วัดความดันเลือด-2 แขนดีกว่าแขนเดียว


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Blood pressure 'should be measured in both arms' = , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
การวัดความดันเลือดเป็นอะไรที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิต เนื่องจากโรคความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการ และเพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต 3-17 เท่า
.
การรักษาความดันเลือดสูงช่วยลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
.
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Lancet) แนะนำให้วัดความดันเลือดที่แขน 2 ข้าง อย่างน้อยครั้งแรก, ซึ่งถ้าวัดความดันเลือดที่แขน 2 ข้าง พบต่างกันเกิน 10 หน่วย = 10 มิลลิเมตรปรอท อาจช่วยให้พบโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตันได้
.
ถ้าวัดได้ต่างกัน 15 หน่วย = 15 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป พบว่า เพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันมากขึ้น, เสี่ยงตายจากโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดเพิ่ม 70%, เสี่ยงตายจากทุกสาเหตุรวมกันเพิ่ม 60%
.
คนส่วนใหญ่มีแขนโตไม่เท่ากัน ข้างที่ถนัดหรือใช้งานมาก-ยกของหนักมักจะโตกว่าอีกข้างหนึ่ง ทำให้วัดความดันเลือดได้ไม่เท่ากัน ปกติจะต่างกันไม่เกิน 10 หน่วย = 10 มิลลิเมตรปรอท
.
การวัดความดันเลือดครั้งแรกควรวัด 2 ข้าง, ครั้งต่อไปควรวัดข้างที่ความดันเลือดสูงกว่า
การรักษาความดันเลือดสูงให้ต่อเนื่อง ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต, ลดเสี่ยงหัวใจวาย, ลดเสี่ยงไตเสื่อม-ไตวาย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 30 มค.54. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 480893เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท