Japan ‘ The prosperous Cultural Country ’ ตอนที่ 1 : ただいま(Tadaima)


สองข้างทางเขียวชะอุ่มปกคลุมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ผลิใบชูช่อ สะท้อนแสงสีเขียวอ่อนดูสดชื่น- งดงามจับตา ภาพอาคารบ้านเรือนทั้งสองฝากฝั่งถนนปลูกสร้างอย่างเป็นระเบียบ ถนนหนทางสะอาดสะอ้าน ไม่มีสิ่งระเกะระกะรกรุงรังมาบดบังสายตาให้รู้สึกรำคาญใจ สภาพของสรรพสิ่งที่แวดล้อมประกอบกันอย่างเหมาะเจาะลงตัวราวกับเสกสรร-ปั้นแต่ง

ส่งสายตามองออกไปนอกหน้าต่างรถลีมูซีน เพื่อชมทัศนียภาพรอบด้าน  ช่วงเดินทางจากสนามบินนาริตะ  ไปยังศูนย์ภาษามูลนิธิญี่ปุ่นอุระวะ   ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบล  Kita Urawa  เมือง Saitama  อย่างคุ้นเคย ...   สองข้างทางเขียวชะอุ่มปกคลุมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ผลิใบชูช่อ สะท้อนแสงสีเขียวอ่อนดูสดชื่น-  งดงามจับตา  ภาพอาคารบ้านเรือนทั้งสองฝากฝั่งถนนปลูกสร้างอย่างเป็นระเบียบ   ถนนหนทางสะอาดสะอ้าน     ไม่มีสิ่งระเกะระกะรกรุงรังมาบดบังสายตาให้รู้สึกรำคาญใจ   สภาพของสรรพสิ่งที่แวดล้อมประกอบกันอย่างเหมาะเจาะลงตัวราวกับเสกสรร-ปั้นแต่ง   … นี่แหละ... ประเทศญี่ปุ่น ที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษ ただいま(Tadaima) ” กลับมาแล้วนะคะ

 

                                                         สนามบินนาริตะ  ประเทศญี่ปุ่น

    

         

ทุกก้าวย่างแห่งการสัมผัส ณ ดินแดน แห่งนี้ เต็มตื้นไปด้วยความรู้สึกสุขใจ-อบอุ่น-ปลอดภัย  
 
สุขใจ      เพราะ ได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ 
 
อบอุ่น     เพราะได้รับมิตรไมตรี ที่แสดงถึงสัมพันธภาพที่ดีแห่งความจริงใจ

ปลอดภัย เพราะได้รับการอำนวยความสะดวก  บริการด้วยมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ


           
                         
                                                         ศูนย์ภาษามูลนิธิญี่ปุ่นอุระวะ  


ศูนย์ภาษามูลนิธิญี่ปุ่นอุระวะ  เปิดกว้างต้อนรับสมาชิกผู้สอนภาษาญี่ปุ่น ผู้ทำวิจัย และผู้มาศึกษาดูงานจากทั่วโลกปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยคน  ได้พบปะคณาจารย์ที่เคยให้ความรู้ อยู่ 2 ท่าน  บางท่านรู้จักที่เมืองไทยนอกนั้นเป็นหน้าใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน   เพื่อนในกลุ่มจากเมืองไทยด้วยกันมีทั้งคุ้นเคย- เคยคุ้น-และเพิ่งเริ่มที่จะคุ้น  แต่ไม่มีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากันแต่อย่างไร  ต่างคนต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย  มีน้ำใจต่อกัน   น้อง 2 คนเรียนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นมาโดยตรง   ที่เหลืออีก 5 (รวมผู้เขียน) เรียนแบบตัดต่อพันธุกรรม  ต้องขยันและใส่ใจจริงๆถึงจะก้าวทันผู้ที่เรียนมาโดยตรง   คงไม่อาจเอื้อมเทียบระดับชั้น…  หุหุหุ…  ยังอยากที่จะปล่อยให้สีผมเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติดีกว่านะ  ผู้หวังดีหลายท่านตักเตือนเรื่องการทำสีผมอยู่บ่อยๆ หากรับสารเคมีเข้าไปเยอะๆ มะเร็งอาจถือโอกาสเข้ามาเยี่ยมเยียน  แต่…อีกหลายคนโต้แย้งว่า  ต้องรีบทำเสียก่อนที่จะเป็นมะเร็ง  เพราะหากเป็นขึ้นมาต้องใช้เคมีบำบัดโรค   เมื่อผมร่วงจะไม่มีโอกาสได้ทำสีผมสวยดั่งตั้งใจ  ผู้เขียนเองเลือกอย่างหลัง  โถ…ก็จัดว่าเป็นคนอ่อนหวาน(หวานน้อย  แต่คนละพันธุ์กับเบาหวานนะจ๊ะ) ขืนไม่ทำสีผม  หน้าแข็งเกิน   ดูไม่ดีอาจเหมือนพวกสองเพศไปเลย ถ้างามดั่ง Miss ทิฟฟานี ก็ว่าไปอย่าง(ทีละอย่างจ้า)





                  ธนบัตรฉบับละหนึ่งพันบาท แลกธนบัตรญี่ปุ่นได้ประมาณนี้เอง ( 39.47 บาท= 100 เยน) 


วัยรุ่นชาวญี่ปุ่น  ประมาณว่าเด็กแนว  นักร้อง-นักแสดง  นิยมทำสีผมกัน  แต่บุคคลทั่วไป-วัยทำงานกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าไหร่ ดูออกจะเรียบร้อย ทั้งบุคคลิกลักษณะ-การแต่งกายและมารยาท  ภาพลักษณ์โดยรวมออกมาดีกว่าที่เคยเห็นตามสื่อต่างๆ จากทีวี  วิดีโอ วารสาร ฯลฯ  คงเหมือนกับประเทศไทยที่สื่อมักจะตีข่าว-ลงเรื่องแฟชั่นหวือหวา ภาพหลุดของเหล่าดารา   อาชญากรรมสะเทือนขวัญ   โจรกรรมสะเทือนใจ และภัยสังคมสยองเกล้านับรายชั่วโมงได้เลย      ข่าวดีต้องเสียตังค์ลง  แต่ข่าวฉาวลงฟรีจ้า      
         

   


ระยะเวลาเกือบสองเดือนนี้  จะพยายามศึกษาเรียนรู้และเกี่ยวเก็บประสบการณ์ให้มากที่สุด  “ よろしくおねがいいたします (Yoroshiku Onegai itashimasu) ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ ”         

                   ***… ขอบคุณมากค่ะどうも ありがとうございます= Domo Arigatou go zai masu)…***

หมายเลขบันทึก: 488143เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอให้สุข..สำเร็จดังที่มุ่งหวัง..ภาพสวยค่ะ..

ได้รับความรู้มากมายเลยค่ะน้อง ขอบคุณมากๆๆค่ะ

   ***...ขอบคุณ "พี่ใหญ่ " นงนาท  Ico48 มากนะคะ  ความคาดหวังจากใจ  มากมายเกินพิกัดจริงๆ  แต่ความเป็นไปได้นี่ซิ...ต้องลุ้นจากสังขารเป็นหลักค่ะ ...***

                                                       

                                                                                                
                                                                        

                          ***... ขอบคุณ " พี่ครูอ้อย "  Ico48 มากค่ะ ...เป็นสิ่งเล็กๆน้อย ๆ ที่พอจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้น่ะค่ะ  หุหุหุ ...***

                                                                   

                          ***...ขอขอบคุณ " อาจารย์โสภณ"  Ico24 มากนะคะ  ที่แวะมาให้กำลังใจ...***

     
                                                                   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท