บทคัดย่องานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ


การพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนตามวิถีมุสลิม

ชื่อเรื่อง " การพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

             ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส"

ผู้วิจัย      สิริกาญจน์  จันทรสงค์ 

ปีที่ทำการวิจัย  2553 - 2555

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญกาและความต้องการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 3) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้้เป็นศนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้ป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมีการศึกษา แบ่งเป็น  6 ขั้นตอน

              ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือก ( Select) คือ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรสตรี และแกนนำเยาวชนนอกระบบ จำนวน 142 คน ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลามและอาศัยในชุมชนมุสลิมนานกว่า 20 ปี ใช้แบบสำวจข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ นำเสนอในรูปแบบตาราง ผลการสัมภาษณ์นำเสนอในรูปแบบพรรณา

             ผลการวิจัย พบว่า  ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 82 ของประชากรทั้งหมด ใช้ภาษามลายูถิ่นหรือภาษายาวี ( Local Malay Language) ในการติดต่อสี่อสาร มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยม ยึดคัมภีร์อัลกุรอานเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และนำเอาบทบัญญัติทางศาสนาเป็นต้นแบบในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจึงเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา และศาสนา คือ แนวทางในการดำเนินชีวิตที่ทุกน ทุกเพศ ทุกวัยต้องประพฤติปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนาอย่างเคร่งครัด มีความสนใจในเรืองการศึกษาเรียนรู้ สอดคล้องกับหลักคำสอนในศาสนาที่กล่าวว่า " จงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ"

             ขั้นตอนที่  2  สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือก ( Select) คือ ผู้บริหาร กศน. ครูศูนย์การเรียนชุมชน ครูอาสาสมัครการศึกาษานอกโรงเรียน ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 178 คน และใช้ทุกหน่วยเป็นกลุ่มประชากร ใช้แบบสำรวจข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ นำเสนอในรูปแบบตาราง และผลการสัมภาษณ์นำเสนอในรูปแบบพรรณา

              ขั้นตอนที่  3  รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาสังเคราะห็ กำหนดข้อความที่เป็นปัจจัยสำคัญ จากนั้นวิเคราะห์องค์ประกอบ ( Exploratory  Factor  Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือก ( Select) แล้วสุ่ม   อย่างง่าย จำนวน201 คน  คือ บุคคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นองค์กรสตรี และแกนนำเยาวชนนอกระบบ

              ผลการวิจัย พบว่า  ค่าความเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่าง = .947 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย ระดับปานกลางถึงระดับมากขึ้นไป ( 3.49 - 3.91) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าอยู่ในช่วง .73 - 1.04  ข้อมูลมีนัยสำคัญทางสถิติ ( < 0.05)  และจัดองค์ประกอบเป็น 6 องค์ประกอบ ทุกองค์ประกอบและทุกปัจจัยในแต่ละองค์ประกอบ มีค่าน้ำหนัก ( Loading) >.500 ค่าไอเกน( Eigenvalues) ของทุกองค์ประกอบ มีค่า > 1  ค่าความแปรปรวนสะสมเท่ากับร้อยละ  66.41 ของความแปรปรวนทั้ง 6 องค์ประกอบ กำหนดชื่อองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ  ด้านอาคารสถานที่ ด้านการจัดบรรยากาศ ด้านบริการชุมชน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสือ อุปกรณ์ และด้านภูมิสังคมมุสลิม

              ขั้นตอนที่  4  การตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนใหเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือก ( Select) คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิถีชีวิตมุสลิมและเข้าใจในบริบทงานการศึกษานอกระบบ มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เกิน 15 ปี จำนวน 15  ท่าน ใช้แบบประเมินระดับความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่าเฉลี่ย นำเสนอในรูปแบบตาราง

               ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิม อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการจัดบรรยากาศมีความเป็นไปได้สูงสุด รองลงมา คือด้านบริการชุมชน ส่วนด้านสื่อ อุปกรณ์ มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด

                ขั้นตอนที่  5  การพัฒนารูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 ท่าน

              ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการพัฒนา ฯ  เพียง 3 ด้าน คือ ด้านอาคารสถานที่  การบริการชุมชน และด้านสื่อ อุปกรณ์

              ขั้นตอนที่  6  ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือก ( Select) คือ บุคคลากรในศูนย์การศึกาานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตากใบ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน และผู้รับบริการ จำนวน 197 คน ใช้แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตาราง

              ผลการวิจัย พบว่า  มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ลอดชีวิตตามวิถีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจต่อด้านการจัดบรรยากาศ สูงสุด รองลงมา คือด้านสื่อ อุปกรณ์  ด้านบริการชุมชน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านอาคารสถานที่ ด้านภูมิสังคมมุสลิม ตามลำดับ

              และเมื่อพิจารณาแยกสถานภาพกลุ่มตัวอย่าง พบว่า บุคคลากร กศน. มีความพึงพอใจด้านกิจกรรมการเรียนรู้สูงสุด รองลงมา คือด้านบริการชุมชน  ผู้นำชุมชน มีความพึงพอใจด้านบริการชุมชนสูงสุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน มีความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการจัดบรรยากาศ และผู้รับบริการ มีความพึงพอใจด้านสื่อ อุปกรณ์สูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดบรรยากาศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           

หมายเลขบันทึก: 488141เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท