ปลูกผักไม่ใช่ว่าได้แค่กินผัก แถมด้วยวิถีชีวิตและยังได้สร้างความมั่นคงทางอาหารให้อีกด้วย


สร้างความมั่นคงทางอาหารในบ้านคุณ ด้วยการปลูกผักกินเอง กิจกรรมดีๆ จากโครงการสวนผักคนเมือง

คุณบัณฑิต ปิยะศิลป์ กล่าวไว้ใน www.thaingo.org เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารไว้ว่า 

"อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ อาหารเป็นวิถีชีวิต เป็นวัฒนธรรม การเข้าถึงอาหารถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร คือสิทธิที่เราจะได้รับอาหารอย่างเพียงพอกับความจำเป็นในการดำรงชีวิต โดยอาหารนั้นควรมีคุณค่าทางโภชนาการ ต้องปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ และคนสามารถเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน"

ความมั่นคงทางอาหาร คือ การที่เราจะสามารถตัดสินใจในการจัดการและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และการที่เราจะมีความมั่นคงทางอาหารนั้น หมายความว่าหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดของประเทศ หรือ ครัวเรือนเกษตรกรในชนบทจะต้องมีความสามารถในการผลิตอาหารให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียง ผลผลิตส่วนเกินที่เหลือจึงขาย และเมื่อกล่าวถึงกระบวนการผลิตอาหาร นั่นต้องหมายถึง กระบวนการผลิตอาหาร การแปรรูป การหีบห่อที่ปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี และความมั่นคงทางอาหารในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเกษตรกรมีทรัพยากรการผลิต และมีสิทธิในการปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงครอบครัว การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ย่อมทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำนุบำรุงที่ดิน น้ำและรักษา ระบบนิเวศในไร่นาและป่าไม้ เพื่อให้พื้นที่นั้นสามารถนำมาใช้ผลิตอาหารและสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ด้วยกิจกรรมของมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนัก 6 สสส. ในชื่อที่ว่า "สวนผักคนเมือง" ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษสำหรับกลุ่มครัวเรือนหรือชุมชนที่มีความสนใจ เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค ซึ่งโครงการได้มี fb ที่มีเนื้อหาน่าสนใจไว้มากมาย ติดตามได้ใน cityfarm

ผู้ร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในชุมชนที่รวมตัวกัน 3-5 คน ก็สามารถขอรับทุนและเตรียมพร้อมที่จะมีผักสดๆ ปลอดสารไว้กินในบ้านได้เลย หากใครคิดว่าปลูกไม่เป็น เค้าก็มีหน่วยอบรมเคลื่อนที่และมีศูนย์อบรมให้ไปหาความรู้กันได้อีก

ล่าสุดมีกิจกรรมเติมพลังนัก (หัด) ปลูกผัก (ชื่อเก๋สุดๆ) เชิญผู้ร่วมโครงการและอยากร่วมโครงการ มาร่วมแลกเปลี่ยนกัน หาวิธีแก้ปัญหาที่แต่ละคนพบ เช่น โดนหอยกิน ผักไม่โต แมลงกวนใจมากมาย ในงานได้มีกิจกรรมให้คำแนะนำเรื่องการทำปุ๋ย การผลิตและใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันศัตรูพืช การพูดคุยแลกเปลี่ยนได้นำความรู้จากแปลงผักบ้านหนึ่งไปสู่แปลงผักอีกบ้านหนึ่ง

แม้ว่าอากาศร้อนๆ ของกลางเดือนเมษา ผู้มาร่วมงานก็ได้แบ่งปันรอยยิ้มของผุ้ที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ในการหากิจกรรมดีๆ ทำ ที่มีผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย

ที่น่าสนใจที่สุดคือผลพลอยได้จากโครงการ สมาชิกกลุ่มสวนผักคนเมือง ไม่ค่อยพูดถึง "ผัก" ที่ปลอดภัย และลดรายจ่ายในครัวเรือน เพราะเป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่าถ้าร่วมโครงการยังไงก็ได้ แต่เรื่องที่ได้รับการบอกเล่ากันในกลุ่มคนปลูกผักมักจะเป็นผลที่เป็นเรื่อง "แนว" มาก เช่น

"ใช้กิจกรรมสวนผักคนเมืองเป็นส่วนช่วยบำบัดจิตใจ ให้กับผู้ป่วยโรคจิตที่โรงพยาบาลอ่าวอุดม (ผักบำบัด)"

"สวนผักเป็นหนึ่งในกิจกรรมผักแลกขยะ ของกลุ่มชุมชนคนใต้สะพาน ที่เขตประเวศ"

"สวนผักช่วยให้คนในชุมชนได้รู้จักกัน นำวิถีความพึ่งพาอาศัยกลับมาสู่คนในสังคมเมือง"

"ปลูกผักไว้ข้างโรงงาน/บนดาดฟ้า(โรงแรม) คนงานก็ช่วยกันรดน้ำดูแล กลายเป็นกิจกรรม csr ของกิจการ และยังได้ "ใจ" จากพนักงาน ที่ได้ผักมาลดรายจ่ายค่าอาหารได้อีกด้วย"

"เตรียมปลูกผักลอยน้ำไว้รอ น้ำท่วมปีนี้"

ฯลฯ

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
โทร 02-5911195, 02-5911196, 02-9527871 
หมายเลขบันทึก: 485870เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2012 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โหผักอย่างงามอ่ะ น่าเก็บมากๆ เคยปลูกพริก กับมะเขือพวง ไว้สองต้น พอต้นเริ่มโต ใบกะลังงามเลย เจอมะเขือโดนเพลี้ย พริกก็มีแต่มด ยิไปหมด เห็นแล้วขนลุก ไม่อยากปลูกแล้ว ว่างๆจะหาผักอย่างอื่นมาปลูกแทน หวังว่าคงจะไม่มีมดแมลงมาแย่งกินอีกนะ

นั่นเป็นปัญหาที่กลุ่มคนปลูกผักในโครงการมาคุยกันค่ะ เดี๋ยวโอกาสหน้าจะโพสต์ ความรู้เรื่องปุ๋ย และสมุนไพรไล่แมลง ที่ได้จากเอกสารในงานให้เพิ่มเติมค่ะ

ผักงามดี ฝีมือคนเมือง คนบ้านๆเห็นแล้วอาย

ส่วนใหญ่สมาชิกที่ปลูกเป็นคนบ้านๆ มาอยุ่ในเมืองค่า คนเมืองแท้ๆ ไม่น่าจะเป็น

ปลูกให้นักเรียนกินเต็มเลย

ตามไปดูนะครับ

http://www.gotoknow.org/posts/564952

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท