หมอนประคองตาประคองใจ


หมอนประคองตา ประคองใจ

  ผู้ป่วยผ่าตัดต่อกระจก ต้องนอนราบห้ามหนุนหมอน นาน 4 ชั่วโมง ห้ามส่ายหน้าไปมา ห้ามนอนทับตาด้านผ่าตัด จึงต้องมีอุปกรณ์จำกัดการเคลื่อนไหวดังกล่าวแต่เดิมตึกจักษุฯใช้หมอนหนุนบ้าง ใช้ผ้าห่มบ้างประคองใบหน้าไม่มีอุปกรณ์ที่ตายตัวทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับความสุขสบายและญาติเกิดความวิตกกังวลกลัวเกิดอาการแทรกซ้อนกับผู้ป่วย การนอนนานๆทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดเมื่อยได้ ผู้ป่วยอาจจะขยับหน้าไปมาหรือลุกก่อนกำหนดเวลาได้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น ปวดตา คลื่นไส้อาเจียน มีเลือดออกในช่องม่านตา หรือาจมีการเคลื่อนของเลนส์ได้

                จากสภาพปัญหาดังกล่าว ตึก จักษุ ฯ จึงคิดนวัตกรรม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย ความสบายใจของญาติ จึงคิดนวัตกรรม หมอนประคองตา ประคองใจขึ้น

                  หลังการใช้นวัตกรรมผู้ป่วยมีความพึ่งพอใจ และมีความสุขสบายไม่มีภาวะแทรกซ้อน หน้าตาแจ่มใส่............

                             

หมายเลขบันทึก: 491735เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ ทำให้ได้บุญช่วยคนที่เป็นผู้ป่วยผ่าตัดต่อกระจก อีสานอินดี้ ขอสนับสนุนด้วยคนครับ 

เชิญเที่ยว ตลาดต้นตาล ตลาดต้นตาล ขอนแก่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท