หน่วยวัดรังสีและระดับปริมาณรังสีที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์


 หน่วยวัดทางรังสี 
  1. ความหมายของรังสี

คำว่า "รังสี" เป็นคำที่ใช้ทั่วไปโดยอาจจะมีสองความหมาย คือ หมายถึงกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) หรือใช้ในอีกความ หมายหนึ่งคือรังสี (Radiation)

1.1 กัมมันตภาพรังสี คือ จำนวนของไอโซโทปรังสีซึ่งอยู่ในสถานะไม่คงตัว และมีการสลายตัวให้รังสีออกมาในช่วง เวลาหนึ่งวินาที

1.2 รังสี คือ อนุภาคซึ่งมีพลังงาน มีที่มาจากการสลายตัวของไอโซโทปรังสี จากรังสีคอสมิค และจากเครื่องเร่งอนุภาค พลังงาน ของรังสีขึ้นอยู่กับ แหล่งกำเนิด เช่น รังสีเบตา จาก สตรอนเชียม-90 มีพลังงานสูงสุดเท่ากับ 546 keV รังสีแกมมาจาก โคบอลต์-60 มีพลังงาน 1.17 และ 1.33 MeV เป็นต้น

  1. หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี

หน่วย คือ ชื่อเฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้บอกขนาดและปริมาณของสิ่งต่างๆ หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี มีดังต่อไปนี้

    ปริมาณ                      

    กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

    รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose) 

    รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

  

หน่วยเดิม คูรี (Ci) แรด (Rad) เรินท์เกน (R) เรม (Rem) หน่วยใหม่ (SI unit) เบคเคอเรล (Bq) เกรย์ (Gy) คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg) ซีเวิร์ต (Sv)

ระดับปริมาณรังสีและผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ผลกระทบมากหรือน้อย ของ"ปริมาณรังสี" คือปริมาณการรับหรือดูดกลืนรังสี (absorbed dose) จากการได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว (acute exposure) ขึ้นกับปริมาณของรังสี ดังนี้ 20 Svมีผลต่อประสาทรับรู้ และเกิดอาการสั่นอย่างรุนแรง จากนั้นจะเสียชีวิตภายไม่กี่ชั่วโมงหลังรับรังสี 10 Svทำลายอวัยวะภายใน เลือดออกภายใน ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือประมาณ 2 สัปดาห์ 6 Svเจ้าหน้าที่ที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับ และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน 5 Svถ้าได้รับรังสีอย่างเฉียบพลันเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้พิการไปครึ่งร่าง 1 Svเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากรังสี และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต 750 mSvผมร่วงภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับรังสี 700 mSvอาเจียนภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากได้รับรังสี 400 mSv เป็นอัตรารังสีต่อชั่วโมงที่มากที่สุดที่ตรวจวัดได้ ที่โรงไฟฟ้าฟิกูชิมะ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.54 350 mSv อัตราที่ชาวเมืองเชอร์โนบิลได้รับ ก่อนอพยพออกจากเมือง 100 mSvอัตราจำกัดสำหรับคนทำงานด้านรังสีที่ให้สะสมไม่เกิน 5 ปี โดยถ้าได้รับเฉียบพลันมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง 10 mSvรังสีที่ได้รับจากการทำซีทีสแกน 1 ครั้ง 9 mSvรังสีที่ลูกเรือสายการบินที่บินผ่านขั้วโลกเหนือเส้นทางระหว่างนิวยอร์กซิตี้และโตเกียวได้รับในแต่ละปี 2 mSvรังสีธรรมชาติที่เราได้รับเฉลี่ยต่อปี 1.02 mSv อัตรารังสีต่อชั่วโมงที่ตรวจพบ บริเวณโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.54 0.4 mSvรังสีที่ได้รับจากเอกซเรย์เต้านมแบบแมมโมแกรม 0.01 mSvรังสีที่ได้รับจากการเอ็กซเรย์ฟัน หมายเหตุ 1 Sv= 1,000 mSv 1 mSv = 1,000 ?Sv 1 ?Sv = 1,000 nSv Sv - ซีเวิร์ต (Sievert), mSv - มิลลิซีเวิร์ต (millisievert), ?Sv - ไมโครซีเวิร์ต (microsievert), nSv - นาโนซีเวิร์ต (nanosievert)

Reference https://www.facebook.com/note.php?note_id=197724406929640

คำสำคัญ (Tags): #biology#zoogeography
หมายเลขบันทึก: 491635เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในกรณีคนป่วยที่เป็นมะเร็ง ไปฉายรังษี รังษีนั้นคืออะไร และใช้ความเข้มข้นเท่าไร สำหรับมะเร็งแต่ละชนิด แต่ละเนื้อเยื่อครับ ยากหน่อย นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท