เรียนรู้จากนักถอดบทเรียน "เรียนรู้" ไม่ใช่ "เลียนแบบ"


วันนี้นับเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่มีโอกาสได้รับฟัง การเสวนา ระหว่าง ท่าน ผศ.ดร.พิกุล นันทชัยพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญ chronic care model กับ ท่าน ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัยยาเสพติด ในประเด็น บุหรี่ สุรา ในฐานะถือเป็นโรคเรื้อรัง ที่น่านำ chronic care model มาใช้
โชคดีชั้นสอง ที่พบภายหลังว่า อาจารย์พิกุลยังสนใจเรื่อง Palliative care ในโรคเรื้อรังด้วย..
เป็นการเสวนาอย่างไม่เป็นทางการที่รสชาดเข้มข้น สลับกับเย็นตาโฟรสเข้มข้น
จนข้าพเจ้าคิดว่า น่านำมา ลปรร. ทั้งนี้ ข้าพเจ้าบันทึกจากความทรงจำ มิใช่แบบ note-taker จึงอาจเรียงลำดับและใช้คำแตกต่างจากการสนทนาจริงบ้างคะ
.
.
Chronic care model เป็นแนวคิด มิใช่แนวปฎิบัติ
จริงๆ เรามีนักปฎิบัติแล้ว แต่เขาอาจไม่รู้ว่ากำลังทำตามแนวคิด chronic care model
เราในฐานะนักวิชาการ ก็เพียง ไปช่วยเขาให้นิยาม ให้กำลังใจเขา
เขาทำแล้วได้ผลอย่างไร ก็ถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ของบ้านเรา
.
แนวคิดหัวใจหลัก ก็เพียงการจัดระบบบริการให้เอื้อต่อ การดูแลตัวเอง 
ทั้งในระดับมวลชน และระดับส่วนบุคคล
ระดับมวลชน เช่น กิจกรรมอบรมส่งเสริมสุขภาพต่างๆ  เหมาะกับผู้ป่วยที่ปัญหาไม่ซับซ้อนนัก
ระดับรายบุคคล  ผู้ป่วยที่เป็นหลายโรค มีปัญหาชีวิตด้วย ซับซ้อน กรณีอย่างนี้ควรมี case manager หรือ "ผู้จัดการส่วนตัว" หรือ "โค้ชส่วนตัว"
.
ตอนนี้ ระบบเราไม่เอื้อต่อการดูแลระดับรายบุคคล - case manager
แม้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ทำด้วยใจ อยู่
ผลการทำของเขารายงานเป็นตัวเลขไม่ได้ จึงเป็นการทำด้วยใจจริงๆ
บางคนทำไปสักพักก็ไม่ไหว เพราะต้องทำงานหลายด้าน
จริงๆ แล้ว คนที่เป็นผู้จัดการส่วนตัว อาจเป็น คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน ก็ได้
เหมือนกิจกรรมเลิกสุรา  Alcohol anonymous (AA) 
คนที่มาทำหน้าที่ buddy ก็คือ คนที่เคยติดเหล้า
ซึ่งเคยได้รับ การยอมรับ ให้อภัย เพื่อแก้ตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขมาก่อน
.
ถึงจุดนี้ อาจารย์ก็พูดถึงปรัชญา "การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากภายใน"
คือผู้ป่วยจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ต่อเมื่อเขาเปลี่ยน มุมมองต่อคุณค่าของตนเอง
การที่ชุมชนลงโทษ  คนติดเหล้า ไม่เสวนาด้วย ไม่ให้ทำงานด้วย จึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
ตรงข้าม คนรอบตัวตั้งแต่ระดับครอบครัว ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีคนแคร์
เชื่อในความดีงามลึกๆ ของมนุษย์ ว่าไม่อยากทำให้คนที่ดีด้วยเสียใจ
.
ส่วนกิจกรรมระดับมวลชนดูมีเยอะ แต่ยังขาดการถอดบทเรียน
เช่น กิจกรรมรณรงค์เลิกสูรา นอกจาก สนใจว่ามีผู้เข้าร่วมกี่เปอร์เซ็นต์  พอใจกี่เปอร์เซ็นต์ 
น่าจะมีวิธีตามผลว่า มีคนเลิกได้จริงกี่เปอร์เซ็นต์  พอมีผลเราจึงจะได้องค์ความรู้ว่าที่ทำไปนั้น สำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร
.
ข้อควรระวัง คือ

การถอดบทเรียน
ทำเพื่อ "เรียนรู้"  ว่า "อะไรทำให้สำเร็จ"
ไม่ใช่เพื่อ "เลียนแบบ"  ว่า "ให้ทำอะไร"
.
อาจารย์ยกตัวอย่าง การรณรงค์ทำบัญชีในครัวเรือน
ประโยชน์การปลดหนี้สิน เกิดขึ้นจาก "insight" พฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง
พื้นที่ซึ่งประสบความสำเร็จ
เพราะจัดให้ทำบัญชีแล้ว มีกิจกรรมนำเสนอในหมู่บ้าน
คนที่เจอว่า ค่าเหล้าตัวเอง แพงกว่าค่ากับข้าวคนทั้งบ้าน บางคนก็คิดได้
แต่การนำไปผลิตเป็น นโยบายบังคับให้ทุกท้องที่ทำตาม "pattern" โดยไม่พก "wisdom" ไปด้วย ก่อให้เกิดภาวะทำไปเพื่อให้สถิติออกมาสวยๆ ส่งราชการ
บัญชีนั้น ไม่มีใครดู ไม่มี insight จึงไม่ได้ผล
.
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การปลูกผักสวนครัว
ชาวบ้าน คิดโครงการ ประกวดอาหารที่ทำจากผักสวนครัว
มีผลให้มีการปลูกผักสวนครัวเพิ่มขึ้น และยังแบ่งปันพันธ์กันสนุกสนาน
พอทางการนำไปเผยแพร่
ด้วยการแจกอุปกรณ์ กับเมล็ดพันธ์ผักสวนครัว
โดยยังไม่ได้บ่มเพาะ "ต้นกล้าความคิดริเริ่ม" ในชุมชนนั้นเสียก่อน
โครงการก็ไม่ยั่งยืน
.
เวลาสองชั่วโมงเศษ ของการเสวนาบนโต๊ะอาหาร ผ่านไปอย่างรวดเร็ว
ข้าพเจ้านั่งฟัง แล้วจับความรู้สึกตนเองว่าเริ่ม "เลื่อมใส" ด้วยใจจริง
เมื่ออาจารย์ กล่าวถึง ประสบการณ์การลงชุมชม
ด้วยสายตาที่มี ประกายแห่งความสุข

###

 

หมายเลขบันทึก: 479887เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ลงชุมชม ด้วยสายตาที่มี ประกายแห่งความสุข

...

จินตนาการเห็นภาพเลยค่ะคุณหมอป. ประโยคที่ได้ยินบ่อยๆ

ลงไปทำงานในพื้นที่ สุขี สบายใจกว่านั่งดู สภาการเมืองในสำนักงาน :)

ยังอยู่เวียงพิงค์ไหมเจ้า

"... ผู้ป่วยจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ต่อเมื่อเขาเปลี่ยน มุมมองต่อคุณค่าของตนเอง ..."

ตรงกันกับ

"... ไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ ถ้าเจ้าตัวไม่เปลี่ยนเอง ..."

ตรงกันนะครับ คุณหมอบางเวลา ;)...

I say, we have not evaluated the power of 'copying' in the real world.

Have we not seen groups develop by following a 'leader' (singer/dancer/movie star) and grow 'massive'?

Who learn or reflect the Internet?

Who learn or analyze mobile phone?

...

Most people can learn from examples.

What if we can 'build' enough examples/leaders instead of pushing for individual (internal) change?

คนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ต้องมีพลังใจที่เข้มแข็ง และมีเป้าหมายชัด หรือมีตัวกระตุ้นที่เป็นอันตราย ถ้าไม่เปลี่ยนจะทำให้แย่แน่ เช่น คนที่เป็นมะเร็งปอด สามารถหยุดบุหรี่ได้ทันที คนที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี หยุดกินปลาร้าดิบได้ เป็นต้น

คนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ต้องมีพลังใจที่เข้มแข็ง และมีเป้าหมายชัด หรือมีตัวกระตุ้นที่เป็นอันตราย ถ้าไม่เปลี่ยนจะทำให้แย่แน่ เช่น คนที่เป็นมะเร็งปอด สามารถหยุดบุหรี่ได้ทันที คนที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี หยุดกินปลาร้าดิบได้ เป็นต้น

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณที่แบ่งปันบันทึกดีๆนี้ค่ะ

คนรอบตัวตั้งแต่ระดับครอบครัว ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีคนแคร์

"เชื่อในความดีงามลึกๆ ของมนุษย์ ว่าไม่อยากทำให้คนที่ดีด้วยเสียใจ"

ชอบจังประโยคนี้

ขอบคุณค่ะ

การถอดบทเรียน มีคำที่มีความหมายคล้อยๆกันและเป็นที่นิยมสำหรับนักวิจัย ได้แก่ Lession Learn ,Lession Distrill and Lession Study

สิ่งที่รับความรู้จาก อ.ปู คือ การถอดบทเรียนเพื่อให้ได้รู้ว่าสิ่งสำคัญอะไรบ้างที่สามารถทำให้เกิดผลสำเร็จ แล้วสามารถนำไปบูรณาการกับงานและชีวิต Real Educational Administration To Real World

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชอบทุกข้อความครับ

โดนในสุด ๆ ของผมอยู่ตรงนี้ครับ..

...ถึงจุดนี้ อาจารย์ก็พูดถึงปรัชญา "การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากภายใน"

คือผู้ป่วยจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ต่อเมื่อเขาเปลี่ยน มุมมองต่อคุณค่าของตนเอง

การที่ชุมชนลงโทษ คนติดเหล้า ไม่เสวนาด้วย ไม่ให้ทำงานด้วย จึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา

ตรงข้าม คนรอบตัวตั้งแต่ระดับครอบครัว ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีคนแคร์

เชื่อในความดีงามลึกๆ ของมนุษย์ ว่าไม่อยากทำให้คนที่ดีด้วยเสียใจ...

ขอบคุณอาจารย์หมอครับ

ตามจริงสัปดาห์หน้าผมน่าจะไปดูงานที่เชียงใหม่-เชียงราย กับ อบต.ครับ

แต่ติดงานหลายงานครับ เลยไม่ได้ไป

ตอนนี้....ที่เชียงใหม่มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างสำหรับผม

อาจารย์ที่เป็นหนึ่งในนั้น

หวังไว้สักวันครับ

ขอบคุณบันทึกที่สร้างพลังครับ

ยังอยู่เวียงพิงค์เจ๊า

ตอนนี้มีหมอกควันหนามากๆ

เห็นด้วยคะ
การทำงาน เพื่อผู้อื่น
มิใช่ทำเพื่อ ความอยู่รอดของตนเองเท่านั้น
เป็นคุณค่าที่หล่อเลี้ยงจิตใจ

อาจารย์ทำให้นักเรียนบรรลุความจริงข้อนี้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย
"มันได้ผลจริงๆ คะ"

"... ไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ ถ้าเจ้าตัวไม่เปลี่ยนเอง ..."

สำหรับตัวเองนั้น
กว่าจะเข้าใจเรื่องเส้นผมบังภูเขานี้
ก็เสียเวลา เสียใจ เสียกำลัง ไปไม่น้อย
ก็อีกนั่นแหละ

"...ไม่มีใครทำให้เข้าใจได้ ถ้าเจ้าตัวไม่เข้าใจเอง..."

ขอบคุณที่ถามให้คิดคะ

แล้วเราไม่ควรเลียนแบบอย่างที่ดีหรือ

มีข้อสังเกตเช่นกันว่า

สิ่งที่ Explicit ง่าย อย่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (คงเหตุนี้จึงเหมาะกับ อุตสาหกรรม)
เริ่มต้นด้วยการเลียนแบบไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

สิ่งที่เป็น Tactic อย่างนโยบาย บุคลิก ซึ่งมีตัวแปรบริบทรอบข้างเข้าไปข้องเกี่ยวสูง
เลียนแบบได้ยากกว่า

แต่หากจะให้เติบโต   ก็ต้องเติมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเข้าไป
ตัดทอนส่วนที่ไม่ใช่สาระจำเป็นออกไป
นี่น่าจะเข้านิยาม การเรียนรู้นะคะ

ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์คะพี่แก้ว
เป้าหมายชัดเจน + มีแรงจูงใจที่แรงพอ

 

เรียนท่านอาจารย์ ดร.ประยุทธ ชูสอน
ขอบคุณมากคะ ที่กรุณาเสริมความหมายของการถอดบทเรียนให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น 

ขอบคุณคะอาจารย์ขจิต นักถอดบทเรียนชั้นเซียนอีกท่านหนึ่ง
ที่นำตัวอย่างมาให้เราได้เรียนรู้ค่ะ 

  • นึกถึงงานตัวเองครับ งานจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ของคุณครูในเงื่อนไขต่างๆ การถอดบทเรียน..เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน น่าจะสำคัญมากๆในการพัฒนา
  • ขอบคุณความรู้ครับ

ขอบคุณคะคุณครูธนิต
ขอเรียนว่า ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบการสอนของคุณครูธนิต ที่ให้เด็กตั้งสมมติฐาน สังเกต ทดลองด้วยตนเอง
ลองเอามาใช้กับ การหา sample size ในการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน
เรื่องสูตรคำนวณนั้นไม่น่าห่วง เพราะมีโปรแกรม กระทั่งเวบไซต์ช่วยคิดมากมาย
เมื่อใช้สื่อนี้ ให้เขาฝึกกระบวนการ ต้้งสมมติฐาน -> สังเกต -> ทดลอง
ก็พบว่าทำให้ผู้เรียนเกิด "insight" มากกว่านั่งอธิบายคะ 

อาจารย์หมอ ป. มีต้นทุนที่ใช้ถอดและถ่ายทอดออกมาได้น่าเรียนรู้เสมอนะคะ

ชอบค่ะชอบ  เป็นแฟนพันธุ์แทะแล้วเนี่ย

(เลียนแบบคุณ Poo อิอิ)

จริงแท้ที่สุดครับผม ตามความเห็นผม การเลียนแบบอาจใช้ได้ในการมุ่งเน้นเพียงแค่ "ทักษะ" (Skill) แต่หากต้องการให้คนคิดวิเคราะห์ได้การเลียนแบบคงใช้ไม่ได้ ตรงนี้จำเป็นที่ต้อง "เรียนรู้" ด้วยตนเองเท่านั้น ขอบพระคุณสำหรับองค์ความรู้ที่ดีครับผม

ขอบคุณค่ะ คุณหมอธิรัมภาก็เป็นผู้อ่านที่น่ารัก
ทำให้มีกำลังใจอยากเขียนบทความอยู่เรื่อยๆ
เพราะไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว
ยังได้เรียนรู้จากแง่คิดที่กัลยาณมิตรนำมาฝากมาในความเห็นค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท