มาอ่านหนังสือกันเถอะ


หนังสือที่น่าสนใจในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

หนังสือที่น่าสนใจในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล      

                    เนื่องจากข้าพเจ้าได้ลงเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลกับท่านรองศาสตราจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร  จึงได้หยิบหนังสือของอาจารย์พันธุ์ทิพย์ ที่ว่าด้วยคำอธิบาย กฎหมายสัญชาติไทย ภายใต้ พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งถูกแก้ไขโดยพ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2 และ  3 ) พ.ศ. 2535  โดยข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจดังนี้

1.      คำนำ  ซึ่งหากผู้อ่านได้อ่านคำนำแล้ว จะเห็นว่าผู้เขียนมุ่งหมายให้เข้าใจกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ว่าด้วยสัญชาติไทยในปัจจุบัน และเนื้อหาเพื่อเตรียมสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อสนับสนุนการผลักดันทางสังคมเพื่อตระหนักถึงปัญหาทางสังคม โดยจะให้ภาพรวมสำหรับปัญหาสัญชาติไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการได้มา , เสียไป , กลับคืน ของสัญชาติไทย จึงถือได้ว่าเป็นหนังสือเล่มนี้เป็นความรู้เบื้องต้นสำหรับนักกฎหมายและประชาชนทั่วไปที่สนใจเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติ รวมถึงผู้ที่จะต้องศึกษาตำราที่จะต้องมีความล้ำลึกซับซ้อนมากขึ้น2.      สารบาญ ผู้เขียนจะเริ่มถึงแนวความคิดว่าด้วยสัญชาติและกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ดังนี้1.      แนวความคิดว่าด้วยสัญชาติ

2.      บ่อเกิดของกฎหมายสัญชาติ

3.      ข้อเท็จจริงที่นานารัฐใช้ในการกำหนดให้สัญชาติของตน

4.      การประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสัญชาติให้เป็นลายลักษณ์อักษร

5.      วิวัฒนาการของแนวความคิดว่าด้วยการบัญญัติกฎหมายสัญชาติของรัฐ     

 การศึกษาโครงสร้างของกฎหมายสัญชาติทีมีผลในปัจจุบันโดยจะแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ      

 หมวดที่ 1   การได้สัญชาติไทย 

 หมวดที่ 2   การเสียสัญชาติไทย    

   หมวดที่ 3   การกลับคืนสัญชาติไทย3.      เนื้อหา  ผู้เขียนมุ่งให้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นอยู่ของกฎหมายสัญชาติอย่างกว้างๆ  เพื่อเป็นความรู้ทั่วไปที่ทุกคนอ่านและเข้าใจได้ง่ายจึงใช้ข้อความและภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย มีวิธีการยกตัวอย่างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  รวมทั้งยกตัวบทกฎหมายของต่างประเทศที่มีส่วนกับกฎหมายไทย มีข้อสังเกตที่ทำให้เราทราบถึงเหตุผลของผู้เขียนและการนำความคิดของนักกฎหมายไทยที่สำคัญมาประกอบในการอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ท่านอาจารย์หยุด แสงอุทัย เป็นต้น  นอกจากนี้มีการเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ เช่น บทความใหม่ๆ , ความเห็นอัยการ , คำพิพากษาศาลฎีกา 

4.      บรรณานุกรม   มีไว้ว่ามีหนังสือที่อ้างถึง , หรือพูดถึงเรื่องกฎหมายสัญชาติไทยมีอะไรบ้าง และเพื่อทำให้ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือที่ผู้เขียนได้นำมาประกอบการอธิบาย กฎหมายสัญชาติไทยมากขึ้น

5.      ภาคผนวกได้แก่       พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535       กฎกระทรวง (พ.ศ.2510)       ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 (พ.ศ. 2515)       พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535       พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2535        ประกาศกระทรวงมหาดไทย  

               สำหรับหนังสือเล่มนี้  ผู้เขียนได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 3 : พฤศจิกาย2544 เล่มเล็กกะทัดรัดและมีราคาพอเหมาะ   ซึ่งเห็นว่าหากผู้ที่สนใจจะศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่ว่าด้วยกฎหมายสัญชาติควรมีหนังสืออธิบาย กฎหมายสัญชาติไทย เล่มนี้ คู่กับรวมบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยและเอกสารสำคัญ ว่าด้วยคนต่างด้าวในประเทศไทย     ของท่านรองศาสตราจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เช่นกัน   โดยข้าพเจ้าเห็นว่าการเรียนกฎหมายที่ดีจะต้องมีตัวบทกฎหมายซึ่งเล่มนี้จะรวบรวมกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวไว้ถึง12 ฉบับ  อันเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่และความสามารถของคนต่างด้าวในประเทศไทยโดยเฉพาะเจาะจง และสามารถพกพาได้สะดวกเพราะมีขนาดเล็กกะทัดรัดอีกด้วย  ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นหนังสือที่ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้จากหนังสือเล่มเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่มากมาย           และน่าสนใจทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 48690เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท