นาง...มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์
นาง มณีวรรณ นาง...มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์ ตั้งขจรศักดิ์

R2R โรงพยาบาลหนองคาย


เริ่มต้น ค้นคว้า หาเป้า เหลาโจทย์ กำหนดวิธีการ ทำงานภาคสนาม ถามหาความรู้ใหม่ ใช้บทคัดย่อนำทาง นำเสนออย่างสร้างสรรค์ มุ่งมั่นสู่ขั้นเทพ

    วันดีๆ วันนี้  30 พฤษภาคม 2555  R2R โรงพยาบาลหนองคายได้เริ่มต้นและก่อร่างสร้างตัวขึ้นแล้ว  หลังจากที่ดูคลุมๆเครือๆมานาน ต้องให้เครดิต คุณเสาวลักษณ์  สัจจา  ที่เป็นผู้นำทีมในการดำเนินงานครั้งนี้ นำร่องโดยกลุ่มงานเวชกรรมสังคมและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขต CUP อำเภอเมืองเป็นทีมงานที่เข้มแข็งมาก  บรรยากาศในวันนี้จึงเป็นการเรียนรู้  R2R ที่เป็นแบบกันเอง  เรียบง่าย แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไม่เคร่งเครียด วันนี้เราเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ไม่เน้นทฤษฎี แต่เน้นว่าเราจะทำอย่างไรมากกว่า    

            เริ่มงานด้วยท่านรองผู้อำนวยการด้านการแพทย์(นพ.ศุภชัย จรรยาผดุงพงศ์) กล่าวเปิดงาน มีคุณหมอภรณี  พรวัฒนาเป็นผู้กล่าวรายงาน แม้จะเริ่มต้นแบบเป็นทางการ แต่ผู้บริหารก็ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

 

        หลังจากนั้น ปูพื้นความรู้เล็กน้อยโดยคุณเสาวลักษณ์ ซึ่งเธอบอกว่า “องค์ความรู้จากที่ได้เรียนมาจากอาจารย์หลายท่าน ทั้งอ.โกมาตร อ.กระปุ๋ม และท่านอื่นๆ  ประมวลแล้วมาเป็นหลักในการทำแบบง่ายๆ สไตล์เสาวลักษณ์”  ก็นับว่าเข้าทีเลยทีเดียว 

 R2R   R2R - พัฒนางานประจำที่ทำทุกวัน... ให้เป็นผลงานวิจัย

                   - เปลี่ยนปัญหาหน้างาน... ให้เป็นผลงานวิจัย 

R2R  จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน  เพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

  • ควรพัฒนา R2R จากงานที่ทำอยู่ ... ไม่ควรเปิดหน้างานเพิ่มภาระให้ตนเอง  ทำเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆ..

  • ใช้ concept success story telling มาเป็นเครื่องมือกระบวนการ และ R2R ไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องใหญ่

  • เป้าหมายของการทำ R2R คือ การน้อมนำไปสู่สภาวะการทำงานประจำให้เกิดคุณค่าอันทรงพลังและมีความหมาย ทำให้คนหน้างานตื่นและฟื้นจากสภาวะภายในที่ครอบงำจากหลุมดำแปรเปลี่ยนมาเป็นการนำพลังด้านดีงามมาใช้

หลักสำคัญ คือ

1.โจทย์วิจัย R2R  ต้องมาจากปัญหาหน้างาน มาจากงานประจำที่ทำกันอยู่และต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น

2.ผู้วิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง และต้องทำหน้าที่หลักในการวิจัยด้วย

3.ผลลัพธ์ของงานวิจัย  ต้อง วัดผลได้จากตัวผู้รับบริการ จากเรา หรือผู้ป่วยโดยตรง เช่น ด้านการทำงานบริการ จะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน  การบริการดีขึ้น  แก้ปัญหาภาระงานที่ทำอยู่ได้  ส่วนด้านการดูแลผู้ป่วย ผลการรักษาจะดีขึ้น  ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลลดลง เป็นต้น

4.  การนำผลการวิจัยไปใช้  สามารถนำไปปรับปรุงการทำงานและการบริการให้ดีขึ้นในบริบทของแต่ละองค์กร

อีกท่านหนึ่งที่เข้ามาแชร์ในวันนี้คือคุณหมอพิสิฐ อินทรวงษ์โชติ ได้เล่าเรื่อง R2R ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานใน CUP เมือง ทำให้เห็นตัวอย่างการทำ R2R ทำให้งานนี้มีสีสันยิ่งขึ้น

 

     ต่อไปก็เข้ากลุ่ม การฝึกปฏิบัติแบ่ง 3 กลุ่ม มีดิฉัน คุณสุดสวาทและคุณเสาวลักษณ์ เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม  คุณสุดสวาทเป็นผู้ดำเนินการหลัก เธอเล่าว่า การศึกษาจากวีดิทัศน์ ของอาจารย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ การทำ R2R มี Keyword สำคัญๆ คือ เริ่มต้น  ค้นคว้า หาเป้า   เหลาโจทย์  กำหนดวิธีการ ทำงานภาคสนาม ถามหาความรู้ใหม่ ใช้บทคัดย่อนำทาง นำเสนออย่างสร้างสรรค์  มุ่งมั่นสู่ขั้นเทพ  

      คุณสุดสวาทได้ยกตัวอย่างการศึกษา จากความสงสัยที่ว่า การใช้กระติกน้ำแข็งในการขนส่งยาจากห้องยาไปหน่วยงานต่างๆนั้น มีอุณหภูมิเท่าไร ได้มาตรฐานไหม จึงไปค้นคว้าว่ามีใครทำอย่างนี้บ้าง และได้ศึกษาต่อ เริ่มต้นจากความสงสัยสู่การพัฒนางาน ที่สำคัญอยากให้รู้สึกว่าทุกคนทำ R2R ได้   R2R เป็นเครื่องมือ ที่ทำให้การทำงานมีความสุข

 

    ในกลุ่มวันนี้ให้ค้นหาประเด็นที่เป็นปัญหาที่เผชิญอยู่ในหน้างานและรู้หลักการค้นหาข้อมูล รู้ว่าใครคิดจะทำเรื่องอะไร ซึ่งผลสรุปออกมาก็มีหัวข้อวิจัยหลายข้อได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยใน จะศึกษาปัญหาเรื่องผ้า  หอผู้ป่วย 60 เตียงชั้น3 เรื่อง อาหารว่างมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยหรือไม่? งานผู้ป่วยนอก เรื่องผู้ป่วย HIV ตั้งครรภ์ไม่พร้อม  รพ.สต.แต่ละแห่งก็มีเรื่อง R2R  กลุ่มงานเวชกรรมสังคม ทำ R2R กันคนละเรื่อง เป็นอย่างนี้แล้ว R2R คงไม่ยากเกินไปใช่ไหมคะ

    พวกเราหวังเพียงว่าผลที่ได้คือ โรงพยาบาลได้มีการพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อคุณภาพบริการที่ดีขึ้น คนในองค์กรมีคุณภาพ ทำงานอย่างมีคุณค่า ลูกค้าพึงพอใจ ส่วนผลออกมาจะดีแค่ไหนก็อยู่ที่พวกเราทุกคนที่จะสรรสร้างให้งานของเรามีคุณค่า เมื่อผู้ป่วยปลอดภัย การดูแลมีคุณภาพ หวังว่าบุญกุศลคงจะเกิดแก่ผู้ก่อการดีทุกท่านนะคะ

      นัดพบกันใหม่อีกครั้งหน้า  ด้วยเรื่องเล่า ดี ๆ จากคนทำงานและ  ถอดบทเรียน 

       ขอบคุณทีมงานทุกคน คุณน้องปรานต์ศศิ  พิธีกรสาวสวย น้องเกศ น้องตุ๊ก น้องกล้วย และผู้อยู่เบื้องหลังทุกคนที่ทำให้งานนี้สำเร็จด้วยดี

 

                                 บันทึกโดย   มณีวรรณ  ตั้งขจรศักดิ์

                                             30 พฤษภาคม  2555

(สำหรับตัวดิฉันแล้ว ขอขอบคุณพี่แก้วและทีมศรีนครินทร์ ที่เป็นอาจารย์เรื่อง R2R ตั้งแต่แรกเริ่มเรียนรู้ จนถึงวันนี้ ขอบคุณค่ะ)

 

หมายเลขบันทึก: 489852เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณ น้องนาง จะได้นำไปคุยในวง ประกวด CQI ของรพ.ปากพะยูน ในวันที่ 6-7 นี้ งาน R2R ก็เป็นหมายในการกระตุ้นคนหน้างานมาทำการวิจัย

พี่ขอให้พลังใจในการทำให้สำเร็จนะคะ

 

Blank

        กว่าจะเริ่มR2Rได้ก็เนิ่นนาน แต่ยังดีที่มีวันเริ่มต้นนะคะท่านวอญ่า

        ไม่ค่อยได้เข้ามาบ่อย เลยไม่ได้ไปทักทายเลย

Blank

สวัสดีค่ะพี่แก้ว ทุกครั้งที่พูดถึง R2R ก็อดคิดถึงพี่แก้วไม่ได้

ตอนนี้ก็ทำไปปรับปรุงไป การเริ่มต้นได้นับว่าดี คงไม่ต้องรออะไรอีกแล้ว

ฟังพี่แก้วบรรยายหลายครั้ง พาทำก็แล้วยังอยู่ที่เดิม ตอนนี้น่าจะต้องก้าวเดินซะที

ขอบคุณกำลังใจค่ะ อันนี้สำคัญที่สุดเลยนะคะ

สุดยอด เยี่ยมมากคะ นำมาเล่าสรุปให้ฟัง ชักอยากทำซักเรื่องแล้ว

Blank

ทำไปด้วยกันเลยมั๊ยไก่

ไก่น่ะมีทีมพี่แก้วที่ยอดเยี่ยมอยู่ใกล้ตัว เป็นที่ปรึกษา

เราน่ะทำแบบลูกทุ่งไปเลย

ความสงสัย...คือปฐมบทสำคัญของการเป็นนักวิจัยครับ
การตั้งคำถาม คือพฤติกรรมของการสังเกตปรากฏการณ์รอบตัว
บางที คำถามบางคำถาม ก็สำคัญยิ่งกว่าคำตอบ-

...ชื่นชม ครับ

Blank

 นานมากแล้วที่ไม่ได้เจอกัน

ระลึกถึงเสมอนะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท