สิ่งหนึ่งที่เขียนใน PCA…การปลดโซ่ตรวน


PCA ย่อมาจาก Primary Care Award หรือ เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ...ซึงอนามัย หรือ รพ.สต. ต้องดำเนินการให้ผ่านในปีนี้  2555...ขั้นที่ 3...รู้ตนกับปัญหาและความเสี่ยง....วางแผนและดำเนินการ....PDCA…  (มีทั้งหมด 5 ขั้น) ถ้าอย่างนั้น สปสช. จะสนับสนุนงบประมาณน้อยลง...ทีมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ...จึงให้พวกเราเร่งและเริ่มเขียนสิ่งที่ทำ....ทำอย่างไร...ให้เขียนตามนั้น....เพื่อทีมจังหวัด และทีมระดับเขต จะมาตรวจรับรองอนามัยของพวกเราอีกที...จึงเป็นที่มาของบันทึกนี้....(เป็นเรื่องที่ยากสำหรับหมออนามัย...หลายหลากวิชาชีพ...เช่น ผม...ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข...มีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านอื่น เช่น แพทย์ พยาบาล จิตวิทยา  แต่ก็ลำบากเมื่อเราทำงานไปมากมาย...แต่หมออนามัยส่วนใหญ่เขียนเอกสารทางวิชาการไม่เก่ง)

 

สิ่งหนึ่งที่เขียนใน  PCA…การปลดโซ่ตรวนผู้ป่วย...เป็นสิ่งหนึ่งที่ทีมงานทุกคนได้ดำเนินการ...และผมได้เขียนเรื่องเล่าและมีรูปถ่ายไว้บ้างในโกทูโนว์ที่นี้....มีประโยชน์ในการเก็บข้อมูลได้อย่างดี....นับเป็นเรื่องที่เริ่มต้นในการเขียนทางวิชาการได้ง่าย (ง่าย คือ เขียนอักษรแรกได้ ตัวต่อไปน่าจะยาวเป็นประโยคได้...แต่ศัพท์วิชาการถูๆ ไถๆ )…และผมว่า น่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแบ่งปันมุมมองในการทำงานได้

 

 

ข้อมูลส่วนตัว

ชายไทย อายุ 44 ปี เชื้อไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ สถานภาพสมรสโสด จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

 

 

ประวิติการเจ็บป่วยและการรักษา (มารดาผู้ป่วยให้ข้อมูล)

ผู้ป่วยมีการทางจิตจากการใช้สารเสพติด ตั้งแต่ อายุ 20 ปี ด้วยอาการอาละวาด ทำร้ายผู้อื่น รับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น หลังจากโรงพยาบาลจำหน่ายแล้ว อาการทางจิตทุเลา แต่มารดาเกรงว่า ผู้ป่วยจะทำร้ายผู้อื่น และมีเหตุการณ์ที่จะพยายามข่มขืนมารดา มารดาจึงล่ามขังไว้ใต้ถุนบ้าน

ระหว่างล่ามขังมารดารับยาแทนตลอด เมื่อปี 2549 มารดาได้นำผู้ป่วยไปพบแพทย์และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นอีกครั้ง เป็นเวลาเกือบครบ 1 เดือน แต่ผู้ป่วยหลบหนีออกจากโรงพยาบาล และเดินทางกลับมาบ้านเอง ทำให้มารดาเกรงว่า ผู้ป่วยจะทำร้ายผู้อื่น จึงได้ล่ามขังไว้เหมือนเดิม

 

ลักษณะครอบครัว

ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย ผู้ป่วยอาศัยอยู่กับมารดา อายุ 64 ปี และน้องสาวน้องเขย รวมจำนวน 7 คน มารดาเป็นหลักในผู้ดูแล ตั้งแต่เรื่องอาหาร ยาให้ผู้ป่วย มารดามีอาชีพทำนาตามฤดูกาล  ค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้จากพี่ชาย น้องสาวและน้องเขย มารดาผู้ป่วยป่วยเป็นโรคเครียด รับประทานยาแก้ปวด และยานอนหลับเป็นประจำ

 

ลักษณะสภาพแวดล้อม

บ้านผู้ป่วยเป็นบ้านไม้สองชั้น  ชั้นล่างเป็นใต้ถุนสูง ผู้ป่วยถูกล่ามขังไว้บริเวณใต้ถุนบ้าน มารดาได้ใช้ผ้ามาปิดปังไว้ ไม่ให้ผู้ผ่านไปมาพบเห็นผู้ป่วย

 

ประวัติการใช้สารเสพติด  ใช้ยาบ้า

 

การประเมินผู้ป่วยครั้งแรก

ผู้ป่วยรูปร่างอ้วน นุ่งผ้าขาวม้า ไม่ใส่เสื้อ  ขาที่ล่ามโซ่มีบาดแผลรอบๆ รอยโซ่ตรวน เนื่องจากแต่ก่อนได้ใช้ผ้าพันหุ้มโซ่ แต่ผู้ป่วยอึดอัด และคัน จึงเอาออก ผู้ป่วยพูดคุยตรงประเด็นเป็นบางครั้ง เนื้อหาไม่ต่อเนื่อง มีอาการหลงผิดคิดว่า ตนเองเป็นพระประจักษ์ สวดมนต์เป็นพัก ๆ มีอารมณ์ทุกเพศสูงโดยการช่วยตัวเองวันละหลายครั้ง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีอาการประสาทหลอน มองเห็นปีศาจ  มีความคิดไม่ดีกับคนที่เคยทำร้ายตนเอง และต้องการแก้แค้น

 

ผลการประเมิน   เป็นผู้ป่วยระดับที่ 1 มีอาการรุนแรง

 

สรุปประเด็นปัญหาผู้ป่วย

1. ผู้ป่วยมีอาการทางจิต การรับรู้ไม่เหมาะสม

2. ขาดทักษะในการดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม ไม่สามารถมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

3. ครอบครัวมีวิธีการจัดการกับปัญหาในการดูแลผู้ป่วยไม่เหมาะสม โดยการล่ามขังผู้ป่วย

4. มารดามีความเครียดในการดูแลผู้ป่วย

5. ชุมชนพร้อมญาติผู้ดูแลมีความหวาดกลัวผู้ป่วย กลัวผู้ป่วยไปทำร้ายคนในชุมชน

 

 

สิ่งที่ทีมงานดำเนินงานไปแล้ว

1. ทีมสหวิชาชีพ และทีมสุขภาพชุมชน  ได้ออกมาประเมินผู้ป่วย รวมกันกับครอบครัวผู้ป่วย  เพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วย

2. แพทย์ได้ปรับยาให้ตรงกับสภาพอาการ และจากการประเมินสภาพผู้ป่วย

3. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ออกการประเมินการอาการ พฤติกรรม และการใช้ยาของผู้ป่วยทุกเดือน และออกเยี่ยมบ้านทุกสัปดาห์

4. สิ่งที่ดำเนินการต่อไป  ในการางแผนดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมทีมสหวิชาชีพ และทีมสุขภาพชุมชน และครอบครัวผู้ป่วย  โดยการออกเยี่ยมร่วมกัน และปลดโซ่ตรวนออกในวันดำเนินการ  หากิจกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น  รับประทานอาหารร่วมกัน  ชวนพูดคุย   และหางานอดิเรกที่ไม่หนักและยากให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้อยู่กับผู้อื่น  และมีประเมินอาการผู้ป่วยโดยแพทย์ และนักจิตวิทยา เป็นระยะ ๆ  เพื่อปลดโซ่ตรวนให้กับผู้ป่วยได้อย่างถาวร

 

หมายเลขบันทึก: 487816เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ยอดเยี่ยมค่ะ เป็นตัวอย่างการสกัด สาระ จากข้อมูล ขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่างการสรุปเรื่องเล่า แบบ informatics นะค่ะ :)

สวัสดีค่ะ กำลังทำอยู่เหมือนกัน แบบนี้เล่าได้สบายเลยค่ะ แต่พอจะมาเขียนเป็นหมวดเป็นหมู่ทีไร ให้หนักใจทุกที ช่วยเล่าต่อนะคะ

ว้าว ข้อมุลเจ๋งมากๆ เลยค่ะคุณหมออิสาน

เท่าที่สังเกตพบ เหล่าพี่น้องอสม. หลายๆ พื้นที่เรา ไม่ค่อยสันทัด เรื่องงานเขียนเล่า

การลงพื้นที่เยี่ยมในแต่ละครั้ง ก็จะผ่านจบ เลยไป บางครั้งอาจจะจำอะไรได้ไม่หมด

ส่งกำลังใจ เชื่อมั่น ศรัทธา เดินหน้าเต็มกำลังใจ แม้ห่างหาย แต่เสมอ เช่นเคย :)

มาเยี่ยมอ่านรายงานดีๆมีประโยชน์มากค่ะ

 

สุขสบายดีหรือเปล่าค่ะคุณหมอ  มาให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ สงสารผู้ป่วย เห็นใจคุณแม่ เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจ ชื่นชมทีมค่ะ เป็นกำลังใจนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท