การแบ่งไก่ไม่ใช่แบ่งเค้ก


ใส่กระสอบนำไปเลี้ยงคนละสามตัว ยอมห่อข้าวมาแกะกินร่วมกันเพื่อเปลี่ยนค่าอาหารกลางวันเป็นไก่ประดู่หางดำ อยากเป็นหนึ่งในการร่วมสร้างเครือข่ายไก่ประดู่หางดำ ขอเวลาอีก ๘ เดือนเราจะมีไก่ประดู่เพิ่มขึ้น จาก ๓๕ แม่ ผลิตลูก เป็น ๓๕๐ ตัว นี่คือเป้าหมาย ของกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ดงมหาวัน เวียงเชียงรุ้ง
จากตอนก่อนผมเล่าว่าลุงบุญชวนและลุงสมัยไปช่วยกันจับไก่ประดู่หางดำจำนวน ๘๐ ตัว ใส่รถอีแต๋นมารอแบ่งให้กลุ่มไปเลี้ยงขยาย วันนี้มีการอบรมให้ความรู้และแบ่งไก่ครับ
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานสำหรับเกษตรกรรายย่อย ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ โดยนางสาวอรอนงค์ พิมคำไหล  หัวหน้ากลุ่มงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย กล่าวเปิดการอบรมและชี้แจงโครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานสำหรับเกษตรกรรายย่อย เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขุนแผนฟาร์ม ของนายบุญชวน มะลัยโย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

คุณนิทิศ จิตนิยม นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการจากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง  จังหวัดระยอง แนะนำเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับเมืองไทยครัวของโลก การขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์

และตอบปัญหาข้อสงสัยของผู้เข้าอบรมที่ถามว่า ที่มาอบรมแก่แล้วจะเกษียรในไม่ช้าแล้วลูกหลานไม่ทำเกษตรกันจะทำอย่างไร ในการส่งเสริมให้เยาวชนหันมาสนใจกิจกรรมการเกษตร คุณนิทิศตอบได้ถูกใจ ได้รับความสนใจตั้งใจฟังอย่างเงียบกริบ โดยเฉพาะสภาเกษตรแห่งชาติที่คุณนิทิศ  มีความรู้และประสบการณ์มา ในฐานะที่ปรึกษาของหมอเปรม เพียรยุระ นักการเมืองดังมาก่อน 

ผู้เขียนแนะนำเอกสารการฝึกอบรมก่อนที่จะมอบให้นายบุญชวน มะลัยโย บรรยายทบทวนความรู้การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน  ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สนใจ ตั้งใจฟัง ฟังให้หมดจดให้ได้
ไม่เป็นน้ำชาล้นถ้วย
เรียนรู้ด้วยตนเอง 
ใส่กระสอบนำไปเลี้ยงคนละสามตัว ยอมห่อข้าวมาแกะกินร่วมกันเพื่อเปลี่ยนค่าอาหารกลางวันเป็นไก่ประดู่หางดำ อยากเป็นหนึ่งในการร่วมสร้างเครือข่ายไก่ประดู่หางดำ ขอเวลาอีก ๘ เดือนเราจะมีไก่ประดู่เพิ่มขึ้น จาก ๓๕ แม่ ผลิตลูก เป็น ๓๕๐ ตัว นี่คือเป้าหมาย ของกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์เวียงเชียงรุ้ง
ภาพบรรยากาศการจับไก่ประดู่หางดำเพื่อแบ่งกันในกลุ่ม

 

 คุณตาวัย ๗๘ ก็มาอบรมด้วยไม่ได้ขาด

 คนหนุ่มมือไวช่วยจับไก่

มีน้ำใจใครๆก็ชอบ 

 

 

กลุ่มเรามีตั้งแต่อายุ ๒๐ กว่า ไปจนถึง ๗๘ ปี รอการพิสูจนครับ 

สิ้นปีเราจะมีคนละ ๑๐ ตัว นี่คือเป้าหมายของกลุ่ม
ขอแนะนำให้เราทำกรงไก่แบบน็อคดาวน์ เคลื่อนที่ไปเลี้ยงตามแปลงหญ้าได้
มีการแลกเปลี่ยนไก่ให้มีทั้งตัวผู้ตัวเมียเพื่อความเสมอภาค และสามารถนำไก่ไปขยายพันธุ์ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจ
 
หมายเลขบันทึก: 484546เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2012 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบวิธีคิดจังเลยค่ะ ยอมห่อข้าวมากินเอง เพื่อได้ไก่กลับไปเลี้ยง

เป็นการตัดสินใจเอง ที่จะมีส่วนร่วมในกลุ่ม ในเครือข่าย....มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่แค่เป็นการสงเคราะห์จากรัฐ ให้ ๆ ไปแล้วก็จบกัน

สุดยอด...เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

จะรอติดตามต่อนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท