"ลงทุนสอนเกินไปมั๊ยชลัญธร "


การสอนนักศึกษานั้นตัวอย่างบางตัวอย่างหาจากคนไข้ค่อนข้างยาก เวลาสอนนักศึกษา แล้วชลัญมักสอนจาก case จริง  เช่นการฟังเสียงหัวใจที่ผิดปกติ  เสียงหายใจผิดปกติ   sing ต่างๆ ที่   เฉพาะโรค เช่น Koplick'spot  ที่พบในผู้ป่วยหัด tourniquet test positive  ในผู้ป่วยไข้เลือดออก  หรือ  เสียง Crepitation จากการฟังปอด ในผู้ป่วย  ปอดบวม  แต่ในบางโรคนี่หาไม่ได้ง่าย ใน โรงพยาบาลชุมชน  เช่นผู้ป่วย Case Neuro ( โรคระบบประสาท ) แต่เราอยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้  จะได้ผ่านหูผ่านตาบ้าง ซึ่งในตัวของชลัญนั้น สามารถตรวจ sign พวกนี้ได้  เช่น  bradykinesia  ( ภาวะเคลื่อนไหวช้า )  Resting tremor ( ภาวะสั่นขณะพัก )  Rigidity (สภาพร่างกายที่แข็งเกร็ง )  แต่จะให้น้อง นศ.พบ.เห็นชลัญต้อง off ยา ซึ่งชลัญมักใช้มุกนี้   ให้น้องๆได้หัดตรวจร่างกาย เพื่อดู neuro  sign  การเรียนทางการแพทย์พยาบาลนี่  มันจะต่างจากวิชาชีพอื่น  คือ มันต้องได้เรียนรู้ได้เห็น  แล้วจะจำได้ตลอดชีวิต    เรียกว่า 10 ท่องจำไม่เท่า 1 ตาเห็น  10 ตาเห็น  ไม่เท่ามือคลำว่างั้นเถอะ  นี่เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ชลัญสอนนักศึกษา  ซึ่งตอนเข้ามาฝึกใหม่ๆ  นศ.มักไม่รู้ว่า พี่เลี้ยงเป็นพาร์กินสัน  จนกระทั่งไดตรวจร่างกายพี่เลี้ยงนี่แหล่ะ  ซึ่งชลัญว่ามันก็ดี ได้ใจ นศ.ด้วย เขาจะรู้สึกอยากเรียนรู้มากขึ้น  และตั้งใจฝึกปฏิบัติ เพราะเห็นพี่เลี้ยงลงทุนขนาดนี้  ทุกครั้งที่สอนชลัญมักจะ off ยาเย็น จากกิน 16.00 น. อาจเลื่อนไปเป็น 17.00 น. ทุกครั้งหลังจากสอนเสร็จชลัญ ต้องนอนพัก ประมาณ 2 ชม. เพื่อให้อาการดีขึ้นก่อน จะกลับบ้าน แต่บางครั้งคุณสามีสุดที่รักก็จะเอารถเข็ญ มารับไปขึ้นรถ  ซึ่งเขาเองก็เคยถามชลัญว่า “ลงทุนสอนเกินไปมั๊ยชลัญธร” ถ้าจะว่าเกินไปมั๊ยมันคงเกินคนปกติ  แต่ชลัญคิดว่าร่างกายเราถ้าจะเป็นวิทยาทานนั้น จะต้องรอให้เสียชีวิตก่อนอย่างนั้นหรือ ในเมื่อเราสามารถที่จะ ใช้ร่างกายเราเป็นวิทยาทานได้ทุกขณะ  ชลัญคิดว่าจะเป็นกุศลมากกว่า   เมื่อนศ.ได้เรียนรู้ก็จะทำให้เขามีประสบการณ์มากขึ้น  ส่งผลให้การทำงานได้ดีขึ้นต่อไป ดั่งที่เคยเขียนไว้เป็นกลอน ถึงแม้ภาษา อาจจะไม่ไพเราะแต่ก็มาจากความรู้สึกจริงๆ

แม้เจ็บป่วยเพียงใดใจยังหวัง   เป็นพลังต่อเติมเพิ่มสิ่งฝัน

คงได้พบสิ่งหวังคงสักวันถึงแม้ฉันหกล้มบ้างยังฝืนทน 

จะต่อเติมภาพฝันอันบริสุทธิ์จะไม่หยุดแม้หนทางยังสับสน

จะช่วยเหลือ ชาวประชาที่อับจนอุทิศตนตอบแทนค่าแผ่นดินเอย....

 

               

หมายเลขบันทึก: 487045เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอชื่นชมการทำงานด้วยใจจริง ๆ จ้ะ
  • กุศลแห่งวิทยาทาน จะช่วยให้คุณชลัญธรทุเลาเบาบางจากการเจ็บป่วยนะ
  • เป็นกำลังใจให้จ้ะ

คนบ้า(น)เดียวกัน....เอาโลด

ขอแถม.....เวลาสั่นจากพาร์กินสัน... ก็ "ย้ายจิต" จากลมหายใจ มาที่จุดสั่นสิ.....ง่ายที่สุดคือเพ่งจิตไป่ที่จุดสั้น พร้อมบริกรรมว่า "สั่นหนอ ๆ ๆ " พร้อมมีสติผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วสรรพางคกาย...รับรองว่าอาการสั่นทุเลาแน่นอน ของพวกนี้มันกลัว สติ เสมอ ....เวลาผมง่วงมากๆๆ ผมกำหนดรู้ อาการง่วงก็หายไป ....เวลาเจ็บมากๆ จากหมอฟัน ก็กำหนดการเจ็บเป็นอารมณ์ .ความเจ็บมันก็มอดไป มากน้อยแล้วแต่ความเข้มของสติ

โชคดีครับ ..หายแน่ๆ ...เพี้ยงงงงง

สอนจากของจริงจำจริง

แต่พี่บางคนน้องกลัวจนพูดไม่ออก

การเรียนจากผู้ป่วยจริง ช่วยให้จดจำเพราะได้ เพราะมีทั้งภาพ เสียง กลิ่น สัมผัสเลยค่ะ แม้ตอนนี้มีเทคโนโลยีการสอน เป็นวีดีโอ ก็ไม่เทียบเท่า

เทคนิคการ off ยา parkinson ในกรณีนี้ เจ้าตัวเต็มใจเป็นวิทยาทาน และยามีฤทธิ์เพียงกด sign ชั่วขณะหนึ่ง จึงไม่น่ามีปัญหาจริยธรรม นับว่าเลือกได้พอเหมาะพอเจาะค่ะ

ปล. บางโรค ก็ไม่เคยเห็นผู้ป่วยเป็นๆ สักที เช่น โรคเรื้อน (leprosy) ยังไม่แน่ใจว่า ถ้าเจอจริงๆ จะจำได้ไหม :)

ขอบคุณ Ico48Ico48Ico48Ico48Ico48Ico48 ที่ให้กำลังใจ  ความคิดอาจจะจัดไปนิด แต่สำหรับชลัญธร แล้ว  ถือว่าเป็นทานอันยิ่งใหญ่ สมัยที่เราเป็นนักศึกษา  ไม่เคยมีพี่เลี้ยงทุ่มเทให้มีแต่จะกินหัว เรา จึงเอาปมด้อยที่เราเคยได้รับมาปรับให้ นศ. จะได้ไม่มีใครมาพูดได้ว่า "เป็นพยาบาลไม่ต้องใช้สมอง รอ order แพทย์อย่างเดียว" คำพูดนี้เจ็บในใจนัก

ขอบคุณหมอ ป.ค่ะที่ให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท