คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม


ซุนวู ” รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม  แล้วทำไม ไม่คิดต่าง ลองทำอะไรที่มันแตกต่างจากเดิมๆ บ้างได้ไหม …….

ที่ปรึกษา ฟังดูแล้วเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา หากแต่ว่าเขาจะปรึกษาหรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง

เอาเป็นว่า คนที่ตัวเล็กๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย สามารถยืนหยัดด้วยตัวเอง แล้วสามารถให้คำปรึกษาช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มซึ่งกันและกัน ในกลุ่มที่รวมตัวกันด้วยความรู้ความเข้าใจ ในอาชีพ ยกตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำนาโดยแบบที่พิมพ์นิยม แล้วเกิดความล้มเหลวจาก เป็นเจ้าของนา กลายเป็นลูกจ้างทำนาในที่นาที่เคยเป็นของตัวเอง และในที่สุดเขาไม่จ้างให้ทำนา เพราะไม่คุ้มทุน……วงจรชีวิตชาวนาไทยส่วนหนึ่งที่พบเห็นทั่วไปชีวิตลำเค็ญมาก ที่พบเห็นได้จากข่าว และสารคดี จนเป็นภาพติดลบของอาชีพชาวนา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม อนาคตชาวนาจะเป็นอย่างไร……

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบอกว่าประเทศไทยมีชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ธรรมชาติที่หลากหลาย ภูมิศาสตร์ของประเทศเรามีภูเขา มีที่ราบหุบเขา มีแม่น้ำ มีป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เรามีที่ราบสูง เรามีทะเลสองทะเลขนาบสองด้านภาคใต้ เรามีค้นทุนทางธรรมชาติสูงมาก……

แต่เราประสบปัญหา การทำลายทรัพยกรสูงจนน่ากลัว และหยุดยั้งไม่ได้เสียด้วยภาครัฐมีหน้าที่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ปัญหารุมเร้าทุกด้าน

วัตถุนิยม “มีเงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่” แต่การได้มาซึ่งความร่ำรวยไม่ใช่ปัญหา คนส่วนหนึ่งยอมรับหน้าตาเฉย “รวยเสียอย่างทำอะไรดูดีไปหมด” เป็นสำนวนที่ชินหู อนาคตของชาติลำบากแน่ ที่ถูกสื่อที่ยัดเยียดข้อมูลที่ฟุ้งเฟ้อไร้ความสำนึกมายังประชาชนถึงห้องนอน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง….ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และสร้างสรร เรื่องแผ่นดินที่ตัวเองอยู่ ไม่เคยรู้จักธรรมชาตสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ไม่รู้คุณค่า จึงไม่รู้จักพัฒาให้เกิดประโชนย์ สร้างความมั่นคงให้ชีวิตอย่างยั่งยืน

ซุนวู ” รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”  นั้นคือเคล็ดลับของความสำเร็จ การพัฒนาประเทศชาติให้ประสบความสำเร็จ นั้นต้อง รู้เรื่องของประเทศในทุกตารางนิ้ว อย่างถ่องแท้ รู้จักภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ รู้จักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า และสิ่งมีชีวิต รวมถึงมิติของสังคมที่แตกต่าง ถ้ารู้(เขา) แล้วมาดูตัวเอง(รู้เรา)ว่ามีศักยภาพเป็นอย่างไร มีความรู้พอเพียงหรือไม่ ถ้าขาด ต้องหาคนที่มีศักยภาพทุกด้านที่สอดคล้องกับ สิ่งที่เรามีอยู่เที่ได้จาก “รู้เรา” มาเติมเต็ม ช่วยกันการพัฒนาประเทศชาติอย่างพอเพียง และเหมาะสม เป็นการช่วยกัฯพัฒนาทั้งตัวเองและ ประเทศชาติได้

ถ้าตอบ “รู้เขา รู้เรา” ได้ เราก็พอมีทางพัฒนาชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนได้

เลิกเสียที่ คิดแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ……..

หมายเลขบันทึก: 488321เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

Ico48ขอบคุณค่ะ ตั้งใจเปิดประเด็น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

แต่น่าเสียดายที่ให้แค่ดอกไม้ ไม่ได้แตกความคิดเห็นและประสบการที่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร แนวความคิดภาคราชการยังคงย่ำอยู่กับที่จัดประชุมสัมนาระดมความคิด จากทุกภาคส่วนและประชาชน(ที่เลือก) แต่คือการเชิญมาฟังวิทยากรพูดแบบเดิม(ตัวกูของกู) ประมาณ เก้าสิบเปอร์เซนต์ ฟังผู้เข้าร่วมประชุม(นักพูดที่หน้าเดิมๆ) แล้วก็หมดเวลา สรุปผลระดมความคิด แล้วมาเสนอผลงาน แล้วปิกงานจบ ......อิอิ

สรุป

คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม

...คน..คิดเดิมๆ..เป็นคน.."ชอบเข็นครก..ขึ้นภูเขา..มั้ง.."..ผลที่เห็น..ก็เป็นแบบ..เดิมๆ..อิอิ..(ยายธี)

ไม่รู้ว่าอาม่า เคยแวะเยี่ยมชม Facebook ของ อ.ยักษ์ ชื่อ "มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ" ไหมคะ
เคยมีการจัดสรรที่ดินแบ่งขายเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อทำชุมชมทางเกษตรแบบพึ่งพาตนเองด้วยค่ะ
โดยวางแปลนของที่ดิน เพื่อปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ตามแนวเศรษกิจพอเพียงของในหลวง
มีคนเมือง ที่อยากเปลี่ยนวิถีชีวิตไปซื้อกันคึกคัก เพราะราคาค่อนข้างถูก
หนูเองก็อยากซื้อ แต่ทุนทรัพย์ไม่เอื้ออำนวยให้ทำได้

จริง ๆ แล้ว หนูเปลี่ยนความคิดจากความเป็นคนเมือง อยากไปปลูกข้าวปลูกผักกินเอง มาได้ระยะหนึ่งแล้ว
แต่ด้วยหนี้สินและรายจ่ายประจำอื่น ๆ ทำให้ยังต้องดิ้นรนเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่
แล้วอย่างนี้ ถึงแม้จะเปลี่ยนความคิด แต่เราจะเปลี่ยนอะไรตามได้อีกบ้างคะ

สิ่งที่หนูเปลี่ยนแล้วสำหรับชีวิตตัวเอง คือ กินอยู่ใช้สอยอย่างประหยัด และเน้นทำอาหารกินเอง
โดยเน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลัก เพราะอายุเริ่มมากขึ้นแล้ว
แต่การจะเปลี่ยนวิถีชีวิต อย่างที่ อ.ยักษ์ทำได้แล้ว ดูเป็นเรื่องที่ไร้หนทางสำหรับหนูนะ
เพราะหนูไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง  บ้านที่หนูอยู่เป็นทาวเฮาส์ มีส่วนพื้นดินอยู่หน้าบ้านเล็กน้อย
ไม่ว่าจะปลูกอะไร พวกทากพวกแมลงก็มารุมกินโต๊ะกันสนุก  ปลูกอะไรก็ไม่สำเร็จเสียที
ยกเว้นชะอมแค่ต้นเดียว ที่เป็นผลผลิตที่ภูมิใจ (แต่ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว โดนน้ำท่วมตาย)

อาม่ามีคำแนะนำให้หนูไหมคะ ถึงหนูจะยังไม่มีเงินซื้อที่ดิน แต่ก็ยังอยากเตรียมตัวไว้ก่อน
เพราะถ้าหากวันใดปัจจัยพร้อม แต่หนูกลัวว่า ตัวเองนี่แหละจะไม่พร้อม
เพราะเป็นคนเมืองตั้งแต่เกิด  ไม่มั่นใจตัวเองเลยจริง ๆ ว่าจะไปทำเกษตรได้
และอยากทราบแนวคิดของอาม่า ในการดำเนินชีวิตแบบคนเมืองตามแนวเศรษกิจพอเพียงด้วยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท