หมออนามัย วัคซีนป้องกันโรคติดต่อ


หมออนามัย วัคซีนป้องกันโรคติดต่อ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

วัคซีน คือ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพซึ่งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับ (คนหรือสัตว์) ให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค สารพิษ หรือชีวะโมเลกุลก่อโรค ซึ่งมีผลในการป้องกันการเกิดโรคหรือทำให้ความรุนแรงของโรคนั้นลดลง วัคซีนประกอบด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่า แอนติเจน และสารประกอบอื่นๆได้แก่สารเสริมฤทธิ์ สารกันเสียและของเหลวสำหรับแขวงตะกอน สารเสริมฤทธิ์เป็นตัวช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น เช่นเกลืออลูมิเนียม ส่วนของเหลวแขวงตะกอนอาจเป็นน้ำ น้ำเกลือ

วัคซีน  คือเชื้อที่ทำให้หมอสภาพที่เป็นพิษต่อร่างกาย แล้วฉีดเข้าไป เพื่อให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันกับขึ้นมาครับ ไม่ใช่ยารักษาแต่อย่างใด

ภูมิคุ้มกัน หมายถึง สารบางอย่างที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อหรือป่วย แอนตอบอดี หมายถึง กลุ่มของโปรตีน ในน้ำเลือด/น้ำเหลือง ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่จำเพาะต่อมัน(เป็นภูมิคุ้มกันโรคชนิดหนึ่ง)

  1. วัคซีนบีซีจี คือ วัคซีนป้องกันวัณโรคหรือวัคซีนบีซีจี ประกอบด้วยเชื้อวัณโรคสายพันธ์พิเศษที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่สามารถทำให้เกิดโรค และมีความปลอด มีประสิทธิ์ภาพในการป้องกันวัณโรคได้  แต่ไม่สมบูรณ์ ใครควรได้รับวัคซีนบีซีจี และจะต้องให้กี่ครั้ง เด็กแรกเกิดทุกคนต้องได้รับวัคซีนบีซีจี ให้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นพอ ถึงแม้จะไม่มีแผลเป็นจากวัคซีนบีซีจีเกิดขึ้น ก็ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดซ้ำใหม่ ใครไม่ควรได้รับวัคซีนบีซีจี หรือควรเลื่อนการรับวัคซีนนี้ ถ้าหลังคลอดเด็กทารกยังมีปัญหาโรคอื่นๆอยู่ยังไม่ควรฉีดวัคซีนบีซีจีรอให้หายดี เมื่อกลับบ้านได้จึงให้วัคซีน อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนบีซีจี ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนบีซีจี จะเห็นเป็นรอยนูนแดงขนาดประมาณ 5-15 มิลลิเมตร ในตำแหน่งที่ฉีดจากนั้นจะเริ่มแตกออกเป็นแผล ต่อมาตรงกลางของรอยนูนแดงจะนุ่มลง ระยะนี้ใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 6-10 จะเป็นแผลเป็นแบนๆขนาด 3-7 มิลลิเมตร
  2. วัคซีนโปลิโอ คือ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดรับประทาน ทำมาจากไวรัสที่มีชีวิต ที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทานมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค หากได้รับครบถ้วนตามกำหนด
  3. วัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน คือ วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ทำจากพิษของเชื้อคอตีบ เด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 1 ปีครึ่งและ 4-6 ปี
  4. 4.                   วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน คือ วัคซีนที่ทำมาจากเชื้อที่มีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงและไม่สามารถก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกัน โดยผ่านขบวนการผลิตให้ได้วัคซีนที่มีความปลอดภัย ไม่มีเชื้อโรคชนิดอื่นผสมอยู่ วัคซีนนี้มีประสิทธิ์ภาพสูงในการป้องกันโรค หากได้รับครบถ้วนตามกำหนด

       หัด เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ทำให้มีไข้สูง ไอ ตาแดงมีผื่นขึ้น อาจมีภาวะแมรกซ้อนรุนแนง โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี

      คางทูม เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม ทำให้มีไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ อัณฑะอักเสบ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ

      หัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้มีไข้ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต อาการไม่รุนแรงและหายเองได้ การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกตายในครรภ์หรือพิการแต่กำเนิดได้

     เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีน และต้องให้ 2 ครั้ง โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ครั้งที่ 1 เมื่ออายุประมาณ 9-12 เดือนขึ้นไป ครั้งที่ 2 เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี

  1. 5.                   วัคซีน โรคไข้สมองอักเสบเจอี คือ วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดที่ใช้ทั่วไป เป็นวัคซีนทำจากเชื้อตาย โดยผลิตจากเชื้อที่สกัดจากเนื้อเยื่อสมองหนู วัคซีนนี้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิ์ภาพสูง เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค ไข้สมองอักเสบเจอี โดยแนะนำให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แก่เด็กตั้งแต่อายุ 1-1 1/2ปี โดยให้ฉีด รวม 3 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 1-4 สัปดาห์และ 1ปีรฉีดวัคซีนป้องกันโรค ไข้สมองอักเสบเจอี โดยแนะนำให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แก่เด็กตั้งแต่อายุ
  2. 6.                   วัคซีน  คอตีบ บาดทะยัก คือ ทำมาจากเชื้อและพิษของเชื้อที่ทำให้หมดความสามารถในการก่อโรค โดยผ่านขบวนการผลิตให้ได้เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย ไม่มีเชื้อโรคที่มีชีวิตผสมอยู่วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคหากได้รับครบถ้วนตามกำหนดและมีความปลอดภัยสูง เด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ทุกคน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

    6.1เด็กอายุยุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป หากไม่เคยรับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หรือวัคซีนบาดทะยักคอตีบ มาก่อนและรับไม่ครบ 3 ครั้งโดยมีระยะห่าง 0 , 1เดือนและ 6 เดือน หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำทุก 10 ปี

    6.2 เด็กทุกคนที่ได้รับวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครบ 5 ครั้ง ควรได้รับวัคซีนบาดทะยัก คอตีบ เมื่ออายุ 12-16 ปี จากนั้นกระตุ้นทุก 10 ปี

    6.3 คนทั่วไปทุกคนที่มีบาดแผลสกปรกที่อาจปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก หรือในหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนนี้ เว้นแต่จะได้รับครบถ้วนมาก่อนแล้ว

  1. 7.                   วัคซีน ไข้หวัดใหญ่  ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า เชื้อสามารถแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อไปยังผู้อื่นได้ทางการหายใจ ทำให้มีอาการทางระบบทางเดินหายใจและมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว โดยทั่วไปจะมีอาการอยู่ 2-3 วันแต่ในบางรายจะมีอาการรุนแรงและนานได้ และอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจากหายจะมีอาการอ่อนเพลีย มึนงงไปอีกหลายสัปดาห์ ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คนอายุ 65ปีขึ้นไปผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคหอบหืด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ เช่นมีปอดบวมหรือเสียชีวิตได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรง ได้แก่ ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กทุกคนที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อระบบประสาท ซึ่งมีปัญหาการหายใจหรือการกลืน ผู้ที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 18 ปี ที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นระยะเวลานาน  ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคปอด โรคหืด โรคไต โรคเบาหวาน โรคเลือด นอกจากนี้ยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่บุคคลที่สามารถแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลใกล้ชิดกับผู้ที่เสี่ยงกับการเป็นโรคไข้หวัดรุนแรง แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาล

ประเภทของวัคซีน

  1. วัคซีนป้องกันโรค วัคซีนที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน เป็นวัคซีนที่ป้องกันไม่ให้เกิดโรค โรคทั่วไปที่วัคซีนป้องกันได้ ได้แก่ อีสุกอีใส ตับอักเสบชนิด เอ และ บี ไข้หวัดใหญ่ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ
  2. วัคซีนรักษาโรค หลังจากมีการติดเชื้อแล้ว เพื่อลด หรือ ยับยั้งความรุนแรงของโรค ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทั้งหมด

ช่องทางการใช้วัคซีน

        1.การฉีด โดยการฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง เช่นวัณโรค (วัคซีน บี ซี จี)บาดทะยัก โปลิโอ

        2. การกิน โดยการหยดเข้าทางปาก เช่นโปลิโอ ไทฟอยด์

        3. การสูดดม เช่นไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่

ผลข้างเคียงการได้รับวัคซีน

การให้วัคซีน อาจมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ เช่นมีไข้ บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ฉีดคล้ายกับการฉีดยาอื่นๆ บางรายอาจมีอาการแพ้ เช่น เป็นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก(พบได้น้อย)

 อาการแพ้วัคซีน

ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการทั่วไป อาจบวมแดงบริเวณที่ฉีด ไข้ต่ำ ซึ่งอาจเช็ดตัวเพื่อลดอาการได้ ในรายที่ฉีดวัคซีน บี ซี จี มักพบตุ่มหนองบริเวณที่ฉีด ประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการนี้เป็นอาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ตุ่มนี้จะแตกและแห้งกลายเป็นแผลเป็น ในราวสัปดาห์3-4 เด็กที่ได้รับวัคซีน บี ซี จี แล้วไมพบแผลเป็น จะต้องรับการฉีดกระตุ้นซ้ำ อาการที่แพ้รุนแรง มีผื่นขึ้นทั่วตัว มีไข้สูง ชัก ควรรายงานให้หน่วยงานที่ได้รับวัคซีนทราบเพื่อบันทึกในประวัติเด็กว่าแพ้วัคซีนนั้น  การแพ้อาจเกิดขึ้นจากสารประกอบในวัคซีน เช่นยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน ซึ่งมักมีอยู่ในวัคซีนMMRหรือแพ้สารในไข่ซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัคซีนไข่หวัดใหญ่

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังในการให้วัคซีน

ไม่ควรให้วัคซีนในขณะเด็กไม่สบาย เช่นมีไข้สูง เด็กมีประวัติแพ้วัคซีนนั้น ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็น เช่นวัคซีน บีซีจี โปลิโอ MMR แก่เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรืออยู่ใกล้ชิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นโรค เอดส์ หรือเด็กที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันในขนาดสูงและนาน เด็กที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก แล้วมีไข้สูง ชัก ผู้ปกครองต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป อาจให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หรือวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ชนิดทอกซอยด์  

 คำแนะนำทั่วไปในการรับวัคซีน

  1. ผู้ปกครองควรทราบว่า บุตรหลานของท่าจะได้รับวัคซีนอะไรบ้าง ในแต่ละช่วงอายุโดยศึกษาจากตารางการให้วัคซีนในสมุดสุขภาพ
    1. วัคซีนหลายชนิดสามารถให้พร้อมกันได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก
    2. วัคซีนบางชนิดต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง และต้องฉีดกระตุ้นอีกเป็นครั้งคราวจึงจะได้ผลในการป้องกันเต็มที่ จึงควรพาเด็กมาตามนัดทุกครั้ง
      1. ถ้าเด็กมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆในวันนัดผู้ปกครองสามารถพาเด็กมารับวัคซีนตามนัดได้
      2. ในกรณี ที่ไม่สมารถตามนัดได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ให้รับวัคซีนต่อไปได้เลยจนครบ ตามที่กำหนด
      3. ถ้าเด็กเคยมีอาการผิดปกติหลังการฉีดวัคซีนครั้งก่อนๆ เช่น ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนฉีดทุกครั้ง

 

คำสำคัญ (Tags): #วัคซีน
หมายเลขบันทึก: 485864เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2012 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท