การสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ : ๒


รูปข้างล่างนี้เขียนจากข้อมูลในเรื่อง การสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ ในการบันทึกครั้งก่อนหน้านี้กราฟแสดงการจำคำตามลำดับจากการระลึกเสรี

จะเห็นว่า  คำที่ ๔๐,๓๙,๓๘, .....๓๒, รวมประมาณ ๕ - ๙ คำนั้น  เราสันนิษฐานว่า จะอยู่ใน ระบบความจำระบบหนึ่ง  และตั้งชื่อว่า STM  เมื่อให้ระลึกตอบก็ตอบได้ทันที  โดยคำที่ ๔๐ จะออกมาทันที ๑๐๐%  คำอื่นๆก็ลดหลั่นลงไป  เพราะถูกรบกวนให้ลืม 

จากคำที่ ๓๑ ลงไปจนถึงคำที่ ๑ นั้น  มันได้เข้าไปในระบบนานมาแล้วจึงน่าจะเป็นอีกระบบหนึ่ง  เราจึงตั้งชื่อให้ว่า  LTM

เหตุผลก็คือ  ถ้ามันมีสองระบบจริง  มันจะต้องมีคุณสมบัติต่างกัน  เมื่อสำรวจดูก็พบว่า  STM มีความจุราว  ๕ -๙ หน่วย, และคงอยู่นานราว ๓๐ วินาที   ส่วน LTM นั้น  ความจุไม่จำกัด  และคงอยู่ได้นานเกินกว่า ๓๐ วินาที  ดังนั้น  จึงต้องมีอย่างน้อย ๒ ระบบ 

อย่างไรก็ดี  ยังมีนักจิตวิทยาบางท่านสันนิษฐานว่า  ยังมีอีกระบบหนึ่ง ที่มีความจุน้อยกว่าสองระบบที่กล่าว  และความคงทนของการจำสั้นกว่า  และตั้งชื่อว่า  ความจำสัมผัส (Sensory Memory : SM )

เรื่องนี้ยิ่งทำให้ Behaviorists ถูกมองเชิงน่าสงสัยมากขึ้น  เพราะเขาเคยปฏิเสธพฤติกรรมภายใน(เหตุการณ์ทางจิต, การจำ, การคิด, ฯลฯ)ว่าไม่อาจจะสังเกตุได้ จึงศึกษาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ไม่ได้

ขอให้สังเกตว่า  ข้อมูลในตารางจากบันทึกครั้งก่อนเป็นผลจากการสังเกตข้อเท็จจริง(Facts)  แล้วแปลงมาสู่เส้นกราฟในรูปข้างบนนี้  ถ้าเราเปลี่ยนตัวเลขคำที่เสนอให้เรียนที่เส้นแกนนอน จากคำที่ ๑ - ๔๐ เป็น "สิ่งที่เสนอให้เรียนเรียงจากสิ่งแรกถึงสิ่งสุดท้าย" แล้ว กราฟข้างบนนี้ก็เป็น "เส้นกราฟเชิงทฤษฎี" ทันที ภาษาอังกฤษจะใช้คำ Theoretical Model  หรือ Model  ก็ได้  นี่คือ  การสร้างทฤษฎีจากข้อเท็จจริง  หรือจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นทฤษฎีเชิงประจักษ์ ผมอยากให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกของเราได้ช่วยกันทำอย่างนี้บ้าง

หมายเลขบันทึก: 48145เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • รอทำเหมือนกันครับอาจารย์
  • ขอบคุณมากครับ

ตามคุณขจิตมาคะ...

ช่วงนี้กะปุ๋มกำลังทำ self-study เรื่อง cognitive science...และ cognitive theory อย่างหนักคะ...ได้ข้อสรุปบางอย่าง..แล้วจะมาแจม..ลปรร. กับอาจารย์นะคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

ผมรู้สึกดีใจและชื่นชมเป็นอย่างยิ่งกับทั้งสองท่าน  ขออวยพรให้กับ คุณขจิต  และ Dr Ka Poom  พบความสำเร็จนะครับ  มีอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จะคุยกับผม ก็ไม่ต้องเกรงใจ  ได้ตลอดเวลาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท