เรื่องการศึกษาใน นสพ.


          วันที่ ๒๑ ก.พ. นั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่ พบเรื่องน่าสนใจด้านการศึกษาใน นสพ. จึงนำมาบันทึกไว้

 

          เรื่องแรก เพิ่มชั่วโมงเรียน เพิ่มคุณภาพตรงไหน? ในมติชนรายวัน   เขียนโดย สายพิณ แก้วงามประเสริฐ   ผมเชียร์สายพิณเต็มที่   ตอนนี้บทความในมติชนไม่เปิดให้อ่านทางเน็ต   แต่ก็มีเรื่องเกี่ยวข้องที่นี่  น่าเสียดายและน่าเศร้า ที่ สพฐ. ยังตกอยู่ในความมืดบอดหลงปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ  

 

          ผลงานวิจัยของ ทีดีอาร์ไอ ที่นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ. ๕๕ บอกว่า เวลาเรียน (ที่จริงคือเวลาสอน) ในโรงเรียนไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ  แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำมาก   ในขณะที่ประเทศฟินแลนด์เวลาเรียนน้อย  แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นที่ ๑ ของโลก    แสดงว่าคำว่า “เวลาเรียน” ที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาไทย เป็นมายา   ไม่ใช่เวลาเรียนที่แท้จริง

 

          เรื่องที่สอง Perspectives on Future Economics from WEF, Davosใน เดอะ เนชั่น เขียนโดย ดร. โชติชัย สุวรรณพร แห่ง ปตท. น่าอ่านมาก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองใหม่ด้านการศึกษาในย่อหน้าที่ ๔ - ๘   ซึ่งผมติดใจมากในส่วนที่บอกว่า นักเรียนต้องเรียนทักษะผู้ประกอบการตั้งแต่ชั้นประถม

 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๑ ก.พ. ๕๕
หมายเลขบันทึก: 482141เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2012 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในโลกออนไลน์ปัจจุบันนั้น การเป็นผู้ประกอบการอิสระง่ายมากครับ โดยเฉพาะงานที่นำส่งได้เป็น intangible objects (ซึ่งปกติจะมีมูลค่าสูงกว่า tangible objects มาก) นั้นปัจจุบันซื้อขายออนไลน์กันเป็นช่องทางหลักทีเดียวครับ

ผมเห็นชาติต่างๆ พยายามมุ่งพัฒนาความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับตลาดที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ แต่ไม่เห็นเกิดขึ้นในประเทศไทยสักเท่าไหร่ครับ

I read quickly some points from Davos (most important issues discussed at Davos were drowned out by our first female prime minister's speech).

On the issue of "oceans and seafood" I thought about the management of fish stock in the Gulf of Thailand:

GoT is a major spawning and nursery area for a number of fish (ปลาทู included) and many more predatory fish that come to feed on smaller fish. (The economic value of fishery in GoT is over 100,000 millions baht annually.)

GoT is the sink for major rivers in Thailand (flood water drains in here); receives many chemical discharges from the Eastern industrial zones and some nutrients from the Mekong river delta (by a current); has busy shipping traffic (noise and oil pollution); ...

Our government have 'authorized' many projects that may impact GoT and the economic value generated from GoT without proper assessment of people's dependencies on GoT, fish stock and so on.

Decisions on class time are made in the same fashion -- without assessment of impacts.

เรียน ท่านอาจารย์หมอครับ

มองอีกมุมหนึ่ง เป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศแบบนั้น เพราะถ้าเราทำให้ครูเป็นครูเพื่อศิษย์ได้จริง เวลาเรียนจะเป็นเวลาของความสุข สนุกสนาน..... คนไทย สังคมไทย มีพื้นฐานการเรียนที่ต้อง "เคี่ยว" ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องให้คนอื่น "เคี่ยว" ให้ด้วย..... แต่ที่ผ่านมาเราไปเคี่ยวเข็ญแบบเรียนรู้ท่องจำและติวทำข้อสอบ....หากครูเพื๋อศิษย์และ PLC ร่วมกัน "เคี่ยวเป็น" แทนที่จะ "เคี่ยวเข็ญ" โดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1) ปัจจุบัน เด็กไทยตามชนบท ส่วนใหญ่ ไม่สามารถปล่อยให้เรียนรู้กันได้เองโดยไม่สอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด ขาดความใฝ่เรียนมาก

2) ปัจจุบัน สถาบันครอบครัวอ่อนแอมาก นักเรียนจำนวนมากไม่ได้อยู่กับผู้ปกครอง อาศัยอยู่กับตา-ยาย เลี้ยงตามมีตามเกิด การคงเวลาเรียนให้มากไว้น่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องทำให้เรียนรู้อย่างสนุกด้วย PBL

3) มีกำแพงยักษ์ 3 อย่าง ที่สะท้อนบริบทของคนไทยอีสานคือวัฒนธรรม 3 กลัว คือ "กลัวทำไม่ได้" "กลัวคนอื่นได้ดีกว่า" และ "กลัวโดนตำหนิ" นี่เป็นปัญหาของการสร้างครู PLC เต็มๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท