ข้าพเจ้าสนใจเรื่องการ “ทำนาเกลือ” มานานกว่า ๒๐ ปีแล้ว ติดตามสม่ำเสมอมา จนพบว่า “ขอมนครวัด “ ทำนาเกลือเป็น ส่วน “เขมรหลังนครวัด” ทำไม่เป็น ...ส่วนไทยทำเป็นมานานแล้วก่อนขอมนครวัดเสียอีก แต่วันนี้กำลังจะทำไม่เป็นแบบเขมรช่วงหลังนครวัดไปแล้ว
การผลิตเกลือ ถือได้ว่าเป็นสินค้าสำคัญที่สุดของมนุษย์ แต่เรามักไม่ค่อยเห็นความสำคัญเท่า คอมพิวเตอร์
ลองคิดดูสิว่า ถ้าไม่มีเกลือ ก็ไม่อาจมีคอมพิวเตอร์ได้
เพราะถ้าไม่มีเกลือ มีหรือที่ฝรั่งจะมีเวลาว่างในฤดูหนาว (จากการล่าหาอาหารสด) มานั่งคิดหาวิธีการร่ำรวย ครองโลก มาหาวิธีล่าอาณานิคม คิดคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มือถือ ให้เราได้”ซื้อใช้” กันทุกวันนี้ รวมทั้งคิดระบบ ธนบัตร เป็นเครื่องล่อด้วย เพราะมันคิดสารตะแล้ว จะให้เอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกมาแลกซื้อมือถือที่สยามพารากอน คงไม่เหมาะแน่ .มันก็เลยต้องคิดระบบเงินตราขึ้นมา เพื่ออครองโลก และเป็นระบบสนตะพายควายโง่ด้วย....เรียกว่าได้หลายต่อมากๆ
การทำนาข้าว ว่ายากแล้ว แต่ทำนาเกลือยากกว่ามากนัก นาข้าวประมาณ 5 ขั้นตอน ส่วนนาเกลือประมาณ 10 ขั้นตอน ...ผมศึกษาแล้วฟันธงว่า สามารถลดมาเหลือสองขั้นตอนได้ไม่ยาก แถมระหว่างนั้นหากำไรได้อีกด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=UTm4E0yOewc&feature=relmfu
http://www.youtube.com/watch?v=MQdF8RbdG1Y&feature=relmfu
พอศึกษาไปก็เห็นว่า...เอ..ทั้ง.นาข้าว นาเกลือ น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้อีก 10 เท่า หรือ ทำให้ดีๆ อีก 100 เท่าด้วยซ้ำไป
เรื่องนาข้าวผมได้เขียนไปมากพอสมควรแล้ว ...วันนี้จะมาเขียนเรื่องนาเกลือบ้าง ที่อาจกำลังสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว ...ทั้งที่ผมไปวิจัยกังหันลมไว้ให้แล้วว่า...กังหันลมนาเกลือ ที่ซื้อกันมาตัวละ 7 หมื่นนั้น ผมสามารถทำให้ราคาลดลงมาเหลือ 3 หมื่นได้สบายๆ ....แต่ไม่มีใคควัง
ขณะนี้นี้ผมมีนศ. ป. เอกคนหนึ่ง กำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง กังหันลมนาเกลือ เพื่อการนี้อยู่ เสียแต่ว่า นศ. ท่านเป็น รองคณบดีวิศว ณ ม.แห่งหนึ่ง เอาเวลาไปบริหารเสียมาก เวลาการทำวิจัยเลยหดหายต๋อมไปกะสายลม ทั้งที่ผมมอบนโยบายการวิจัยไว้ให้หมดแล้ว เป้าหมายเราคือ ออกแบบใหม่ให้ได้ปสภ.สูง ราคาถูก ใช้งานง่าย ....เพื่อนำเอากังหันลมให้กลับมาเต็มท้องนา ทั้งนาข้าวและนาเกลือ เหมือนดังในอดีต ที่ไทยเราเป็น "แดนกังหันลม" ตัวจริง ไม่ใช่ตัวปลอมแบบพวกดัทช์ที่เราทั้งหลานนิยมชมชื่น
....เพราะเราจะพิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีประสิทธิผลสูงกว่าการใช้เครื่องยนต์ฝรั่ง (แต่โครงการวิจัยแบบนี้หากเสนอขึ้นไปหา "ท่าน" รับรองไม่ผ่าน...โอว์..ก็มันโลว์เทคง่ะ)
...เหนื่อยแล้ว เอาไว้ต่อตอนหน้านะครับ
....คนถางทาง (๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
คนถางทางค่ะ ...ทางปักษ์ใ้ต้มีแหล่งนาเกลือที่ปัตตานี นาเกลือแหล่งสุดท้าย ทีี่บ้านบานาและตันหยงลูโล๊ะ ที่กำลังจะสูญสิ้นไปอย่างน่าเป็นห่วง จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายในเครือข่ายการทำงานท้องถิ่นของทีมงานเราที่นี่เช่นกัน แต่ก่อนยังเห็นว่าใช้กังหันโบราณ ทดน้ำเข้านา เดี่ยวนี้เปลี่ยนไป แต่ไม่ได้ถามว่าราคาเท่าไหร่ ประเดี่ยวจะถามดูว่าต้นทุนการใช้กังหันลมเป็นอย่างไร??? เราพยายามร่วมกันกับเยาวชนในหมู่บ้าน ให้รักษ์และเห็นคุณค่า ให้มีการทำนาเกลือกันต่อๆไป ซึ่งมีแกนนำเยาวชนที่สนใจเห็นคุณค่ากำลังทำงานเรื่องนี้อยู่ เราใช้กระบวนการคิดว่าทำอย่างไรจะอยู่รอด โดยเริ่มต้นจากภายในชุมชน เกลือที่นี่ได้รับคำบอกกล่าวกันว่า "เกลือหวาน" นานมาแล้ว ก่อนเรือสำเภาจะออกเดินทางไปยังน่านน้ำ ทะเลโพ้นในเส้นทางการเดินเรือค้าขาย ก็จะแวะซื้อเกลือที่นี่ นั่่นก็เพราะมีองค์ประกอบของน้ำในอ่าวปัตตานีที่ทำให้มีรสชาติเกลืออร่อย ..ปัจจุบันนี้รสชาติเปลี่ยน เมือนำมาวิเคราะห์ทางเคมีก็เห็นว่ามีองค์ประกอบเปลี่ยนไป..พยายามหาจุดเด่นเช่นปริมาณไอโอดีนหรืออะไรต่างๆเพื่อให้มีราคาพอที่ชาวนาเกลืออยู่ได้ ไม่ทิ้งนาไปทำอาชีพอย่างอื่น
นอกจากนี้เราจัดกิจกรรมให้นักศึกษาลงไปที่นาเกลือทุกปี ในรายวิชาที่ตัวเองรับผิดชอบ และเราไปทำกิจกรรมใสห่วงขานก (bird banding) ที่นี่ด้วย พื้นที่นาเกลือมีความสำคัญที่นกชายเลนอพยพเข้ามาใช้พื้นที่ทุกปี หลังจากบินอพยพจากซีกโลกเหนือ/ใต้ ประจักษ์พยานจากการจับนกที่เราเคยใส่ห่วงขาให้เมื่อปีก่อนๆ (recapture) นกยังคงกลับเข้ามาใช้พื้นที่ทุกปี จึงเป็นประเด็นที่ชี้ให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของพื้นที่ (international importance)
นักศึกษาบางคนอยู่ที่นีแท้ๆไม่เคยไปสัมผัส บางคนมาจากพื้นที่ป่าต้นน้ำ ก็ตื่นเต้นที่จะได้ไปนาเกลือ เลยได้โอกาสให้ไปสัมผัส ย่ำเท้าเดินบนนาเกลือและเรียนรู้วิถีชีวิตนาเกลือ แล้วแต่ใครจะสนใจอะไร .เพราะบริเวณนั้นเป็นป่าชายเลน แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำ นกตีนเทียนทำรังบริเวณนาเกลือเช่นกัน ในแปลงนามีหญ้าทะเล ริมนามีต้นหยาดน้ำค้าง สัตว์น้ำในนาเกลือแต่ละระยะ บางคนสนใจไปพูดคุยกับคุณป้า คุณลุงที่ทำนาเกลือ ได้เห็นเค้าในภาวะที่อาบเหงือต่างน้ำ ทำงาน รวมถึงได้เรียนรู้ และสนุกแบบให้รู้จักท้องถิ่นมากขึ้้น เราออกไปที่นั้่นตั้งแต่ ตี 5 ครึ่งเช้าตรู่ ..นักศึกษา 100 เศษ ต้องฝึกตื่นเช้า เราต้องบริหารจัดการเรื่องรถ เรื่องอาหาร จัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อเนื่องมาสีปีแล้วละค่ะ feedback กลับมาก็ชอบกัน เราทานข้าวเช้า "นาซิดาแก" อาหารพื้นถิ่นริมนาเกลือ ก็ได้บรรยากาศ หวังไว้ว่าสักวันหนึ่ง เค้าคงเห็นความสำคัญ .."กว่าจะได้เป็นเกลือ" ..หรือช่วยกันหวงแหน ภูมิปัญญานาเกลือ อาชีพนาเกลือจะอยู่ไม่ล่มสลาย คล้ายกับนาข้าวที่ทิ้งร้าง!! และ "เพลงหนุ่มนาข้าว-สาวนาเกลือ" จึงจะฟังดูมีความหมายหน่อยนะค่ะ ถึงไม่ใช่จะเป็นที่สมุทรสาคร :-))
ท่านkwan ครับ ตื่นเต้นสุด ๆ ที่ได้ยินเรื่องนี้ ...ทุกวนนี้เราตื่นเต้นกับการอนุรักษ์สัคว์ พืชมาก แต่อนุรักษ์วิถีชีวิต กลับไม่ค่อยสน ปล่อยให้มันสูญพันธุ์ไป ขนาดรัฐมารเองแท้ๆ บอกว่า ถ้าสู้เขาไม่ได้ก็ให้ "เปลี่ยนอาชีพ"
เอาใจช่วยมากๆเลยครับ ให้ช่วยให้เขาอยู่ต่อไปได้ พยุงอาการไข้ไว้ สักวันเขามีเวลา เขาอาจรื้อฟื้นแนวคิด มองเห็นแนวทางอยู่รอด อย่างยืนยงอีกด้วย
มีอะไรเกี่ยวกะกังหันลมวิดน้ำเข้านาเกลือ ผมยินดีครับ ผมคิดสาระตะแล้ว ถ้าออกแบบให้ดี ต้นทุนต่ำ กังหันลม คุ้มค่ากว่าเครื่องยนต์ดีเซลครับ แถมเงียบกว่า ไม่ส่งเีสียงรบกวนสิ่งแวดล้อม (รวมทั้งนกทะเลที่มาอาศัย)
นอกจากนี้ยังสามารถ บู กับ เทคโนผลิตพืช สัตว์ว่า จะปลูก เลี้้ยงอะไรในนาเกลือได้ เช่น สัตว์ใน dead sea ที่เค็มมาก เอามาเลี้ยงในนาเกลือเราได้ไหม
Wonderful R+D work. I believe as low price as it is, salt will be in demand for a long long time. In Aus, 'special character' salts are priced more than 10 times 'common salt' (which is around $2/kg).
Lattest survey of primary school children of knowledge of food. Some 30% of children think all food come from supermarkets except some fruits like kiwi fruits -- these come from Kiwiland ;-) I wonder how many university students in Thailand know where chickens come from... --- KFC is a wrong answer!