ผลของภูมิปัญญาไทยที่ใช้ในการสร้างพระผงสุพรรณ


พระผงสุพรรณมีลักษณะของเนื้อหาโดดเด่น ที่น่าจะมาจากชุดความรู้หลายชุดด้วยกัน ที่จะทำให้พระเนื้อดินดิบมีเนื้อแขงแรงทนทาน และไม่ต้องใช้กรวดทรายผสม

ในระยะหลายวันที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาศึกษา "พระผงสุพรรณ"

  • โดยเน้นการทำความเข้าใจเนื้อหา
  • องค์ประกอบ
  • ชุดความรู้ในการสร้าง
  • วิธีการสรัาง และ
  • ผลที่เกิดขึ้นจริงๆ

ตามที่ผมมีพระผงสุพรรณในมือขณะนี้เกือบ 20 องค์ และของพรรคพวกอีกหลายสิบองค์

ทำให้มีตัวอย่างหลากหลายพอสมควร ที่จะสามารถทำความเข้าใจตามเรื่องที่เขียนไว้ในพงศาวดาร

ในขณะเดียวกันมีโอกาสได้สนทนากับผู้รู้ทางด้านพระผงสุพรรณ ซึ่งทำให้ผมมั่นใจได้ว่า

  • เนื้อพระผงสุพรรณเป็น "ดินกรอง" โดยระบบการตกตะกอนทรายออกไปก่อน หลายๆรอบ
    • แล้วนำละอองดินที่ได้มาตกตะกอน หรือ กรองด้วยผ้าขาวบางจนได้ละอองดินล้วนๆ
  • นำมาผสมกับ "ผงละอองเกสร" ดอกไม้ชนิดต่างๆ ตามหลักการของความขลัง
  • ที่น่าจะมี ผงปูน จากชอล์ค หรือดินสอพอง ในลักษณะผงวิเศษผสมด้วย และ
  • ที่สำคัญยังมี "ว่าน 108"  ที่มีองค์ประกอบทำให้เกิดน้ำมันแข็ง
    • ที่จะกลั่นตัวออกมาตามอายุ
    • มายึดเนื้อดินเหนียวและคลุมผิวพระที่เป็นดินดิบไว้ได้อย่างดี

หลังจากผสมจนเข้ากันดีแล้ว

  • ก็น่าจะนำมาปั้นเป็นก้อนพอที่จะอัดลงในแม่พิมพ์ แบบพอดีๆ
  • ถ้าน้อยไปก็จะบาง มากหน่อยก็จะหนา
  • ทำให้มีลายมือและเนื้อปลิ้นออกทางช่องว่างระหว่างนิ้วกับขอบพิมพ์ ทางด้านหลัง ตามแรงกด

หลังจากนั้นน่าจะนำไปผึ่งลมให้แห้งพอสมควร

  • เมื่อแห้งแล้วอาจจะก็นำไปอบด้วยความร้อนพอประมาณ
  • ที่จะไม่ทำให้เกิดการทำลายของว่านและละอองเกสรในเนื้อพระ

 

ในองค์ที่ทั้งส่วนผสม และขั้นตอนการสร้าง ลงตัวหน่อย ทั้งในเชิงส่วนประกอบและการสร้าง 

  • จะมีความแข็งของดินเหนียวพอสมควร แต่ไม่ถึงกับแกร่ง
  • มีผงละอองเกสรเหลือปรากฎให้เห็นมาก และ
  • มีน้ำว่านออกมาคลุมที่ผิวเล็กน้อยบางๆ แบบพองาม
  • พระลักษณะนี้ จัดว่า งามครบส่วน เป็นที่นิยมสูงสุด

พระผงสุพรรณระดับงามครบส่วนแบบนางงาม

(ให้สังเกตผงละอองเกสรที่ภาพละเอียดขวามือ)

 

องค์ที่โดนความร้อนน้อย แต่ส่วนผสมว่านไม่พอ ก็จะออกไปทางเนื้อดิน

  • เห็นผิวดินเปิดชัดเจน และ
  • อาจมีน้ำว่านออกมาคลุมบ้างบางส่วน
  • พระลักษณะนี้ เรียกว่า พระแก่ดิน ที่มีสีต่างๆ ได้แก่ แดง และ เหลือง หรือเหลืองปนแดง เป็นส่วนใหญ่

พระผงสุพรรณ เนื้อ "แก่ดิน"

 

สำหรับพระที่มีว่านผสมมาก ไม่โดนความร้อนมาก

  • จะมีน้ำว่านออกมาคลุมทั้งองค์
  • ผิวคล้ายๆเคลือบด้วย ยางรัก
  • พระลักษณะนี้ มักเรียกว่า พระแก่ว่าน

พระผงสุพรรณ เนื้อ "แก่ว่าน"

จากกระบวนการสร้างพระผงสุพรรณ ที่เดิมเรียกว่า พระผงเกสรสุพรรณ จากลักษณะของผงเกสรที่ผสมอยู่ ทำให้มีลักษณะของเนื้อหาโดดเด่น

ที่น่าจะมาจากชุดความรู้ในการสร้างหลายชุดด้วยกัน

  • ที่จะทำให้พระเนื้อดินดิบมีเนื้อแข็งแรงทนทาน และไม่ต้องใช้กรวดทรายผสม
    • ไม่ต้องเผาให้เกิดการสลายตัวของมวลสารที่สลายตัวง่าย
    • แต่ก็มีพระจำนวนมากที่ลงตัวตามสูตรที่วางไว้
    • สมกับสมญานาม พระผงเกสรสุพรรณ
    • และถ้าองค์ใดลงตัวเข้าเกณฑ์ก็จะเป็นที่นิยมสูง
    • ไม่เข้าเกณฑ์ความนิยมก็ลดลงมาตามส่วน

ทั้งนี้ยังมี

  • ความครบถ้วนของตำหนิ
  • ความงามของพิมพ์ และ
  • ความสมบูรณ์ขององค์พระประกอบด้วย

ฉะนั้น ไม่ใช่ว่า พระผงสุพรรณทุกองค์จะมีความนิยมและราคาเท่ากัน

เพราะมีเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว และยังประกอบด้วยผู้สนใจนั้นได้เข้าใจหรือเปล่าประกอบด้วย

แต่ถ้าเข้าเกณฑ์ "นางงาม" แล้ว หกหลักแน่นอนครับ

หมายเลขบันทึก: 489174เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อนุโมทนาที่นำสาระความรู้ดีๆมาแบ่งปันครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท