คราบกรุ และชั้นต่างๆ ที่ผิวพระเนื้อดินเผา


นักส่องพระส่วนใหญ่จะสับสน ระหว่าง คราบกรุ และ คราบผุ ที่ปรากฏอยู่บนผิวพระเนื้อดินเผา ทำให้ไม่สามารถแยกพระแท้ออกจากพระฝีมือได้

คราบผุ หินปูน บนผิวพื้นของพระเปิดโลกสุโขทัย

คราบกรุบนพระยอดปฏิหาริย์ กรุนาดูน

 

นักส่องพระที่เข้าไปในในระบบตลาดพระใหม่ๆ มักจะมีความสับสนของการใช้คำเรียกสภาพของพระ และองค์ประกอบ ที่ว่าไปตามความรู้สึก และความเชื่อของนักขายพระ ตามแผงพระ หรือในหนังสือพระเครื่อง โดยอาจไม่เคยพินิจพิเคราะห์ว่าแต่ละคำหมายถึงอะไร

ทำให้นักส่องพระส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยได้ศึกษาวิวัฒนาการของผิวพระ เพียงแต่ว่าตามคนอื่น จะยิ่งสับสน

ในการใช้คำในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะ คราบกรุ คราบผุ เนื้อเดิมๆ ผิวเดิม และผิวกร่อน ที่ปรากฏอยู่บนผิวพระเนื้อดินเผา ทำให้ไม่สามารถแยกพระแท้ออกจากพระฝีมือได้

โดยเฉพาะ  เมื่อพิจารณา พระเนื้อเดิม พระผ่านการล้าง พระผ่านการใช้ และพระเนื้อสึกกร่อน ทั้งจากการใช้ และกร่อนตามธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องมองให้ออกระหว่าง คราบกรุ และชั้นต่างๆ ที่ผิวพระเนื้อดินเผา

ดังนั้น จึงต้องหันมาทำความเข้าใจการพัฒนาการของพระเนื้อดินเผาเสียก่อน จึงจะชัดเจน

โดยธรรมชาติแล้ว

ดินเหนียวทำพระ หลังจากปั้นเข้ารูปและแห้งแล้ว

  • จะมีผิวเรียบ และ
  • อาจมีรอยขีดข่วนจากกระบวนการกดพิมพ์
  • เมื่อนำมาเผาก็จะคงรูปและลักษณะเช่นนั้นไปอีกนาน
  • จนกว่าจะเกิดการ "ผุพัง" ของชั้นผิว ตามกาลเวลา

ดังนั้น

พระที่ได้อายุเกินร้อยปีขึ้นไปเมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ จะมีการผุกร่อนของผิวเดิม เกิดผิวใหม่ ที่มีร่องรอยการกร่อน มีลักษณะเหี่ยวย่น

จะมากน้อย ขึ้นอยู่กับ

  • อายุของพระ
  • ความแกร่งของการเผา และ
  • มวลสารที่ใช้ผสมในเนื้อพระ

แม้แต่เม็ดทรายที่ผสมลงไป และปรากฏที่ผิวพระ ก็จะ "กร่อน" เป็นเม็ดทรายมน ผิวเหี่ยวย่นเช่นเดียวกัน

 

ในพระดินเผาเนื้อแกร่ง

หลังพระรอดมหาวัน ที่ไม่มีคราบกรุ มีแต่เนื้อยุ่ยบนผิวแกร่ง

 

ผิวพระรอดกรุมหาวัน

จะแกร่งและยุ่ยที่ทำเก๊ได้ยากมาก

แบบพระรอด และพระคงกรุมหาวัน ที่มีแร่เหล็ก เป็นมวลสารสำคัญ จะมีการกร่อนช้า โครงสร้างของผิวเดิม ตำหนิ และลวดลายศิลปะ จะยังคงอยู่ แต่ผิวก็จะกร่อนเหี่ยวๆ เช่นเดียวกัน และมีเนื้อยุ่ยสีสนิมเหล็กคลุมบางๆ บนผิวกร่อนอีกชั้นหนึ่ง

บนผิวกร่อน ก็ยังจะเห็น คราบปูนขาวๆ ที่น่าจะละลายตัวออกมาจากผงปูน ที่ผสมในเนื้อดินมาแต่เดิม ในลักษณะ ปูนสุก เนื่องจากผ่านการเผามาแต่เดิม หรือการเผาในขั้นตอนการเผาดินก็เป็นได้ ที่ออกลักษณะคล้ายๆแป้ง ปกคลุมพระอยู่อีกชั้นหนึ่ง

เลยจากชั้นปูน จึงจะพบคราบกรุ ที่ได้แก่ฝุ่นละออง ดิน ทราย ที่พอกอยู่ชั้นนอก ที่จะเป็นไปตามสภาพของแต่ละกรุ ที่จะต้องคลุมอยู่บนคราบปูน มิเช่นนั้นก็ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่า ไม่เป็นธรรมชาติ

เมื่อพบชั้นตามลำดับแล้ว ถือได้ว่านั่นคือสภาพ "ธรรมชาติ" ที่เซียนใหญ่ว่ากัน และเขียนไว้ในหนังสือพระครับ

 

หมายเลขบันทึก: 491131เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พระรอด และ พระคงกรุมหาวัน ... จังหวัดลำพูน...สุดยอดเลยค่ะ

สุดยอดต้องท่าขี้เหล็ก แม่สาย เชียงรายครับ อิอิ

ขออนุญาต.สอบถามครับอาจารย์คือ.พระรรอดกรุเวืองกุ้มกราม เป็นพระยุกตไหนครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

เป็นยุคล้านนาครับ แต่อาจจะเป็นพระสมมติก็ได้ครับ ภาษาวงการเขาเรียกว่า "ยัดกรุ" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท