ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือทั้ง 3 ภาคส่วน ภาคของผู้ประกอบการ ภาคแรงงาน ภาคการศึกษา ด้วยการสนุบสนุนจากภาครัฐ

คำถามจากคุณ วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ ( 5 มีนาคม 2554)

ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ  ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก  ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

  1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ?

คำตอบ: ทั้งสองอย่างครับ นโยบายไม่ครอบคลุม และไม่ชัดเจน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นแผนที่มีการบูรณาการนำเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนขององค์กรรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน กำหนดเรื่องของแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละอาชีพโดยทำให้เกิดทุนมนุษย์ภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างสมดุล

สำหรับเรื่องการนำไปปฏิบัติก็เป็นปัญหาอย่างมากเพราะระบบและขบวนการปฏิบัติมักจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการปฏิบัติ เรามักจะมีแผนมากมายแต่ไม่ครอบคลุมอย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีการนำไปปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้ ในส่วนของภาครัฐมีส่วนของความเข้าใจของผู้ได้รับมอบหมายให้นำไปปฏิบัติ กำลังของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะไม่มีงบประมาณที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม หรือไม่มีงบประมาณ ผู้บริหารมอบหมายงานแต่ไม่ได้ให้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม

นโยบายของภาครัฐ แบ่งออกเป็นดังนี้

1.1นโยบายระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนที่ 1-7 เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับการเติบโตของระบบทุนนิยม (เศรษฐกิจนำสังคม) และเป็นแผนที่กำหนดโดยภาครัฐเป็นหลักไม่ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากนัก  

ตั้งแต่แผนที่ 8- ร่างแผนที่ 11 ที่กำลังจะนำออกใช้ในเดือนตุลาคม 2554 ได้มีการปรับแผนโดยเน้นเรื่องคนเป็นหลักให้ความสำคัญในด้านคนมากขึ้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความสำคัญด้านสังคมนำเศรษฐกิจ (ผมเห็นด้วยเพราะเมื่อสังคมเข้มแข็งเศรษฐกิจจะตามมาเอง)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนในภาพใหญ่เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศ ผมอ่านร่างแล้ว คิดว่าแผนในภาพกว้างค่อนข้างดีแต่ยังมีเวลาในการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

1.2 แผนของแต่ละกระทรวง ปัจจุบันเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรี ไม่ได้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนหลัก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็ยังมีแผนของกรม และแผนของหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ที่ไม่รองรับซึ่งกันและกัน ต่างแผนต่างไปคนละทาง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจะหวังพึงแต่แผนของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เอกชนต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนของธุรกิจ ขององค์กร และของชุมชนแต่ละชุมชนเอง โดยภาครัฐต้องเน้นที่แผนพัฒนาคนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อให้เน้นเรื่องการมีจริยธรรม คุณธรรม และการให้การสนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนเป็นหลัก สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในภาครัฐให้มีทุนสังคมมากๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าจะเกิดผลสำเร็จได้ภาคเอกชนต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

การนำนโยบายไปปฏิบัติยิ่งเป็นปัญหาหนักเพราะเมื่อตัวแผนนโยบายเองมีปัญหา การนำไปปฏิบัติก็ยิ่งมีปัญหา เพราะปฏิบัติกันไปคนละทิศละทาง เสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ไม่ได้ งบประมาณถูกใช้ไปกับกิจกรรมที่ง่ายๆเพื่อให้เกิดผลงานว่าได้ทำแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลของความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง จึงทำให้คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

 

 

2.ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย

คำตอบ : จริงๆค่าแรงงานที่เรากำหนดกันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงความจริง เรามีการกำหนดเฉพาะค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าถ้าแรงงานต่ำจะทำให้ภาคการลงทุนในประเทศขยายตัว แต่ไม่ได้คิดถึงค่าครองชีพที่แท้จริง เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้อยู่ที่แรงงานขั้นต่ำ  รายได้ของมนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญกับแรงจูงใจ และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทย?

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ จริงๆการแก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมและถูกต้อง จะต้องทำให้เกิดสภาวิชาชีพบริการ เพื่อให้มีองค์กรที่มาขับเคลื่อนในการสร้างมาตรฐานแรงงานและกำหนดอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละธุรกิจ

การกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำมีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ในการคำนวณค่าแรงให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการผลิต ฝ่ายตัวแทนของผู้ประกอบการพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำเพราะต้องการให้ทุนการผลิตต่ำ รัฐก็ไม่ต้องการให้ค่าแรงสูงเพราะกลัวว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุน แต่ในความเป็นจริง แรงงานที่มีฝีมือถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำหลายเท่า อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นต่ำคือการจ่ายค่าชดเชยของผู้ประกอบการที่เลิกจ้าง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบแรงงาน

 

 

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คำตอบ : คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถในตัวเองสูง ส่วนของผู้ประกอบการ (เจ้าของ) ขาดการมองระยะไกล มองผลประโยชน์ของตัวเอง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันเอง ไม่ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ขาดการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ หวังผลระยะสั้น ขาดความจริงใจ ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ลงทุนด้านคน

มนุษย์เงินเดือน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์จากผู้ประกอบการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายมนุษย์เงินเดือน ฝ่ายการศึกษา โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คนไทยเก่งและฉลาดแต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และขาดการสนับสนุน คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายถ้าได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ระบบและกลไกของธุรกิจ SMEs และ MSEs ไทย ต้องแก้ที่ระบบและกลไกของภาคธุรกิจ ทำให้ธุรกิจ SMEs และ MSEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมพอเพียงกับค่าครองชีพ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มองเห็นอนาคตในอาชีพ

หมายเลขบันทึก: 482656เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก คุณกุลธิดา เลิศพงศ์วัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังปรากฏในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยเน้นให้คนไทยหรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ขณะที่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางไว้ชัดเจนในแต่ละภาคี ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันทางสังคมต่างๆ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ

ในทางปฏิบัติ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่อาจคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ได้มีการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วระยะหนึ่งให้มีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความจำเป็นพื้นฐานและการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว ขณะที่ รูปแบบของการจ้างงานแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานในระดับ Unskilled ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour Intensive) ซึ่งต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขึ้นค่าจ้าง โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็ก อีกทั้ง ในประเทศไทย ยังไม่มีระบบหรือขาดเกณฑ์ระดับการประเมินสมรรถนะหรือเกณฑ์ตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดค่าจ้างตามระดับความรู้ ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มในการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดกรอบและกลไกที่เกี่ยวข้อง คุณวุฒิวิชาชีพจะช่วยให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เหมาะสมตามระดับสมรรถนะและมาตรฐานอาชีพของตน ซึ่งแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาสมรรถนะหรือศักยภาพของคนเองในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้น

อยากแจ้งให้ทราบ เรื่องการโอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายู ผ่านธนาคารจะถูกหัก 50 บาท

  เบี้ยยังชีพผู้สูงอายู(เป็นของรัฐ) อบต.ดอนมะสังข์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี จากเดิมเคยได้รับ 600 บาท หลังจากให้โอนเงินเข้า ธ.กรุงไทย จก.(เป็นของรัฐ) สาขาพระพันวษา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  มีเงินเข้าเพียง 550 บาท  โอนด้วย ธนาคาร ธกส สนง ใหญ่(เป็นของรัฐ) อ.เมือง จ. สุพรรณบุร๊  ตอนติดต่อที่แรกได้รับทราบจากเจ้าหน้า อบต.ว่า นอกจากเข้าอื่นที่ไม่ใช้  ธนาคาร ธกส. จะช้าหน่อยต้องรอเคลียลิงค์ แต่ไม่บอกว่า ต้องเสียค่าธรรม 50 บาท ตามข้างล่างนี้ 2.6 การโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคารผ่านเคาน์เตอร์(ORFT Counter) 2.6.1 จำนวนเงินโอนไม่เกิน 10,000 บาท เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท และเงินกว่าจะโอนเข้า ก็วันที่ 12 ธค.61 กรุณารับทราบด้วยจะได้ไม่โดนหักแบบอาตมา ไม่ทราบธนาคารอื่นเป็นเหมื่อนกันหรือเปล่า                                                                    เจริญพร                                                                 พระนพดล

หมายเหตุ
หน้าชื่นชมที่ ธนาคาร ธกส สนง ใหญ่(เป็นของรัฐ) อ.เมือง จ. สุพรรณบุร๊ ที่ดูแลผลประโยชน์ของรัฐ ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท เข้ารัฐบาล ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายู(เป็นของรัฐ) ที่โอนเข้า ธ.กรุงไทย จก.(เป็นของรัฐ) สาขาพระพันวษา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ดูแลเงินผลปรโยชน์ของรัฐได้ดีจริงๆ อาตมาขอ อนุโมทนา ขอให้เจริญๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท