เยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อทองใบ ภู่เกตุ (ตอน๒)


ก่อนที่เราจะนำเข้าสู่บทเรียน คุณลุงทองใบ ได้ต้อนรับทีมงานเราด้วยให้ลองดื่มชาหญ้าหยาดน้ำค้างอีกคุณแก้วด้วยครับ
เยี่ยมปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อทองใบ ภู่เกตุ ตอน๒นี้จะขอเล่าต่อจากตอน๑นะครับ ที่ทีมงาน(Km Team) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งในด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าว พร้อมกับได้ถอดบทเรียนของปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งถูกคัดเลือกเป็นเกษตรกรสาขาทำนาดีเด่นระดับอำเภอของอำเภอขาณุวรลักษบุรีในปีนี้นั่นเองครับ ก่อนที่เราจะนำเข้าสู่บทเรียน คุณลุงทองใบ ได้ต้อนรับทีมงานเราด้วยให้ลองดื่มชาหญ้าหยาดน้ำค้างอีกคุณแก้วด้วยครับ
 

 

            ชาหญ้าหยาดน้ำค้าง

 

 
             จากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับคุณลุงทองใบ ภู่เกตุ ตอนนี้การดำรงชีวิตโดยยึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการควบคุมรายจ่ายในการลงทุนด้านการเกษตร(ทำนา) ไม่ให้มีต้นทุนที่สูงเกินไป ไม่ก่อหนี้สิน ผลิตกิจกรรมทดแทนสารเคมีที่ทำได้เอง เช่นผลิตฮอร์โมนจากวัสดุเหลือใช้และที่หาได้ในชุมชน การผลิตสารสกัดจากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในแปลงของตนเอง อีกทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมในแปลงนาของเราได้ด้วย ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งสภาพแวดล้อมของชุมชนก็ต้องดีขึ้นด้วย เท่าที่ทราบ ในชุมชนบ้านโพธิ์ศรีนี้ มีลักษณะรวมกลุ่มกันทำ โดยการนำของผู้ใหญ่จำนง กิจการ ก็เป็นผู้ริเริ่มและเป็นปราชญ์ชาวบ้านสาขาทำนาคนหนึ่งที่มีผลงานระดับอำเภอของอำเภอขาณุวรลักษบุรี เมื่อ ๒-๓ ปีที่แล้วผมและทีมงานยังไปเยี่ยมอยู่เลยครับ

 

                ผักบุ้งพื้นบ้าน

 

            สระเก็บน้ำในไร่นาที่มีทั้งผักบุ้งและปลา

 

          จากการสังเกตในครอบครัวของคุณลุงทองใบ มักจะหาพืชอาหารที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เช่นผักบุ้งพื้นบ้าน ปลาทีมีอยู่ตามสระเก็บน้ำในไร่นา หรือ ร่องน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่นนั่นเอง คุณลุงทองใบและผู้ใหญ่จำนง ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า อาหารที่หาได้ในชุมชนล้วนปลอดภัยจากสารพิษอีกด้วย และที่สำคัญ ที่มองเป็นการทำมะม่วงแผ่น หรือชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า ส้มแผ่น นั่นเอง ทำมาจากผลมะม่วงที่สุกแล้วมีต้นอยู่ในสวนหลังบ้าน หรือที่เกษตรกรปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา เมื่อผลมันสุกแล้ว ขายไม่ได้ นอกจากจะนำไปแบ่งปันให้เพื่อบ้านได้กิน ในส่วนที่เหลือก็นำมาทำเป็นส้มแผ่นนั่นเองครับ  ในชุมชนบ้านโพธิ์ศรี ผมและคุณสิงห์ป่าสัก ลงไปเยี่ยมทีมงานที่ปฎิบัติงานอยู่ในพื้นที่ชุมชน พร้อมกับเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งสาขาทำนาคือท่านผู้ใหญ่จำนงค์ กิจการนั่นเองที่ลงมือรวมกลุ่มฯพร้อมปฏิบัติจริง ลงมือทำ โปรดคลิกไปที่http://www.gotoknow.org/blogs/posts/288940

 

 

                  ตากส้มแผ่น(มะม่วงแผ่น)

 

 

 

            แมลงที่มาจับที่ส้มแผ่น ที่ตากแดดในบริเวณบ้านของคุณลุงทองใบนั้น ไม่ใช่แมลงวันนะครับ มันเป็นแมลงที่มีประโยชน์คือผึ้งป่านั่นเอง มันมาขอดูดน้ำหวานจากส้มแผ่น แต่ที่สังเกตเข้าใกล้ๆ ทำไมผึ้งเขาก็อยู่เป็นคู่ๆต่อส้มแผ่น ๑ แผ่น นับว่า เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งสภาพป่าในชุมชน หรือสภาพป่าที่อยู่ใกล้ชุมชนคงไม่มีพืชที่ให้ทั้งน้ำหวานและเกสรอยู่ในช่วงนี้  ผึ้งป่าจึงมาดูดกินน้ำหวานจากส้มแผ่นของคุณลุงครับ
 

 

 
           สิ่งที่ผมสังเกตเห็นชัดๆอีกอย่างหนึ่งก็คือ โอ่งใหญ่ไว้เก็บน้ำฝนไว้ดื่มตลอดทั้งปี ยังมีอยู่สำหรับดื่มกินของครอบครัวคุณลุงทองใบ นอกจากนั้นยังเห็นสุ่มที่ใช้สำหรับจับปลา   และยังมีเตาเผาถ่านที่สำหรับเผาเศษไม้เพื่อทำถ่านไว้ใช้ในครัวเรือน พร้อมได้น้ำส้มควันไม้ไว้ใช้ฉีดพ่นศัตรูพืชอีกด้วยครับ นี่ล้วนแต่เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนท้องถิ่น เขามีความรู้เชิงประสบการณ์ค่อนข้างมากนะครับ น่าชื่นชมยกย่อง ณ.ปัจจุปันเท่าที่ผมได้สัมผัสทั้งสังคมในเมือง กับสังคมในชนบท ค่อนข้างจะห่างกันไปทุกขณะ ณ.ยุกต์ของการแข่งขันทางการค้า ต้องตามดูกันต่อไปว่าสังคมไทยในภาคเกษตรกรจะเป็นอย่างไร

 

 

 

         ข้อสรุปในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ เรามาถอดบทเรียนด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าวของคุณลุงทองใบ ทำได้อย่างไร ในขณะเดียวกันในชุมชนยังอาศัยปราชญ์ชาวบ้านช่วยในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มอาชีพทางการเกษตร โดยเกิดการไหลขององค์ความรู้เชิงประสบการณ์ ไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆทั้งในและนอกชุมชน ทั้งนี้ผลของการปฏิบัติจริงของปราชญ์ชาวบ้านที่ได้ผลและเห็นผล จึงจะเกิดการยอมรับ ในขณะเดียวกัน เราที่นักส่งเสริมการเกษตร ที่อยู่ในระดับจังหวัด ต้องลงไปให้กำลังบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่และชุมชน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมที่เรียกว่า Team Learning นั่นเองคือ ได้ทั้งการทำงานและบรรยากาศในการทำงานครับ

 
 
เขียวมรกต
๕ พค.๕๕
หมายเลขบันทึก: 487129เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 - ปราชญ์ชาวบ้าน...เป็นบุคคลที่น่าศึกษาถึง ความคิด...องค์ความรู้...แหล่งความรู้ในตัวที่ ท่านๆเหล่านั้นมี - ขอบคุณท่านค่ะ...ที่ช่นชอบ ... จงใจลืม...นะค่ะ

  • ขอบคุณท่านดร.สมศรี
  • ที่แวะมาทักทายและลปรร.
  • ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท