หน่อโจด (แอสพารากัสไทย)


รูปร่างหน่อโจด คล้ายกับ แอสพารากัส ที่คนไทยเห่อกันมาก (หน่อโจดฝรั่ง) แต่ผมรับรองว่าหน่อโจดไทย หรอยกว่าหน่อโจดฝรั่งมาก ..

ผักอีสานหากินยาก(มาก )....(ตอนที่เท่าไหร่แล้วบ่ฮู่)

 

 

ผักอีสานที่เป็นหน่อนั้นมีมากหลาย เช่น หน่อไม้ หน่อหวาย หน่อกล้วย หน่อโจด

 

หา..หน่อโจด..เคยได้ยินกันบ้างไหม

 

 

สมัยยังเป็นเด็กเล็ก จ. ปราจีน เห็นชาวบ้านป่าเอาหน่อโจดหาบมาขายจากป่า แม่ซื้อเอามาแกงกับปลาย่าง และ น้ำคั้นใบย่านาง ...สุดหรอย

 

รูปร่างหน่อโจด เล็กยาว คล้ายกับ แอสพารากัสฝรั่ง ที่คนไทยเห่อกันมาก (หน่อโจดฝรั่ง)  แต่ผมรับรองว่าหน่อโจดไทย หรอยกว่าหน่อโจดฝรั่งมาก ...เสียแต่วันนี้แทบสูญพันธุ์ไปแล้ว นานๆผมเจอทีในตลาดเช้าสดอีสาน

 

สัก ๑๐ ปีมาแล้ว ผมเริ่มสงสัยว่าหน่อโจดนี่คือหน่อของไม่ไผ่ต้นเล็กๆ (สูงประมาณหัวเท่านั้น)  ที่ชาวอีสานเรียกว่า “เพ็ก”  (ผมเคยคิดว่าทำไม่เรียกว่า เพ็ก อ๋อ..สงสัยผวนมาจาก ไผ่เล็ก = เพ็กไหล่...ว่าไปนั่น)    ...ผมเอาไปวิสัชนากับชาวบ้านที่นิยมไปหากัน ก็หาข้อสรุปไม่ได้ บ้างว่าใช่ บ้างว่าต่างหาก

 

สองเดือนก่อนได้มีโอกาสถามนักวิชาการด้านพฤกษศาสตร์กลางที่ประชุม ท่านก็ว่า เพ็ก กะ โจด คนละอย่างกัน (แต่ไม่มีเวลาถามท่านแบบจะๆ แล้วมันคนละอย่างอย่างไร) 

 

ที่น่าสังเกตทำไม ไม่มีหน่อเพ็ก ออกมาขายเลย มีแต่หน่อโจด  ทั้งที่แม่บ้านที่ไปเก็บกันตามป่ามหาลัย ก็บอกว่าไปเก็บหน่อเพ็ก

 

 

คำว่า เพ็ก กับ โจด เป็นชื่อหมู่บ้านอีสานก็มาก เช่น โพนเพ็ก   ห้วยโจด  ....คำว่าโพน เป็นว่า โนน หรือ โคก แต่เป็นสำเนียงของไทยพวน ไทยผู้ไทย  (ผมไปสัมภาษณ์มา เพราะสงสัยมานานว่าทำไมมันมีโพนมากจัง เช่น โพนทอง โพนพิสัย ) 

 

ตะกี้คลิกเข้าไปค้น คำว่า “หน่อโจด เพ็ก” ....พบเพียงกระทู้เดียวถามว่า  โจด กับเพ็ก เป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม จากชมรมอีสานจุฬา ...แต่คลิกเข้าไปแล้ว มันบอกว่า ห้ามเข้า เพราะผิดพรบ. คอมฯ (งง...เจอแบบนี้บ่อยมาก ทั้งที่เป็นความรู้พื้น แต่พอเข้าเว็บโป๊ เว็บหมิ่นสถาบัน กลับผ่านฉลุย)

 

 

www.isan.clubs.chula.ac.th/para_norkhai

 

 

...คนถางทาง (๑๙ พค. ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 488469เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 05:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่รู้ว่ารสชาดมันจะเหมือน แขนงไผ่หรือเปล่า แถบบ้านชลัญมักจะเก็บแขนงไผ่มาลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ

อันนี้ยังไม่รู้จักครับท่าน

แต่ถ้าเป็นหน่อปุด หวาย ไม้ไผ่ป่า พอหากินเองได้ตามธรรมชาติ

อาจเป็นได้นะคุณ ชลัญฯ...แขนงไผ่...เพิ่งไ้ด้ยิน เหมือนกัน ..คนอีสานเนี่ย ต้องยกให้เขาในเรื่องความหลากหลายทางการกิน

อ้าว..ขนาดท่านวอญ่าัยังไม่รู้จัก

ลองไปค้นกูเกิ้ลดูนะครับ ...รับรองว่าไม่จืด ......บางคนเอารูปหน่อไม้อ่อนมา...แล้วบอกว่านี่ไง หน่อโจด

เคยกินแต่หน่อไผ่รวก ผมเคยกินหน่อหวาย แต่หนอโจด ไม่เคยกินครับ ขอไปหารูปก่อนนะครับ ท่าทางหายากแล้ว ถ้าได้ต้นมาเพาะน่าจะดีครับ...

หน่อโจดจะเล็กกว่าหน่อรวกครับท่านขจิต ผมเห็นรูปอยู่ เดี๋ยวจะลองไปก็อบมาแปะครับ

รูปนี้ตัดมาจาก google ครับ  (ขออภัยไม่ได้เอาลิงค์มา)  คล้ายหน่อโจดที่ผมรู้จักพอควร  แต่ไม่น่าใช่ครับ  หน่อโจดจะมีขนาดประมาณนี้แหละ  รูปพรรณสันฐานก็ประมาณนี้ คือค่อนข้างเรียว แต่สั้นกว่านี้หน่อย  แต่หน่อโจดมีปล้องเหมือนไผ่ครับ ไม่ทะลึ่งพรวดแบบนี้ ในรูปนี้เข้าใจว่าจะเป็น แขนง ตามที่คุณ ชธ. ว่าไว้ ...ไปหาอ่านดูก็มีสองกระแสจริงๆ บ้างก็ว่า แขนงไผ่คือ โจด แต่อีกฝ่ายบอกว่า มันเป็นหน่อของ ไผ่โจดโดยตรง โดยผมว่าไผ่โจดน่าจะเป็นสิ่งเดียวกับที่โคราชและปราจีนเรียกว่า เพ็ก ครับ บางคนก็เรียกไผ่เพ็กไปเลย เพราะเหมือนไผ่มากเพียงแต่ย่อส่วนลงมาต้นเล็กประมาณท่วมหัว

 

I don't know this หน่อโจด. By the look of it in the picture, it should be a kind of small bamboo (as you say). Another possible is the yound shoot of 'reed' (another kind of grass which bamboos also belong).

Do we have to boil long and throw away the boiled water -- because the shoots are quite bitter?

ในภาพเลยกินตอนไปอีสานครับ แต่ยังหาหน่อโจดไม่พบเหมือนกันครับ...

ไปถามแม่มาแล้วค่ะอาจารย์ มันเป็นคนละอย่างกันจริงๆ โจดก็คือโจด ต้นจะคล้ายไม้ไผ่แต่เล็กกว่ามากเอามาปลูกประดับในกระถางได้ หน่อเล็กๆ คล้ายแท่งดินสอ ที่พิมายแม่บอก ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเองยังพอมีอยู่ แต่บ้านชลัญไม่มีแล้ว ส่วนใหญ่ก็นิยมเอามาลวกจิ้มนี่แหล่ะ ไว้ชลัญถามคนไข้ให้ถ้ามีจะให้เขาถ่ายรูปมาให้อาจารย์ดูค่ะ

ท่าน sr ครับ ท่านชลัญ อธิบายแทนผมแล้ว ฮ่าฮ่า แต่ในภาพนั้นเหมือนมากครับ แต่ไม่น่าใช่โจดครับ ผมไปค้นเจอหน้าเว็บหนึ่งอธิบายว่า เป็นไผ่เล็ก เปลือกหุ้มหน่อสีเหลืองครับ ผมเองไม่เคยเห็นมันทั้งเปลือกสักที เห็นที่ไรก็ในตลาดสดแล้วครับ

  • ขออนุญาตเจ้าของบันทึกจ้ะ
  • โจด...ชื่อนี้เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกน่าสนใจจ้ะ
  • เข้าไปหาภาพดู เจอแต่ ต้นโจด
  • ไม่ทราบว่าหน้าตาแบบนี้หรือเปล่าจ๊ะ

เป็นไปได้ครับคุณมะเดื่อ

แต่ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมันออกเหลืองๆ ครับ ไม่เขียวแบบนี้ เพราะความแล้งของอีสานกระมัง ...แต่ทรงพุ่มเหมือนมากครับ น่าใช่

บนโคกบนเขา ยังมีให้เห็นอยู่ครับ แต่ไม่เห็นมีใครค่อยสนใจเลย ถ้าไปบนโคกบนเขาก็จะนึกถึงกันแต่เห็ด อาจจะเป็นเพราะเห็ดขายดีกว่ากระมังเลยทำให้คนเขาลืม...หน่อโจด

วันนี้ได้มีโอกาสสนทนากับชาวสวนผู้มีความรู้ดีมาก ท่านอธิบายว่า โจด กับ เพ็ก เป็นสิ่งเดียวกัน แถมอธิบายด้วยว่ามีทั้งเพ็กใหญ่ และ เพ็กเล็ก โจดใหญ่หน่อประมาณแท่งปากกาเขียนไวท์บอร์ด โจดเล็กลงมาอีกประมาณปากกาแท่งอ้วนๆ ท่านว่างูเหลือมมันชอบไปอาศัยอยู่ในกอเพ็กใหญ่

ผู้เฒ่า วังน้ำเขียว

ท่านนักวิชาการที่เกี่ยวกับพืช และท่านป่าไม้ น่าจะจัดทำข้อมูลของไผ่ให้ครบนะครับ  ทุกวันนี้พวกเราโดนหลอกขายไผ่ ทั้งที่เป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ ..ใครอยากตั้งชื่ออะไรก็ตั้งเลย ..กว่าจะรู้ว่าโง่ก็สายไปแล้วครับ

ผู้เฒ่า วังน้ำเขียว

ท่านนักวิชาการที่เกี่ยวกับพืช และท่านป่าไม้ น่าจะจัดทำข้อมูลของไผ่ให้ครบนะครับ  ทุกวันนี้พวกเราโดนหลอกขายไผ่ ทั้งที่เป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ ..ใครอยากตั้งชื่ออะไรก็ตั้งเลย ..กว่าจะรู้ว่าโง่ก็สายไปแล้วครับ

โจด กับ เพ็ก คนละอย่างกันครับ เพ็กเป็นหญ้าแต่มีเนื้อแข็งเหมือนไผ่ มีขนาดความสูงประมาณครึ่งถึงหนึ่งเมตร ส่วนโจดขึ้นเป็นกอเหมือนไผ่่ แต่ขนาดเล็กกว่า สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะหน่อเป็นหน่อแยกตา หน่อยาวเรียวขนาดโดยรอบประมาณหัวแม่มือ ถ้าดิน+น้ำสมบูรณ์จะใหญ่กว่านี้ หน้าฝนนี้ผมจะลองขุดจากป่ามาปลูก และบำรุงเหมือนไผ่ดูครับ เผื่อจะมีแนวทางให้ทำมาหากิน อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท