ลักษณะครูที่ดีตามแนวความคิดทางศาสนา


คำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวถึง ครูหรือภาระหน้าที่ของครู การสอนของครู และลักษณะครูไว้หลายหมวด ส่วนที่กล่าวถึงลักษณะของครูที่ดี คือ คำสอนเรื่อง กัลยาณมิตตธรรม 7 ซึ่งถือว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับความเป็นครู หลักธรรมนั้นมี 7 ประการ

1. ปิยะ หรือ ปิโย แปลว่า น่ารัก หมายถึง ครูต้องทำตนให้เป็นคนน่ารักของลูก ศิษย์ คือ ต้องเป็นผู้มีเมตตา รักเด็กมากกว่ารักตนเอง มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความ สนิทสนมแก่ศิษย์เพื่อให้ลูกศิษย์มีความสบายใจ และกล้าที่จะเข้าไปปรึกษาหารือเรื่อง ต่าง ๆ พูดจาอ่อนหวาน เอาใจใส่อบรมสั่งสอนให้ศิษย์เกิดความรู้และเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับเด็กได้ตลอดเวลา

2. ครุ แปลว่า น่าเคารพ หมายถึง ครูจะต้องดูแลและปกครองศิษย์ให้ศิษย์มี ความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และรู้สึกปลอดภัย ครูต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง แก่เด็ก มีเหตุผลและเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่เจ้าอารมณ์ เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ในทุก ๆ เรื่อง

3. ภาวนีโย แปลว่า น่าเจริญใจ น่ายกย่องในฐานะผู้ทรงคุณ หมายถึง ครูจะต้อง เป็นผู้ที่มีความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง สนใจหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งเป็นผู้ที่ฝึกอบรมและ ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ครูจะต้องฝึกตนให้เชี่ยวชาญในวิชาการและให้มีสมรรถภาพใน การทำงานอยู่เสมอ

4. วัตตา แปลว่า รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ หมายถึง ครูจะต้องรู้จักพูด ให้ศิษย์เข้าใจได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ สอนในสิ่งที่ถูกต้องไม่บิดเบือน และครูจะต้อง รู้จักสอนด้วยความสนุกสนานเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนด้วย

5. วจนักขโม แปลว่า อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึง ครูต้องพร้อมที่จะรับฟัง คำปรึกษาการซักถาม คำเสนอแนะและคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยไม่ฉุนเฉียว และสามารถ ควบคุมอารมณ์ได้ ปกติเด็กย่อมมีความซุกซน น่ารำคาญ ครูจะรำคาญไม่ได้ ต้องอดทน ต่อสิ่งที่มากระทบ

6. คัมภีร์รัญจะ กถัง กัตตา แปลว่า แถลงเรื่องลึกล้ำได้ หมายถึง ครูต้อง สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้ด้วย และช่วยให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง มากขึ้นด้วย รวมทั้งการอธิบายสาระสำคัญต่าง ๆ ของวิชาได้ถูกต้องแม่นยำ

7. โน จักฐาเน นิโยชเย แปลว่า ไม่ชักนำในเรื่องเหลวไหล หมายถึง ครูไม่ชักจูง ศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย ครูไม่ประพฤติชั่ว ควรละเว้นอบายมุขทั้ง 6 อย่าง ได้แก่ การติด สุราและของมึนเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น ติดการพนัน คบคนชั่ว และเกียจ คร้านในการงาน


หมายเลขบันทึก: 490812เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท