ทำเวบโดยผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง :User-centered


บทความนี้ ขออนุญาตคิดดังๆ กับการทบทวนเป้าหมายเมื่อ 6 เดือนก่อน

คิดว่าถึงเวลา เริ่มต้น "พัฒนาระบบข้อมูล"
ในลักษณะเป็น web based
เพื่อรองรับงานเครือข่าย, สนับสนุนงานวิจัยแบบสหสถาบัน
และ พ่วงเรื่องการประชาสัมพันธ์สู่สากลไปด้วย
.
สิ่งที่น่ายินดี คือเป้าหมายที่ข้าพเจ้าเคยหนักใจ
การทำ project เรียนรู้งานจริงใน รพช. 
กลับมีปัจจัยเสริมจากการปรับหลักสูตรของราชวิทยาลัยปีนี้พอดี
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อย่ากลัวที่จะฝัน เพราะ "ฝันที่ไม่เลื่อนลอย จะเป็นจริง เมื่อถึงเวลา"
ต้องขอชื่นชม ท่านผู้บรรจุหลักเกณฑ์นี้ จากใจจริง
.
เริ่มจากมืดแปดด้าน
เมื่อ gotoknow เปิดโอกาสให้ส่งคำถามนี้
ได้คำตอบเป็นประโยชน์ยิ่งจากคุณ Sr, อ.ธวัชชัย อ.wasawat และคุณเพชร
ให้ไปหาข้อมูลต่อ จนพบว่า ทางองค์กรสนับสนุนให้ใช้ Joomla
ซึ่งเป็น CMS : Content management system เขียนด้วย PHP ,เป็น Open source  
เรื่องเทคนิค- รู้เท่านี้แล้วแปะไว้ก่อน
.
โจทย์ถัดมาคือ "เราจะทำให้เวบนี้มีประโยชน์ได้อย่างไร"
ลองรำลึกถึงประสบการณ์ตอนทำเวบแบบบ้านๆ ใน portal.in.th
ก็พบว่า จุดอ่อนสำคัญคือ
"อรรถประโยชน์ต่อผู้ใช้"
เป้าหมายคือคนทำงานนอก รพ.สวนดอก โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบน
เราเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง "ดาวพระศุกร์" อยู่ฝ่ายเดียว
แต่สิ่งที่อยากเห็น คนทำงานใน รพ.เครือข่ายทุกแห่ง ต่างเป็น ดาวฤกษ์
เวบเป็นดั่งท้องฟ้าที่ขับแสงของดาวฤกษ์ทุกดวง
นั่นหมายถึง เวบทำหน้าที่หลักสามประการคือ
.
1. เป็น Electronic health journal
มีทีมบรรณาธิการ ให้บทความ/เรื่องราวที่นำมาลง
มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามวิชาการ
และ..ผู้เขียนสามารถนำผลงานนี้ไปสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการของตนได้
(ข้าพเจ้าเชื่อว่า คนทำงาน Palliative มี "ใจ" อยู่แล้ว แต่ "กำลังใจ" ก็สำคัญ)
-> ตัวอย่าง ที่เป็นแรงบันดาลใจคือ PLoS

2. เป็น Collaborative database
รวบรวมฐานข้อมูลงาน Palliative ของภาคเหนือตอนบน
หากหน่วยงานใดต้องการก็สามารถรวบรวมส่งให้ได้ทันที
โดยวิธีการเก็บ อาจเป็น web-survey
หรือ เก็บตอน submit paper ให้กรอกข้อมูลซึ่งเป็น context ก่อน
(บริบท เป็นสิ่งสำคัญในการอ่าน Health service research และ Qualitative research อยู่แล้ว)
-> ตัวอย่าง ที่เป็นแรงบันดาลใจคือ http://www.pcoc.org.au

3. เป็นที่ Brain stroming
การมีส่วนร่วมกำหนดทิศทาง ของนโยบายสาธารณสุข
รวมท้้งแนวทางให้งาน Palliaitive เป็นที่รับรู้ของสาธารณชน
ผ่านการแสดงความเห็น ใน บล็อก
-> ตัวอย่าง ที่เป็นแรงบันดาลใจคือ geripal และ gotoknow นี่เองค่ะ

###

เร็วๆนี้ เมื่ออ่านบันทึกของคุณ EGA
อาจารย์จันทวรรณ แนะนำเวบไซต์ usability.gov
ก็ประทับใจตั้งแต่คำโปรยหัว
" One stop source"
" usable, useful, accessible"
และที่สำคัญ "User-centered"
ได้แบบสอบถาม สำหรับประชุมทีมจัดทำ
ไว้ใช้ร่วมกับการทำ User story ที่ท่าน อ.ธวัชชัยแนะนำ

ขอเวลารวบรวมลมปราณอีกนิดนะค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 484539เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2012 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ความรู้น้อยนิด มีแต่กำลังใจล้วน ๆ ครับคุณหมอบางเวลา ;)...

Doctor ป.

Your aims: 1. เป็น Electronic health journal มีทีมบรรณาธิการ ให้บทความ/เรื่องราวที่นำมาลง มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามวิชาการ และ..ผู้เขียนสามารถนำผลงานนี้ไปสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการของตนได้ ... That will be the most difficult part of all. "Information" is a very slippery thing. People try to equate information to "wisdom" and sometimes they succeed. Most times, a lot of "collaborative" effort is required and "consensus" becomes difficult, along with issues like language (terminology), presentation, validation, politics, ...

But, it is the challenge that raises a person to higher planes. Good luck (and if you'd like some help, we are here). ;-)

อย่ารวบรวมลมปราณนานนักนะครับ รออ่าน 555

ขอบคุณค่ะอาจารย์

อยากเป็นคนเล็กๆ ที่ทำดีๆ :)

แม้ตัวไม่อยู่ ใครจะรู้ความผันผวนเบื้องหน้า

แต่ก็ได้ชื่อว่าครั้งหนึ่งได้พยายามทำ


Thank you for your thought-provoking comment.
.
About "Information" and "Wisdom"
This made me back to review definition of these words here
It seem "information" deal with what we've already known, whereas "wisdom" deal with things not clearly understand.
In this sense - I agree that "wisdom" is hard to evaluate its' accuracy, reliability.
Therefore some journals label separately between"scientific article" (information) and " perspective" (wisdom).
#

You address one of the problem in Palliative care field - Terminology issue.
There are followed with this questions,
Is it possible for us to develop consensus of terms using in our field first?
( By Delphi method?)
Who should be the key person to make the acceptable consensus ?
( Not me -I am just a nobody)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิต

คุณหมอป.เก่งหลายสิ่งอย่างจัง

อยากทำเวบบ้าง แต่โลว์เทคมาก เรียนรู้ช้ากับคอมพ์ :)

ส่งกำลังใจ และขอบคุณสำหรับภาพนี้

น่ารัก และชอบหลายๆ เจ้า มีแววเณรน้อยเจ้าปัญญา มาแต่เด็ก

Ico_acting

ทำให้นึกถึง เด็กห้องเป็ดน้อย ก็ชอบทำอย่างนี้

ให้คุณหมอสนุกกับการผจญภัยที่ท้าทายนะครับ หากทำแล้วสุข สำเร็จอยู่แล้วครับ

Ico_acting

นี่มัน "เด็กอัจฉริยะ" นี่ครับ !!!

ขอบคุณค่ะ ในทัศนะ 
คุณ poo เป็นคนเข้าใจภาพรวมและความฉลาดทางอารมณ์สูง
ซึ่งส่วนนี้ตัวเองด้อย จึงถนัดกิจกรรมอะไรที่ "ขุดรูอยู่"
ตอนนี้ก็พยายามฝึกค่ะ
...

ตอนเป็นเด็ก เวิ่นเว้อมาก
ไปเที่ยวที่ไหนก็กลับมา "แสดง"
เท่าที่จำได้ ในภาพคงเพิ่งกลับจากไปเที่ยววัดมา
เห็นแล้ว นึกในใจ "แหม่..ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง"

ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ
เรียนรู้เรื่องนี้..เป็นการผจญในแดนสนทยา
ทั้งตื่นเต้นและงงไปพร้อมๆ กันค่ะ
การผ่าน STATA มาบ้าง ทำให้ไม่กลัวภาษา PHP มากเหมือนแต่ก่อน


อาจารย์เป็นคุณครูที่มองเด็กในแง่บวกดีจังค่ะ :)

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

  • สบายดีนะคะ

สวัสดีครับ จะมาติดตามความเป็นมา-เป็นไป นะครับ

ขอบคุณค่ะ ภาพดอกไม้ช่วยให้บล็อกนี้สดชื่นขึ้นเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ
เมื่อทราบทิศทางองค์กรว่าส่งเสริมการใช้ IT ลดเวลาเดินเอกสาร ลดการใช้กระดาษ
ตอนนี้ยิ่งมีกำลังเรียนรู้ joomla ยิ่งขึ้นค่ะ

http://www.mambo.or.th/forum/

มา update ว่า สนุกสนานกับ joomla ได้หน้าตาเบื้องต้นออกมาเช่นนี้ ส่วนของเดิมที่ portal.in.th ก็ยังเก็บไว้อยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท