก่า (บุพกรรม)
  • ทัศนคติแง่บวกที่มีต่องาน มีความจำเป็นมากเพราะทำให้เรามีความสุข สนุกกับงาน ผลงานจะออกมาดีกว่าที่ทำตามปกติมาก
  • บันทึกความจำของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร นั้นดีมาก ได้รับพระจิตรลดา แล้วในหลวงให้ไปปิดทองหลังพระ เป็นอุบายในการสอนที่ลึกซึ้งมาก แต่ พล.ต.อ.วสิษฐ ไม่ค่อยพอใจนัก ทำงานนานไม่มีผลงาน เลยไปขอปิดทองด้านหน้าองค์พระกับพระองค์ท่าน ในหลวงรับสั่งให้ติดข้างหลังมากๆ แล้วทองจะล้นมาข้างหน้าเอง โอ้โฮ ท่านคิดได้ไง ในเวลาที่สนทนากันนั้น แป็บเดียว ตรัสออกมาแล้ว มันยิ่งกว่าลึกซึ้งอีก ไม่รู้จะเรียกว่าอย่างไร
  •  เรื่องตลกมากมายที่อาจารย์เล่า มีคติสอนอยู่ทั้งนั้น ศิริลักษณ์กับรัสมีขอใช้เก้าอี้ส่วนตัวในที่ทำงาน การมีเซ็กซ์ของเทวดา นักปราชญ์คือใคร เสน่ห์สาวแอร์พอร์ท เสน่ห์สาวดังกิ้น ศรีธนนชัยสโตร์ ฯลฯ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร

วันที่ 22 มิถุนายน 2555

 

ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เรื่อง “ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร”

  •  อาจารย์เริ่มต้นที่ความท้าทายของ “ผู้นำ”ในการสร้างความสามารถขององค์กร ทั้งในกระบวนการทำงานและระบบปฏิบัติการ< -- > คน เมื่อมีคนเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขององค์กรและค่านิยมร่วมกันของคนกลายเป็นวิถีแห่งองค์กร ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการเดิมแบบ Transformational Leadershipได้อีกต่อไป กลับต้องใช้ Adaptive Change
  • ระบบปฏิบัติการที่ดีโดยทั่วไปคือ 1) คนต้องการคำชื่นชม 2)สมรรถภาพเริ่มต้นจากความคาดหวังของแต่ละคน 3)ความคาดหวังขับเคลื่อนจากสิ่งที่คนคนนั้นมีอยู่ในตัวเขาเช่น เป้าหมาย มุมมอง ความเชื่อและสิ่งแวดล้อม 4) การกระทำของหัวหน้า 5) การเรียนรู้เป็นกระบวนการไม่ใช่เป้าหมาย และ 6)ผลลัพธ์ขององค์กรสะท้อนฝีมือผู้นำ
  • Coach ไม่ควรแปลว่า สอนงาน (ครูผู้สอน ส่วนมากจะสั่งงาน) ต้องแปลว่า บทสนทนากับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน โดยมีศาสตร์ + ศิลปะ + ทักษะในการสื่อสาร ทั้งความรู้องค์กรและรู้ในงาน
  • วัฒนธรรมกระดาษ คือไม่ถึงคน ลูกน้อง
  • พวกเรานี้จะมีข้อเสียคือ คิดวิเคราะห์เก่ง พอไปสื่อสารกับลูกน้อง ก็จะสั่งอย่างเดียวแล้วบอกว่าไปทำตามที่ผมพูด จริงอยู่ว่างานได้ดั่งใจ แต่เด็กก็จะสมองฝ่อเพราะไม่ได้ใช้งาน
  • ปัญหาสังคมไทยคือ 1) Krengjai ความเกรงใจ 2) Conflict Avoidance เลี่ยงการเผชิญหน้า และ 3) Face Saving รักษาหน้า  ต้องแก้ไขด้วยวัฒนธรรมการเปิดใจ
  • การเปิดใจ พูดง่าย แต่ทำยากมากๆๆๆๆๆ
  • Small group meeting เช่น โตโยต้า ได้ผลมาก ไม่ต้องมีพระอันดับ สวดชยันโตได้เร็ว
  • ผู้นำต้องรู้จักลักษณะของคนแต่ละยุค 1) Baby boom พวกไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเทคโนโลยี 2) Gen X 30-35 ปี balance ระหว่างงานกับพักผ่อน พอๆ กัน ส่วน 3) Gen Y ต้องการทำงานน้อย รายได้สูง ชอบเทคโนโลยี เบื่อง่าย ชอบเปลี่ยนงาน
  • การสร้างวัฒนธรรมองค์กรต้องมี Focus group กฟผ. สร้างวัฒนธรรมมานาน คำถามคือยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ รู้สึกว่าความรักองค์การจะลดลงไป มุ่งงานให้เสร็จๆ ไป  เทิด คุณ-นะ-ทำ ผมไม่ได้ทำ
  • แค่เปลี่ยนคำพูด นี่ก็คงต้องเข้าคอร์สเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน ทำให้ชินเป็นธรรมชาติ ไม่งั้นกระดากที่จะพูด มันไม่ใช่ตัวเรา และไม่ทราบว่าจะใช้คำพูดว่าอย่างไร
  • อาจารย์ให้ฝึก Silent Meeting เป็นเทคนิคที่ดี มีเวลาจำกัด ลดการโต้เถียงกัน ค่านิยม กฟผ. FIRM C อาจารย์ชี้ให้เห็นว่าในแต่ละตัวยังมีความเชื่อมโยงกัน ดังรูป

                       

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

ช่วงบ่ายวันที่ 22 มิถุนายน 2555 เป็นการนำเสนอของทั้ง 5 กลุ่มงาน

1.โครงการนำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนโดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะ

2.EGAT Green Power

3.โรงไฟฟ้าชุมชนกับการพัฒนาไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

4.CSR กับจิตอาสาพัฒนาชุมชน

5. งาน CSR กฟผ. กับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.

และปิดงานอบรม EADP8 โดย อาจารย์จีระ สวัสดีครับ

ประเสริฐศักดิ์ ช.อศง-ลท. รายงาน

จบข่าว

นายชวลิต อภิรักษ์วนาลี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  29 ม.ค. 56

ภาคเช้า โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  -  สรุปอาจารย์พูดถึงเรื่องการเรียนรู้และการสร้างผู้นำ

ภาตบ่าย โดยคุณพจนารถ  ชีบังเกิด  -  สรุปอาจารย์พูดถึงเรื่องการค้นหาตัวตนของตัวเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท