ภาชนะดินเผาบอกเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ได้อย่างไร


ศึกษาอดีตจากหลักฐานทางโบราณคดี

          ภาชนะดินเผา มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วค่ะ  กว่าจะมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่แสนสะดวกสบายในปัจจุบัน  บรรพบุรุษของเราต้องคิดค้นเพื่อให้ได้มาซึ่งภาชนะสำหรับหุงหาอาหาร  เพื่อนๆ คงเคยเห็นคุณตาคุณยายหุงข้าว  หรือแกงต้มด้วยหม้อดิน  หรือถ้าเราไปรับประทาน  อาหารประเภทจิ้มจุ่ม แจ่วฮ้อน หรือหม้อไฟ  รวมทั้ง การต้มยาแผนโบราณ  ก็ยังพบว่ามีการใช้หม้อดินกันอยู่ค่ะ  หม้อดิน  หรือภาชนะดินเผาต่างๆ มีใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน  นับว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในการศึกษามนุษย์ในสมัยโบราณเลยที่เดียวค่ะ  เรามาดูนะคะว่าภาชนะดินเผาบอกเล่าเรื่องราวอะไรบ้าง

ภาชนะดินเผา

                                          

          ภาชนะดินเผา เป็นหนึ่งในเครื่องปั้นดินเผา (ceramics) ซึ่งหมายถึงวัตถุที่ได้จากการนำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปทรงที่ต้องการแล้วนำไปเผาไฟ  กลายเป็นวัตถุที่มีความแข็งแรงทนทาน  นักโบราณคดีบางท่านจึงกล่าวว่า เครื่องปั้นดินเผา  เป็นวัตถุชิ้นแรกที่มนุษย์ทำขึ้นในโลก  ส่วนภาชนะดินเผาในที่นี้หมายถึง  เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่สิ่งของต่างๆ  เช่น  ถ้วย  ชาม  ไห  โอ่ง  และหม้อ  เป็นต้น  ในภาษาอังกฤษ  เรียกว่า Pottery
ภาชนะดินเผานับเป็นโบราณวัตถุอีกประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาวิเคราะห์และตีความทางโบราณคดีมากที่สุด  เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สำคัญ     คือ
          1.ภาชนะดินเผามีความแข็งแรงทนทาน  สามารถคงสภาพในแหล่งโบราณคดีได้นาน  จึงมักพบในแหล่งโบราณคดีเสมอ
          2. ภาชนะดินเผาผ่านกระบวนการผลิตที่มีระเบียบขั้นตอนในการผลิตค่อนข้างตายตัว         ฉะนั้นจึงทำให้นักโบราณคดีสืบย้อนวิธีการทำได้อย่างถูกต้อง
          3. ภาชนะดินเผามีรูปแบบและลวดลายแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม  จึงสามารถศึกษาความหลายหลายของวัฒนธรรมมนุษย์ในอดีตได้
          4.ภาชนะดินเผาในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกันทั้งในด้านรูปทรง  ลวดลาย  เทคนิคการผลิต  และบทบาทหน้าที่  ดังนั้นภาชนะดินเผาจึงเป็นเสมือนตัวบ่งบอกเวลาหรือลำดับอายุสมัยของวัฒนธรรมต่างๆ ได้
ภาชนะดินเผาที่พบโดยทั่วไปสามารถแบ่งการใช้งานได้  2  ประเภท  คือ
          1. ภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  ใช้ในการหุงหาอาหาร
          2. ภาชนะที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่น  ใช้ฝังอุทิศให้ผู้ตาย  หรือเป็นภาชนะใส่ศพ  เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
- รองศาสตราจารย์สุรพล  นาถะพินธุ. วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. เอกสารภาควิชาโบราณคดี  คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หมายเลขบันทึก: 4809เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2005 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ต้องขอชื่นชมกับการนำเสนอนะครับ   แต่อยากจะขอให้ช่วยใส่คำหลัก(Key word) ไว้เพื่อความสะดวกในการค้นหาในภายหลังนะครับ   คำหลักที่น่าจะใชคือ  "ความรู้เพื่อประชาชน" ครับ
ขอขอบคุณอ.พรสกล อย่างมากค่ะ สำหรับข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์
อยากให้อธิบายพัฒนาการของเทคนิคการทำภาชนะดินเผา และการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยของภาชนะประเภทนี้
แนนซี่ แฟน มาริโอ้ เมาเร่อ

ฉลาดขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท