ตอบคำถามครั้งที่2


  1. ความแตกต่างระหว่าง วัคซีนกับเซรุ่ม

วัคซีน เป็นเชื้อโรคที่ไม่มีพิษ ฉีดหรือกินเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นมาเอง จะให้เมื่อร่างกายแข็งแรง (ยังไม่ได้รับเชื้อ หรือได้รับเชื้อในระยะแรก) และต้องรอเวลาให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะอยู่คงทนถาวรตลอดไป

เซรุ่ม เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ได้โดยตรงจากเลือดของสัตว์หรือคนอื่นๆ ฉีดให้ร่างกายหลังจากติดเชื้อในระยะที่อาจเป็นอันตราย ได้ผลทันทีต่อการต่อสู้กับเชื้อโรค แต่จะอยู่ได้เพียงระยะสั้นๆ ก็สลายตัวไป มักจะใช้กับคนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนต่อโรคนั้นๆ มาก่อน

  1. หน่วยของรังสี และอันตราย

    -ปริมาณสารกัมมันตรังสีวัดด้วยหน่วยเบ็กเคอเรล (Becquerel ; Bq) โดยที่ 1 เบ็กเคอเรล คือสารกัมมันตรังสีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสและให้รังสีออกมา 1 ครั้งต่อวินาที หน่วยเบ็กเคอเรลนี้เป็นหน่วยใหม่ (SI Unit) หน่วยเดิมใช้ว่า คูรี (Curie : Ci) โดยที่ 1 คูรี คือปริมาณสารกัมมันตรังสีเรเดียม-226 ที่บริสุทธิ์ 1 กรัม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสและให้รังสีออกมา 3.7x1010 ครั้งต่อวินาที -ไอโซโทปรังสีนั้นแผ่รังสีแตกต่างกัน ดังนั้นไอโซโทปรังสีที่มีปริมาณมากอาจจะแผ่รังสีออกมาในขนาดความเข้มน้อยได้ เช่น สินแร่ยูเรเนียมแผ่รังสีแอลฟาซึ่งมีการทะลุทะลวงต่ำ ในการวัดปริมาณรังสีในอากาศที่แผ่จากสารรังสี (exposure หรือ exposure dose) จึงสนใจรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตรอบข้างมากกว่าและมีหน่วยวัดเรียกว่า เรินต์เกน (Roentgen ; R) โดย 1 เรินต์เกน คือ ปริมาณรังสีเอกซ์หรือแกมมา ที่ทำให้อากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ความดันและอุณหภูมิมาตรฐาน (NTP) แตกตัวเกิดเป็นไอออน 2.8 x 109 คู่ (1 esu) สนามรังสีในอากาศมักจะวัดค่าเป็น เรินต์เกน ต่อ ชั่วโมง (R/h) -การที่รังสีจากต้นกำเนิดรังสีตกกระทบลงบนวัตถุนั้น รังสีบางส่วนก็ทะลุทะลวงผ่านไป ส่วนที่เหลือจะถูกวัตถุดูดกลืนไว้ เรียกว่า ปริมาณรังสีดูดกลืน (absorbed dose) ซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุและชนิดของรังสี และมีการกำหนดว่า วัตถุที่ได้รับรังสีเอกซ์ หรือแกมมา เมื่อดูดกลืนพลังงานจากรังสีไว้ 100 เอิร์กต่อมวล 1 กรัมของวัตถุนั้น เรียกว่า 1 แรด (rad) ซึ่งเป็นหน่วยเดิม ส่วนหน่วยใหม่คือ SI Unit กำหนดเป็นเกรย์ (Gray ; Gy) โดย 1 เกรย์เท่ากับ 1 จูลล์ต่อกิโลกรัม และเท่ากับ 100 แรด -หน่วยสำหรับวัดปริมาณรังสีสมมูลที่บุคคลได้รับ (dose equivalent) มีความซับซ้อนกว่าที่วัตถุได้รับ โดยพิจารณาผลทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ และขึ้นกับชนิดของรังสีอีกด้วย ทั้งนี้บุคคลใดได้รับรังสีแล้วรังสีนั้นก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเทียบเท่ากับผลที่เกิดจากรังสีเอกซ์ หรือแกมมา 1 แรด เรียกว่าบุคคลนั้นได้รับรังสี 1 เรม (Roentgen equivalent man or rem) หน่วยของปริมาณรังสีสมมูลนี้ตาม SI Unit ใช้เป็น ซีเวิร์ต (Sievert ; Sv) โดย 1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม โดยปกติการได้รับรังสีของบุคคลในชีวิตประจำวัน น้อยกว่า 1 เรมมาก หน่วยซีเวิร์ตจึงกลายเป็นหน่วยใหญ่ โดยทั่วไปจึงใช้เป็นมิลลิซีเวิร์ต ซึ่งเล็กลงพันเท่า หรือ ไมโครซีเวิร์ตซึ่งเล็กลงล้านเท่า เช่น การเอกซ์เรย์ปอดที่โรงพยาบาลแต่ละครั้ง จะได้รับรังสีประมาณ 200 ไมโครซีเวิร์ต อันตรายของรังสี : เนื่องจากรังสีเป็นพลังงานในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกระทบต่อวัสดุต่างๆ และต่อสิ่งที่มีชีวิตก็ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ชนิดของรังสี พลังงานรังสีปริมาณรังสีและชนิดของอวัยวะที่รังสีตกกระทบ รังสีประเภทก่อไอออน (ionizing radiation) นั้น มีผลต่อสิ่งมีชีวิตโดยทำให้อะตอม/โมเลกุลภายในเซลล์ และระบบการทำงานของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป และเกิดอาการผิดปกติในร่างกายขึ้นได้ ที่มา http://www.nppdo.go.th/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5

  2. แรงกดอากาศของโลก

    ความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือความดันบรรยากาศเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนมัน ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) หรือ 101.325 kPa (กิโลปาสคาล) หรือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)
    
    
หมายเลขบันทึก: 491641เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าเราฉีดเซรุมแก้พิษงูผิดชนิดจะเป็นอันตรายหรือเปล่าครับ ทำไมรังษีที่แผ่ออกมาสามารถตกค้างในวัตถุสิ่งของได้ครับ

หนูไม่แน่ใจ แต่คิดว่า อันตรายนะคะ เพราะงูต่างสายพันธุ์ พิษของมันน่าจะไม่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท