หนอนกระทู้คอรวงหรือหนอนควายพระอินทร์ ก็เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ


เนื่องด้วยจะออกมาทำลายในตอนกลางคืนพอตื่นเช้าขึ้นมาก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแล้วเกษตรกรจึงต่างพากันเรียกว่า "หนอนกระทู้ควายพระอินทร์"

นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่กำลังระบาดสร้างความเสียหายชาวไร่ชาวนาอย่างหนัก จนมีความต้องการใช้เชื้อรา บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า (Beauveria bassiasna) ที่ภาครัฐส่งเสริมนำมาแจกและสอนให้เกษตรเพาะเลี้ยงกับข้าวโพดหรือเมล็ดธัญพืชอื่นๆ มีชาวบ้านบางพื้นที่เรียก ราขาว บางพื้นที่เรียกราข้าวโพดเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเนื่องด้วยปริมาณการระบาดมีจำนวนมหาศาล ปัจจุบันจุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ใช้เทคโนโลยีการเก็บในรูปผงสปอร์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน “ทริปโตฝาจ” ซึ่งง่ายต่อการนำไปฉีดพ่นและมีราคาประหยัดจำหน่ายให้พี่น้องเกษตรกรและสมาชิกในราคาซองละ 150 บาทฉีดพ่นได้ประมาณ 5 ไร่ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับด้วยเช่นกัน แต่นอกจากเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว ชาวนายังมีปัญหาในเรื่องหนอนที่คอยรบกวนกัดกินคอรวงใบข้าว โดยเฉพาะในช่วงข้าวมีอายุ 85-90 วันนั้นจะมีหนอนกระทู้คอรวงที่คอยทำลายกัดกินอีกด้วย

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดบริเวณคอรวงและทำลายใบข้าว มีลักษณะความเสียหายคล้ายๆกับถูกวัวควายที่ปล่อยเลี้ยงไว้ตามชายทุ่งลงมากัดกินแทะเล็ม แต่เนื่องด้วยจะออกมาทำลายในตอนกลางคืนพอตื่นเช้าขึ้นมาก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแล้วเกษตรกรจึงต่างพากันเรียกว่า “หนอนกระทู้ควายพระอินทร์” ที่ลักลอบหนีออกมาตอนกลางคืน (ผู้เขียน) มักทำลายคอรวงในระยะข้าวออกรวง สามารถทำลายรวงข้าวได้มากถึง 80 % ลักษณะการทำลายคล้ายคลึงกับหนอนกระทู้ข้าวกล้า แต่ทำลายคอรวงข้าว มักจะระบาดมากตอนฝนตกหนักจนน้ำท่วม หนอนจะกัดกินคอรวงที่กำลังจะสุก และอาจกัดกินใบตอนล่างของต้นข้าว หนอนชอบกัดกินระแง้ข้าวหรือกัดตรงคอรวง ทำให้รวงขาดห้อยหรือตกดิน หนอนชอบออกหากินตอนกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ มักระบาดพร้อมกันหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดในระยะเวลาเดียวกัน หนอนจะกัดกินรวงข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้จึงจะหยุด (โกวิท โกวิทวที และทนงจิตร วงษ์ศิริ, 2526)

ตัวหนอนรูปร่างค่อนข้างอ้วน มีความยาวประมาณ 35-40 มม. มีสีเขียวปนน้ำตาลอ่อนหรือม่วง และมีลายสีจางพาดตามความยาวของลำตัว ตัวเต็มวัยเมื่อกางปีกออกกว้างประมาณ 45-50 มม. ผีเสื้ออาจวางไข่ได้มากถึง 700 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 50 ฟองที่กาบใบกับลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน อายุไข่ประมาณ 6-8 วัน หนอน 25-30 วัน ดักแด้ 10-12 วันและตัวเต็มวัยมีอายุ 10-15 วัน เมื่อหนอนฟักออกใหม่ๆจะกัดกินใบหญ้าอ่อนๆก่อน จนกระทั่งอายุประมาณ 15 วันจึงเริ่มกัดกินคอรวง เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอยแตกระแหงในดิน (วีรวุฒิ กตัญญูกุล และประกอบ เลื่อมแสง, 2527)

การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ สามารถกระทำได้ง่ายไร้สารพิษโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดหนอน “บีทีชีวภาพ” วิธีการใช้แบบประหยัดด้วยการนำไปหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน นำมะพร้าวอ่อนเฉาะฝาแง้มเปิดฝาหยอดเชื้อบีทีลงไป 1 ช้อนชา(ประมาณ 5 กรัม) ปิดฝากลับไว้เหมือนเดิมหมักทิ้งไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทประมาณ 24-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปเทใส่น้ำปริมาณ 20 ลิตรหรือ 1 ปิ๊ปที่เตรียมไว้กวนให้เข้ากันแล้วนำไปฉีดพ่นในช่วงเย็นแดดอ่อนทุก 3 หรือ 7 วัน หนอนจะเลียกินเชื้อที่ฉีดพ่นในตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าเริ่มป่วยหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว วันที่สองท้องเริ่มจะเห็นสีดำ วันที่ 3 ก็จะตาย ถ้ามีพื้นที่ไม่มากและมีเวลาจำกัดไม่สะดวกที่จะทำการหมักขยาย สามารถใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดหนอนในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทันทีในระยะเวลาเดียวกัน

มนตรี บุญจรัส ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 484867เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2012 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท