zotero: เครื่องมือจัดการบรรณานุกรม ตอนที่ 4 การเก็บข้อมูลบรรณานุกรม (ต่อ)


จุดเด่นของ zotero คือ มีวิธีการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมที่หลากหลาย และหลากรูปแบบครับ

ในตอนที่แล้ว ได้แนะนำวิธีการนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมแบบอัตโนมัติแล้ว จะเห็นว่า เป็นวิธีการที่ง่ายมากครับ เพียงคลิกที่ icon ใน Location bar ข้อมูลบรรณานุกรมก็ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ zotero แล้ว

สำหรับ icon นั้นมีหลายแบบ และมีความหมายดังนี้ครับ

คือ ตำรา (Book)

คือ webpage

คือ Article หรือ บทความนั่นเองครับ

คือ Blogger นั่น ข้อเขียนใน blog

เป็นข้อมูลวีดีโอของ Youtube

เป็นรูปภาพใน Flickr

คือ Folder ซึ่งหมายถึงมีข้อมูลลักษณะข้างต้นมากกว่า 1 รายการ

แต่วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกันครับ เพราะไม่ใช่ทุก website จะรองรับวิธีการแบบนี้ของ zotero ยกตัวอย่างที่ใกล้ๆ ตัวเราก่อนก็ได้ครับ เช่น หากค้นในคลังปัญญา มอ. ด้วยคำว่า rubber และเลือกรายการที่สนใจมาหนึ่งรายการ Location bar จะปรากฎดังรูปที่ 4.1

รูปที่ 4.1

แสดงว่า  คลังปัญญา มอ.รองรับวิธีการนำเข้าอัตโนมัติของ zotero ครับ

 

ทีนี้ลองไปที่ opac.psu.ac.th ค้นหาด้วยคำเดียวกัน และเลือกมาสักรายการ เช่น http://opac.psu.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=79753&page=1&Back=Back

จะพบว่า ไม่มี icon ใดๆ ปรากฎใน Location bar ดังรูปที่ 4.2 ครับ

รูปที่ 4.2

ซึ่งแสดงว่า OPAC ของ มอ. ไม่รองรับวิธีนำเข้าอัตโนมัติของ zotero  ครับ (และยังมี website ที่ไม่รองรับวิธีนี้ของ zotero อยู่จำนวนหนึ่งครับ)

คำถามที่จะตามมาก็คือ แล้วจะนำข้อมูลบรรณานุกรมจาก OPAC เข้า zotero  ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ครับ นั่นคือ วิธีที่ 2 ที่จะกล่าวต่อไปนี้ครับ

กรณีที่ไม่มี icon ใดๆ ของ zotero ปรากฎใน Location bar ต้องใช้วิธี Export Citation หรือ Download Citation ที่มักจะจัดทำไว้ใน website ที่ให้บริการข้อมูลบรรณานุกรมอยู่แล้ว เช่นใน OPAC ของ มอ. (ที่น่าจะมีความยุ่งยากกว่าเพือนแล้ว สำหรับเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมอื่นด้วย) จะต้องทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกรายการที่ต้องการ ยกตัวอย่างรายการที่เลือกแล้ว ดังรูปที่ 4.3

    รูปที่ 4.3

    ให้คลิกเลือก MARC 
  2. ในหน้าถัดไปให้เลือก Save
  3. ตามด้วย Export Save
  4. ตามด้วย Option
  5. คลิกที่ radio button หน้าข้อความ Refer/BibIX (For Endnote or Zotero) และคลิก OK (ใกล้ๆ มุมล่างซ้าย)
  6. ตามด้วยการคลิกที่ Export ระบบก็จะถามว่า ให้เปิดด้วยโปรแกรม... หรือ Save File ให้เลือก Save File และจำไว้ด้วยว่า เก็บไฟล์ไว้ที่ใด
  7. คลิกที่ zotero ที่มุมล่างซ้ายของหน้าต่าง Firefox เพื่อเปิดหน้าต่างของ zotero
  8. คลิกที่ และเลือก Import...
  9. เลือกไฟล์ที่เก็บไว้ในข้อ 6 zotero ก็จะนำข้อมูลเข้าไปไว้ใน Library ใหม่ที่ชื่อเดียวกับชื่อไฟล์ในข้อ 6
  10. จบครับ

นี่เป็นขั้นตอนทั้งหมดสำหรับ OPAC ของ มอ. ครับ แต่สำหรับ website อื่น ทำได้ง่ายกว่านี้มากครับ ยกตัวอย่างเช่น website ของวารสาร American Journal of Ophthalmology  (ที่เดิมใช้วิธีอัตโนมัติไม่ได้ แต่ตอนนี้ได้แล้วครับ) และลองเรียกบทความนี้
http://www.ajo.com/article/S0002-9394%2811%2900689-1/abstract

ที่เมนูด้านขวามือจะเห็น Article Tools ที่มีหน้าตาดังรูปที่ 4.4

รูปที่ 4.4

ให้คลิกที่ Export Citation และคลิกเลือก Export ในหน้าต่างใหม่ที่เปิดตามมา ระบบจะถามว่า จะให้นำเข้าฐานข้อมูลของ zotero หรือไม่ ก็ให้ตอบตามที่ต้องการ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

น่าจะเหนื่อยแล้วครับ ขอพักก่อนนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #bibliography#reference#zotero
หมายเลขบันทึก: 488139เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท