ตะไคร้หอมจัง


ตะไคร้ห๊อมหอม
ตะไคร้หอมจัง

 ตะไคร้ห๊อมหอม

ตะไคร้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon citratus (D.C.) stapt. จัดอยู่ในวงศ์ POACEAE เป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี สูง 0.75 ถึง 1.2 เมตร ลำต้นตั้งตรงและอยู่รวมกันเป็นกอ ลำต้นมักอยู่ใต้ดินและอยู่ระดับดิน เหง้าใต้ดินมีกลิ่นหอมเฉพาะ มีข้อและปล้องสั้น ๆ แข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนกันแน่นมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ตัวใบเรียวยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร เนื้อใบหยาบ สากคม และมีขนอยู่ทั่วไป ก้านใบสีขาวนวล หรือม่วงอ่อนแผ่เป็นกาบหุ้มซ้อนกัน เส้นกลางใบแข็ง ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ออกตรงปลายดอกเล็ก ๆ มีช่อยาว ผลมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยพบดอกและผล ตะไคร้ใช้เหง้าปลูก โดยเอาลำต้น หรือเหง้าปักชำ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร ปักเอียงลงดินที่พรวนจนร่วนซุย ปักให้ลึก 4-5 เซนติเมตร ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขัง และปลูกได้ตลอดปี ชอบแดดจัด ดินมีความชื้นและความอุดมสมบูรณ์สูง นิยมปลูกเป็นกอ กอหนึ่งห่างกันประมาณ 50-70 เซนติเมตร เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่ง ต้นจะยืดลอยขึ้นมาเหนือดิน ควรมีการพรวนดินขึ้นมาบริเวณกอให้กลบทับลำต้น หรือนำต้นตะไคร้มาปลูกขยายกอใหม่ ใบและลำต้นของตะไคร้ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)ปริมาณสูงมาก น้ำมันนี้มีฤทธิ์เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด และมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด จากผลวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยในตะไคร้สามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลากได้ดี และพบว่า ครีมน้ำมันตะไคร้ 2.5 % สามารถต้านกลากได้ดีที่สุด และยังแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชหลายชนิด รวมทั้งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้อีกด้วย น้ำมันตะไคร้นำมาใช้ทำเครื่องหอมผสมในสบู่ เครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม แต่งกลิ่นเยลลี่ และอาหารจำพวกเนื้อกระป๋อง ส่วนที่นำมาใช้ทำยาของตะไคร้ คือ ลำต้นและเหง้าแก่สด หรือแห้ง ตะไคร้มีรสปร่า กลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ เจริญอาหาร แก้กลิ่นคาว หรือดับกลิ่นคาวของปลา เนื้อสัตว์ได้ดีมาก การทำยาสมุนไพรตะไคร้รักษาอาการขัดเบาในผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ไม่มีอาการบวม) ให้ใช้ต้นแก่สดหั่นซอยเป็นแว่นบาง ๆ วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40-60 กรัม หรือแห้งหนัก 20-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินฝานเป็นแว่นบาง ๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ1 ถ้วยชา เมื่อปัสสาวะสะดวกแล้วจึงหยุดดื่มได้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สด ๆ ทุบพอแตกประมาณ 1 กำมือ หรือ 40-60 กรัม ต้มกับน้ำประมาณครึ่งลิตร ให้เดือดประมาณ 3-5 นาที เอาน้ำดื่มจนกว่าอาการจะหาย นอกจากนี้ยังช่วยขับเหงื่อและลดความร้อนในร่างกายได้ด้วย แก้ไข้ลดความร้อน ใช้ต้นตะไคร้และเหง้าขิงแก่สด นำมาหั่นอย่างละ 1/4 ถ้วยแก้ว เติมน้ำ 3 แก้ว ต้มและเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เหลือน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1/3 ถ้วยแก้ว วันละ 3-4 ครั้ง แก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้ต้นและเหง้าสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือ 40-60 กรัม ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่ม สำหรับผู้ที่ปวดประจำเดือน ใช้ต้นและรากตะไคร้สด หั่นบาง ๆ แล้วผึ่งให้แห้ง นำตะไคร้ที่ตากแห้ง 1 กำมือ มาชงกับน้ำเดือด แล้วดื่มต่างน้ำ หากจะใช้เพื่อช่วยสระผมให้สะอาดยิ่งขึ้น ให้นำต้นบนดินสด ๆ ตัดใบทิ้งจำนวน 3-4 ต้น หั่นตำให้ละเอียด เติมน้ำสะอาด 2 ถ้วยแก้ว คั้นเอาแต่น้ำชโลมบนเส้นผมที่สระเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 10-15 นาที สระออกให้หมดจะช่วยกำจัดรังแค ทำให้เส้นผมดกดำ และสามารถแก้ผมแตกปลายได้
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 48879เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นอกจากจะกินได้แล้วยังทำน้ำหอมได้อีกด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท