cqi : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome(ACS)ในระบบ Fast Tract


       

         เรื่องเล่าในงานประกวด cqi อีกเรื่องที่น่าสนใจ ของกลุ่มการพยาบาล งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  คือการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Acute Coronary Syndrome(ACS)ในระบบ Fast  Tract

  

         วัตถุประสงค์

•ผู้ป่วยได้รับการประเมิน วินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว
•ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมก่อนส่งต่อ
•ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมในระหว่างการส่งต่อ
 
         ปัญหา ที่พบคือ
 
•การวินิจฉัยล่าช้า
•แนวทางในการดูแลไม่ชัดเจน
•ขาดการเฝ้าระวังอาการที่ดี
 
       ปัญหาอุปสรรค/โอกาสพัฒนา
 
1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI) จัดเป็นโรคที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของโรคฉุกเฉินในตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน
 
2. CPG ยังไม่มีเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ป่วย MIที่ชัดเจน
 
3.โรคที่เกินขีดความสามารถในการรักษาของโรงพยาบาล ระดับชุมชน

4. ยังไม่มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยขณะ Refer

5. ยังไม่มีช่องทางในการส่งต่อที่รวดเร็วในผู้ป่วย MI

       

          การพัฒนา

•ทบทวนการเสียชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
 
•ปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรค Acute  Coronary  Syndrome เช่น การตรวจTrop-T, EKG
 
•พัฒนาบุคลากร

      - อบรมบุคลากรเพิ่มความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย และอ่านผล EKG

     - ทบทวนทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

 

ปรับปรุงระบบ

          - ทบทวนระบบการส่งต่อผู้ป่วย / การดูแลระหว่างส่งต่อโดย     ระบบ Fast  Tract

        - กำหนดให้มีการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อ AMI ในกลุ่ม  DM , HT, Heart

       - จัดช่องทางให้ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกหรือภาวะเสี่ยงต่อการเกิด AMI ได้รับการตรวจรักษาเร่งด่วน

                        รอบที่ 2    

1. Chest pain check list

            เกณฑ์การทำ EKG Screening

           1.1 Cardiac  Chest  pain 

           1.2 Non Cardiac  Chest  pain

Cardiac  Chest  pain

     เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน แน่นเหมือนโดนกดทับ

     เจ็บหน้าอกด้านซ้าย หรือEpigastriumร้าวไปคาง คอ ไหล่

     เจ็บนาน 20-30 นาที เหงื่อแตก ตัวเย็น

     อาการดีขึ้นถ้าอยู่เฉยๆ    เจ็บมากขึ้นขณะออกแรง

     เคยมีประวัติอมยาแล้วดีขึ้น 

     ประวัติโรค DM , HT ,  ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่

     ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ,หลอดเลือดสมอง

 

Non Cardiac  Chest  pain

 

    แน่นลิ้นปี่ แสบร้อน กิน-หิวแล้วแน่น  => GI cause

    ไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอกขณะหายใจ => โรคปอดบวม

    เจ็บอกบอกตำแหน่งชัด กดเจ็บชัดเจน => Costochondritis

    เจ็บอกทะลุหลัง กลืนแล้วเจ็บ => Esophageal cause

    เจ็บหน้าอกทะลุหลัง เจ็บตลอด เคยมีความดันโลหิตสูง

    วัดความดันแรกรับแขนขวาไม่เท่ากับแขนซ้าย ขาขวา          ไม่เท่ากับขาซ้าย => Disecting Aneurysm

         การปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง

2. ผู้ป่วยที่มาด้วย typical or atypical chest pain    ร่วมกับมีประวัติ ต่อไปนี้ 3 ข้อ ให้ทำEKG ทุกราย

•ผู้หญิง อายุ > 55ปี  ผู้ชายอายุ> 45 ปี
•Dyslipidemia
•Underlying DM ,HT
•มี Hx  smoking
•มี Hx. IHD, on ASA, เคยทำ CABG/มีประวัติหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแดงอุดตัน

        วิธีปฏิบัติ 

1. ที่ ER  พยาบาลER  ทำ EKG >> notify doctor

2. ที่OPD ให้ส่งผู้ป่วยไปER  ทำEKG >> notify doctor

       แนวทางการรักษา

1. ผู้ป่วย chest pain ทุกราย ต้องได้รับ

       1.1 กรณี V/S  stable

–การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ้าผิดปกติมี ST elevate or    ST depress
–ต้องได้รับยา ASA gr.V chewing. Isordil(5) SL
–MO IV
–On oxygen canula 5 LPM

       1.2 กรณี V/S unstable

      -  ต้องได้รับยา ASA gr.V chewing./ไม่ให้ Isordil ,On oxygen canula 5 LPM , ให้ Dopamine drip

ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนร่วม ดังนี้

    กรณีถ้าไม่มี ภาวะCHF อาจพิจารณาให้ IV Fluid

    กรณีมีให้ on NSS lock เพื่อสะดวกในการพิจารณาให้ยาทางหลอดเลือดดำ

    แพทย์พิจารณาส่งรักษาต่อหรือรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

2. ถ้าผล EKG ครั้งแรกปกติ ต้องได้รับการ repeat EKG อีก 15-30 min.  ถ้าผลยังปกติ อาจพิจารณา D/C หรือ Admit เพื่อสังเกตอาการก่อน

     Fast  Tract  MI

•กรณีแพทย์วินิจฉัย NSTEMI ให้ Refer ไปตามแนวทาง
•กรณีแพทย์วินิจฉัย STEMI  consult  รพ.มหาราชโดยการFax.เอกสาร   ได้แก่ EKG  และ ประวัติการเจ็บป่วย

   ถ้าแพทย์ Med.รพ.มหาราช พิจารณาแล้วว่าเป็น STEMI ให้ Refer ผู้ป่วยเข้าระบบได้เลย

 

การดูแลระหว่างส่งต่อ  โดยพยาบาล refer มีหน้าที่

    ประเมินสัญญาณชีพ ติดเครื่องมอนิเตอร์EKG ขณะส่งต่อ

    ประเมินภาวะ chest painพิจารณาให้ยาตามorder แพทย์

    ถ้าผู้ป่วยได้รับ IV Fluid  ต้องได้รับการดูแลปรับ rate IV ที่ถูกต้อง

    ดูแลปริมาณของ Oxygen cannula  5 LPM

    ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ระหว่าง refer และรายงาน case ให้ครบถ้วนแก่แพทย์และพยาบาลที่รพ.มหาราช

    หากผป.มีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างนำส่ง มีการconsultแพทย์

ระบบงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง

1. ระบบการคัดกรองผู้ป่วยและการดูแลเบื้องต้น

2. ระบบการประสานการส่งต่อกับ รพ.มหาราช

3. เกณฑ์การใช้รถส่งต่อ

4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรค

 

 

คำสำคัญ (Tags): #cqi#fast tract
หมายเลขบันทึก: 484727เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท