เกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะ ; แนวคิดใหม่ที่อยากเห็น


     การเลื่อนวิทยะฐานะที่กระทำกับครู ค.ศ.ต่างๆ เป็นที่สนใจของข้าราชการครูทุกสังกัด และมีกระแสถึงการจะปรับแก้เกณฑ์ให้เหมาะกับสภาพของการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น จึงเป็นสิ่งที่นักการศึกษาและข้าราชการครูให้ความสนใจ

    โดย รมว.ศธ.กล่าวว่า เรื่องวิทยฐานะครูและผู้บริหารของ สพฐ. มีนโยบายที่จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ ตามนโยบายของ ศธ. โดยใช้หลักเกณฑ์การตัดสินที่เป็นปรนัย เน้นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งได้ยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ เพื่อเตรียมเสนอให้ ก.ค.ศ.พิจารณา ดังนี้ ยกร่างหลักเกณฑ์ด้วยข้อตกลงการปฏิบัติงาน สายงานการบริหารการศึกษาและสายงานบริหารสถานศึกษา ประเมิน 3 ด้าน ได้แก่

       1.ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา/ ผู้บริหารสถานศึกษา

       2.ด้านประสบการณ์วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา

       3.ด้านผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.ประเมินสาระสำคัญและความเป็นไปได้แล้วจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน 2.ประเมินก่อนปฏิบัติงาน 3.ประเมินระหว่างปฏิบัติงาน และ 4.ประเมินหลังปฏิบัติงาน

      ยกร่างหลักเกณฑ์ฯ ด้วยการประเมินสมรรถนะ (ทีพีเคโมเดล) สายงานการสอนและสายงานนิเทศการศึกษา ดังนี้ ประเมิน 2 ด้าน คือ 1.ทดสอบสมรรถนะ และ 2.ผลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (โอเน็ต) และส่วนที่ 2 รายงานผลการปฏิบัติงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสาระนิพนธ์ไม่เกิน 20 หน้า 

     นับเป็นข่าวดีสำหรับคุณครูจำนวนมาก ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

คำสำคัญ (Tags): #วิทยะซานะ
หมายเลขบันทึก: 488006เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท