๓๐๐.งานวิจัย-ปัญหาพุทธศาสนาเชิงรุกในลาว(หลวงพระบาง)


 

ปัญหาพุทธศาสนาเชิงรุกในลาว

ด้านการเผยแผ่

                1.ด้านงานเขียน  แม้จะมีพระสงฆ์ลาวเขียนหนังสืออยู่บ้างแล้วก็ตาม แต่เป็นการยากเนื่องจาก 1)กระบวนการในการขออนุญาต มีขั้นตอนมาก เช่น ทำหนังสือขออนุญาตต่อเจ้าแขวงหลวงพระบาง เมื่ออนุญาตแล้วจึงส่งต่อไปที่เวียงจันทร์ กว่าจะอนุญาตกลับมาต้องใช้ลำดับขั้นตอน การเดินทางและเวลาที่ยาวนาน 2)ทุนในการดำเนินการที่มีอยู่จำกัด แม้ทางคณะสงฆ์จะพยายามออกวารสาร แต่การดำเนินการเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น ไม่มีความต่อเนื่อง พระขาดทักษะในการเขียนและขาดอิสระภาพในการแสดงความคิดเห็นเนื่องจากระบบการปกครอง  3)ประชาชนนิยมการอ่านหนังสือน้อย  และ  4)ธุรกิจการพิมพ์ยังไม่เจริญพอก้าวหน้าเท่าที่ควร

     2.ด้านการอบรมบรรยาย   แม้จะมีพระสงฆ์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้นก็ตาม เป็นเรื่องยากเนื่องจาก 1)ประชาชนในชุมชนยังนิยมฟังธรรมจากการอ่านคัมภีร์ใบลาน (ขับธรรมลื้อ) นิยมทั้งพระทั้งโยม เน้นศรัทธามากกว่าเหตุผล เน้นทำนองจังหวะไพเราะมากกว่าเนื้อหา 2)ขาดพระนักเผยแผ่ อันเนื่องมาจากประชาชนนิยมบวชในระยะสั้น ๆ แม้จะมีพระสงฆ์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศมา แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน และ  3)ยังถือว่าการเผยแผ่แทรกอยู่กับการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่แล้ว

     3.ด้านการจัดวิทยุ แม้จะมีพระหัวก้าวหน้าอยู่บ้าง แต่อยู่ในปริมาณที่น้อย จากการสัมภาษณ์สาธุบุญทัน  ปุญญกาโม ประธานองค์การพุทธศาสนสัมพันธ์หลวงพระบาง ซึ่งหากเทียบเคียงแล้วก็คือเจ้าคณะจังหวัดหลวงพระบาง ได้ให้ชี้ให้เห็นว่าพระหัวก้าวหน้าที่ทำงานด้านพุทธศาสนาเชิงรุกมีเพียง 3 รูปเท่านั้นคือสาธุจันทริน สาธุอ่อนแก้ว และสาธุบุญทัน เท่านั้น นับว่าเป็นการยากเนื่องจากขาดพระนักเผยแผ่ที่จะสืบต่อในอนาคต  เมื่อมีการใช้สื่อวิทยุมักเป็นการพูดโฆษณาบุญมากกว่าการบรรยายธรรม

     แต่ก็มีลักษณะก้าวหน้ากว่าพระสงฆ์ในจังหวัดพะเยาตรงที่พระสงฆ์หลวงพระบางเดินทางไปนครเวียงจันทร์เพื่อจัดรายการพุทธศาสนาทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว แต่พระสงฆ์พะเยาไม่มีศักยภาพในจุดนี้

     4. ด้านการให้คำปรึกษา แม้จะมีการกระจายไปแทบทุกวัดในหลวงพระบาง แต่ก็เป็นการยากเนื่องจาก 1)ที่หลวงพระบางปัญหาสังคม ความทะยานอยากมีไม่มาก และไม่หลากหลาย ซับซ้อนมากเหมือนเมืองไทย  2)ในหลวงพระบางมีหลวงพ่อ หลวงพี่  หลวงน้า หลวงอามากกว่าฝั่งไทย ซึ่งถือว่าสายสัมพันธ์ทางเครือญาติจะมีโอกาสให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ มากกว่า และสามารถปรึกษาให้ความกระจ่างในปัญหาได้อย่างสนิทใจมากกว่า  3)ไม่มีพระหมอดูมากอย่างเมืองไทย  หากเปรียบเทียบในแง่มุมนี้พุทธศาสนาในลาวมีแนวโน้มไปทางศาสนาดั่งเดิม(ผี) ส่วนพุทธศาสนาในไทยกลับมีแนวโน้มไปทางศาสนาฮินดู

 

ด้านการศึกษาสงเคราะห์

                ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และเยาวชนต้นกล้า ที่หลวงพระบางยังไม่มี ซึ่งเป็นการยากเนื่องจาก 1)นโยบายรัฐเข้มงวดเกินไป  2)การจัดเป็นองค์กรที่เด่นชัดไม่มี  3)เด็กเข้าวัดเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรณรงค์อย่างไทย  4)แหล่งมั่วสุม บันเทิง ไม่มากเหมือนไทยปัญหาจึงไม่ซับซ้อน  5)รัฐมีการฝึกอบรมอยู่แล้ว (ไม่เห็นความจำเป็น)  6)ทุนจากต่างชาติ เช่น โครงการจากยูเนสโก เข้ามาจัดโครงการให้ความรู้เรื่องเอดส์ ซึ่งเข้ามาจัดในบางครั้ง บางโอกาส  7)การคิดรวมตัวกันเป็นเรื่องลำบาก เพราะความไม่พร้อมด้านปัจจัยสี่  และ  7)การทำงานทุกคนคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ เนื่องจากมีฝ่ายการเผยแผ่อยู่แล้วจึงไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร

 

ด้านการสาธารณสงเคราะห์

                1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 

     แม้พระสงฆ์ลาวจะมีอยู่บ้าง แต่เป็นลักษณะอนุรักษ์หรือรักษาเอาไว้เท่านั้น ส่วนการจะมีพิธีบวชต้นไม้ สืบชาตาแม่น้ำอย่างพะเยาไม่มีและเป็นการยากเพราะไม่มีปัญหาแบบไทย ทรัพยากรป่าไม้ในลาวยังอุดมสมบูรณ์อยู่  และแนวความคิดที่เข้าใจว่าบวชต้นไม้ สืบชาตาแม่น้ำ ไม่ใช่คน ทำไปทำไม เป็นเรื่องไร้สาระ แต่พระสงฆ์พะเยากลับมองปัญหาดังกล่าวว่าเป็นกลยุทธในการทำงานมากกว่า

 

           2.การผลิตสมุนไพร 

     มีภูมิปัญญาชาวบ้านทำอยู่แล้ว ประกอบกับทัศนะคติของชาวบ้านที่พระสงฆ์ทำไม่ได้เนื่องจากแย่งอาชีพชาวบ้าน แต่หากมองในมุมของพระสงฆ์หลวงพระบางกลับเห็นว่าเกรงกลัวต่อพระธรรมวินัย ข้อที่ห้ามภิกษุพรากของเขียว อีกประการหนึ่งการจะผลิตยาสมุนไพรต้องใช้ทักษะ และแพทย์แผนโบราณก็มักจะเก็บเคล็ดลับของตนเอาไว้ ไม่บอกสอนบุคคลนอกครอบครัว

 

          4.กลุ่มสัจจะออมทรัพย์

     มีน้อยโดยทำการอยู่ที่เวียงจันทร์ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 

          5.ประสานงาน 

     มีแบบธรรมชาติ ไม่ใหญ่ด้านทุนทรัพย์อย่างไทย

 

หมายเลขบันทึก: 484544เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2012 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการครับ

Thank you for this aritcle -- very informative and reflective of the culture.

เจริญพรคุณโยมที่ติชมและร่วมแสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท