เรียนรู้ 2 เรื่อง 1. ได้รับเชิญไปบรรยายวันนี้ที่คณะพยาบาลศาสตร์ และ 2. แก้ปัญหาโครงการวิจัย


"บูรณาการของการบริการ การสอน การวิจัย"

วันนี้มีเรื่องมาเล่า 2 เรื่องครับ

เรื่องแรก พึ่งเสร็จไปสดๆร้อนๆประมาณไม่ถึง 15 นาที วันนี้ผมนัดทีมวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยไปแล้วแต่มีปัญหาในการดำเนินการ ทั้งที่เคยนัดประชุมเพื่อแก้ไขร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เชิญมาร่วมโครงการอีกด้วย หลังคุยไปก็คิดว่าจะดีดำเนินการต่อได้แล้ว แต่การดำเนินการแก้ไขจากผู้วิจัยก็ยังล่าช้า ทีมนี้มีปัญหาที่ได้ผู้ป่วยน้อยกว่าที่คาดไว้อีกทั้งผู้วิจัยบางท่านยังรู้สึกว่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางเบื้องบน..... และขณะนี้คิดที่จะเลิกทำงานวิจัย

ผมคิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมากได้ประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานด้วย (ขออนุญาตยังไม่บอกรายละเอียดของโครงการวิจัยนะครับ) ผมเปิดประเด็นด้วยการถามว่ารู้สึกอย่างไรกับโครงการวิจัยนี้เพื่อประเมินว่าพอมีแนวทางแก้ไขได้อย่างไรก็พบว่าจริงๆแล้วคนทำงานวิจัยรู้สึกซาบซึ้งกับสิ่งที่ตนเองทำให้คนไข้อย่างมาก รู้สึกว่าตัวเองได้ทำความดีอยู่ ผมเลยเสริมให้มองเห็นความดีที่ตนทำอยู่และทำดีอย่างเดียวไม่พอ คงต้องนำการทำดีนั้นแสดงให้เห็นผลด้วยและควรเผยแพร่ให้ที่อื่นรับทราบเพื่อเป็นแนวทางด้วย ผลก็คือลูกทีมอีกคนยินดีจะรับหน้าที่แทนหัวหน้าเขียนปรับโครงการจาก Quantitative ไปเป็น Qualitative research โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์คณะพยาบาลและทาง R2R จะช่วยเหลือทางด้าน technical ครับ ผมก็เลยขอนัดติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกสัปดาห์ ผมสรุปปัญหาได้เป็น 2 ประเด็น 1. การบริหารจัดการของทีมวิจัย 2. ความรู้ทางด้านงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีอยู่จำกัด map เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไปครับ เสร็จจากงาน R2R นี้ผมว่าผมไปทำงานเป็นเจ้าพนักงานเจรจา หรือไปเป็นพนักงานประนอมหนี้ได้เลยครับ

 เรื่องที่สอง จริงๆเกิดก่อนเรื่องแรกครับ บ่ายวันนี้ทางคณะพยาบาลศาสตร์เชิญผมไปเล่าเรื่องของ R2R ในโรงพยาบาลศิริราชให้อาจารย์และผู้ที่สนใจฟัง ร่วมกับรศ.ดร.ศิริอร และ อ.ดร.ฉวีวรรณ เล่าให้ฟังนิดนึงก่อนครับว่าผมรู้จัก อ.ศิริอร จากการที่เชิญอาจารย์มาให้ความรู้ Qualitative research และจากนั้นผมก็ได้มีโอกาสทราบว่ามีอาจารย์แพทย์ที่มี demand อยากได้ผลงานวิจัยที่อาจต้องใช้กระบวนการวิจัยแบบนี้เพื่อตอบปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ก็เลยเป็น match maker ระหว่างสองท่านนี้จนได้อาจารย์พยาบาลเข้าร่วมอีกถึง 3-4 ท่านและนักศึกษาปริญญาโททางพยาบาลอีก 4 ท่าน ร่วมกันทำงานวิจัยซึ่งแตกย่อยออกมาได้เป็น 4 โครงการ และกำลังดำเนินการเขียนโครงร่างงานวิจัยจวนจะแล้วเสร็จอยู่ถึง 2 โครงการ ส่วนอาจารย์ฉวีวรรณนั้นผมได้มีโอกาสร่วมงานกับท่าน โดยท่านเข้าร่วมอยู่ใน care team ของภาควิชาสูติ และได้ช่วยทีมพัฒนางานวิจัย R2R ถึง 3 โครงการซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก R2R แล้วทั้งสิ้น ขณะนี้เสร็จแล้ว 1 โครงการด้วยครับ จากการบรรยาย สลับกับพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ผมได้ข้อคิดหลายประเด็นดังนี้

  1. งานวิจัยสามารถทำเป็นแบบบูรณาการได้ โดยรวมทั้งบริการ การสอน วิจัย เข้าด้วยกัน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วจากอ.ศิริอร ทำให้คณะพยาบาล ม.วลัยลักษณ์ (อ.เคยเป็นคณบดีครับ)ได้รับทุนวิจัยมากกว่าที่อื่น
  2. การวิจัยในส่วนของคณะฯที่มุ่งเน้นการสอนเป็นหลัก น่าจะทำเป็นงานวิจัยในลักษณะการสร้างสมรรถนะของบุคคลากรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานที่นักเรียนต้องไปทำงานมากกว่าจะเป็นเพียงแค่การวิจัยด้านการเรียนการสอนเท่านั้นซึ่งงานวิจัยแบบนั้นควรจะเป็นของคณะทางคุรุศาสตร์มากกว่า
  3. นักวิจัย กับคณะฯที่สังกัดมีการสร้าง Brand ร่วมกัน โดยตอนต้นนักวิจัยใหม่ๆคงต้องอาศัย Brand ของคณะฯเพื่อทำงานและให้ได้ทุนสนับสนุนงานวิจัยและในขณะเดียวกันนักวิจัยก็จะได้รับ Brand ด้วยจากการทำงานวิจัยนั้นๆ
  4. Grant hunter ที่ได้ผลสำเร็จนั้น มีอยู่ approach นึงซึ่งมีหลักฐานว่าได้ผลดี คือเริ่มจากศึกษาหา user ที่จะนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้และดูว่าแหล่งทุนใดจะสนับสนุน ซึ่งแหล่งทุนกับ user นั้นอาจเป็นหน่วยงานเดียวกัน
  5. คณะแพทย์และคณะพยาบาลควรต้องทำงานร่วมกันเสริมในส่วนที่ขาดซึ่งกันและกัน ขณะนี้ R2R เริ่มขุดอุโมงค์ไปแล้วบางส่วนครับ ผมคิดว่า key success factor ของการทำงานวิจัยร่วมกันคือ 'กัลยณมิตร' ครับ ต้องมีทั้งให้และรับทั้งสองฝ่าย ฝ่ายคณะพยาบาลมีความรู้ทางด้านวิจัยด้านพยาบาลขณะที่คณะแพทย์มี resource อยู่อย่างมหาศาลหากร่วมงานกันได้จะติดจรวดให้งานวิจัยไม่เฉพาะ R2R นะครับแต่งานวิจัยอื่นๆด้วย ต้องสลับกันให้และรับ รวมทั้งการแบ่งผลงานด้วยครับ 
  6. อันนี้ผมเองจะนำไปหาแนวทางทำให้เป็นจริงครับ อาจารย์พยาบาลที่สอนนักศึกษาพยาบาลทางคลินิกเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่ในหอผู้ป่วย หากทำให้อาจารย์กลุ่มนี้มาร่วมใน Care team ได้ Care team ก็จะแข็งแรงขึ้นมากโดยเฉพาะในการประเมินปัญหาที่แท้จริงของหน่วยงานซึ่งจะนำไปสู่โครงการวิจัย R2R ได้
  7. อันนี้ผมเผอิญผมได้พูดคุยกัยอาจารย์ดร.เอมพร ซึ่งเป็น moderator ของวันนี้ครับเลยทราบความสนใจของอาจารย์ แล้วก็เผอิญอีกครับที่ผมทราบว่ามี care team อยู่ 2 ทีมที่ทำงานที่อาจารย์สนใจ ทีมR2Rจะทำการสืบข้อมูลและประสานงานต่อครับ ไม่แน่ว่าอาจเกิดความร่วมมือพัฒนางานวิจัยอีก 1-2 โครงการครับ

 

หมายเลขบันทึก: 48701เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณอาจารย์อัครินทร์มากเลยค่ะที่นำมาเล่าสู่กันฟัง  ทำให้เรียนรู้อะไรหลายอยู่จากบันทึกนี้ และ คงจากบันทึกต่อๆไป

เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะแพทย์และคณะพยาบาล  ที่มอ.ถามๆ พยาบาลที่รู้จัก เขาก็บอกว่า วิจัยยังมีอุปสรรคมาก ตนเองไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง  เลยไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่คิดว่า พยาบาลผู้สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง คงมีเรื่องให้หาคำตอบมากมาย

 

อ.อัครินทร์คะ...

บันทึกนี้กะปุ๋มอ่านมาสองวันแล้วคะ...อ่านทุกประโยค...เพราะได้เกร็ดความรู้ที่สามารถนำไปสานต่อและเป็นการ share ความรู้ที่เป็น "ความรู้ฝังลึก"...ของอาจารย์...ได้เยี่ยมเลยคะ...

...

ความร่วมมืออย่างเป็นกัลยาณมิตรระหว่างองค์กรแพทย์และพยาบาล...ย่อมนำประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย..เพราะโดยทั่วไปวัฒนธรรมการทำงานในสภาพจริงนี้มักดำเนินงานแบบแยกส่วน...แพทย์เป็นนายพยาบาลเป็นบ่าว...ตามบริบทของโรงพยาบาลในประเทศไทย...หากแต่เมื่อใดที่เราเกิดการทำงานเป็นทีมมากขึ้น...เชื่อเลยคะว่า...ความคุ้มค่าเกิดขึ้นแน่นอน...เพราะทีม..ต่างเชื่อในศักยภาพซึ่งกันและกัน...และไว้วางใจกันที่จะมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน...ต่อผู้ป่วย

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการทำ R2R ทางการแพทย์แบบบูรณาการค่ะ เพราะนอกจากเราจะได้ผลไปใช้กับคนไข้จริงๆแล้ว เรายังได้เรียนรู้การทำงานของคนต่างกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกัน คือแพทย์ พยาบาล และห้อง lab หรือแม้อาจจะขยายไปถึงบางงานที่ต้องรวมเรื่องของการใช้ยา การให้บริการอื่นๆ เพราะหากเราไม่จำกัดงาน R2R อยู่แต่เฉพาะในหน่วยงานบางหน่วยที่สามารถทำได้ง่าย (เช่นห้อง lab) จะทำให้เกิดการสร้างงานได้ง่ายขึ้นด้วยในทุกๆส่วน

คนที่เข้าใจกระบวนการวิจัย อาจจะต้องทำงานหนักหน่อย ในการช่วยแปลงปัญหาและวิธีการหาทางแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของงานลักษณะอื่นๆให้อยู่ในรูปของงานวิจัย (ฝันเฟื่องไปหรือเปล่าไม่ทราบค่ะ) แต่มองเห็นว่า พวกเรามีข้อมูลมากมาย ที่สามารถเอามาทำ retrospective study ได้ ให้เป็นคล้ายๆโครงการนำร่องให้คนอยากรู้เรื่องอื่นๆต่อไป แล้ว R2R แบบตั้งโจทย์วิจัยจากงานก็จะได้ค่อยๆเกิด เมื่อคนรู้จักหัดตั้งคำถามเอง 

ใช่แล้วคะ...พี่โอ๋...กะปุ๋มเห็นด้วยอย่างยิ่งคะ...สำหรับผู้ที่พอรู้เรื่องวิจัยบ้าง...อาจต้องทุ่มมากหน่อยในการขับเคลื่อน กะปุ๋มเชื่อว่า...พออีกคนได้เรียนรู้...ก็จะเกิดการถ่ายทอดเป็นทอดต่อเนื่องกันไป...

ในทีม R2R รพ.ยโสธร...ตอนนี้เรามีวิจัย 4 เรื่องทำเป็นทีมข้ามสายงาน มีพยาบาล เภสัชกร และกายภาพบำบัด...โดยปัญหาการวิจัยเรานำคนไข้เป็นตัวตั้งและค้นหากระบวนการแก้ปัญหานั้นด้วยการทำวิจัย...

...

จุดเริ่มแรก...หากเราเริ่มตั้งคำถามตนได้...กระบวนการอื่นๆ ก็จะตามมา...อย่างที่กะปุ๋มได้เรียนรู้จากของคุณศิริ...แห่งพยาธิ มอ. คะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท