จินตรังสรรค์ :: Intrinsic Creative โดย รศ.ดร.ธำรงค์ อุมไพจิตรกุล


แต่ละคนสามารถสร้างความสำเร็จได้จากจินตนาการ

จินตรังสรรค์ :: Intrinsic Creative

            พิพิธภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยว (Noodle Museum) เมือง โยโคฮามา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียวเปิดมาแล้วประมาณ 4 เดือน แสดงให้เห็นถึง การคิด ความคิด จินตนาการ และจินตนาการในฐานะผู้ผลิตที่จินตนาการแทนผู้บริโภคที่เรียกว่า ตัวแทนจินตนาการ (Proxy prosumer) คือ บะหมี่สำเร็จรูปที่ถูกบรรจุในภาชนะ เพียงมีน้ำร้อน เครื่องปรุงรส และรอคอย 3 นาทีเพื่อให้พร้อมทานได้ ทีเริ่มออกสู่ตลาด ปี ค.ศ. 1958 สินค้าจากจินตนาการตัวนี้ต้องใจผู้บริโภคทั่วโลกและทำให้พฤติกรรมในการบริโภคเปลี่ยนไป เป็นผลิตผลที่ต้องใจใช่เลย และเป็นของดีราคาถูก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นอกจากให้ข้อมูลเรื่องก๋วยเตี๋ยว / บะหมี่สำเร็จรูปแล้ว  ยังมีส่วนที่กระตุกผู้เข้าชมให้ตระหนักว่า “แต่ละคนสามารถสร้างความสำเร็จได้จากจินตนาการ” ซึ่งสอดคล้องกับกูรูในการจัดการคือ จอร์จ เบอร์นาร์ด ซอว์ (George Bernard Shaw) ที่กล่าวว่าถ้าท่านเปลี่ยนการติดยึดของตัวเองไม่ได้อย่าไปคิดเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย” โดยพิพิธภัณฑ์นี้เสนอผลิตผลมากมายที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถไฟไอน้ำ ฯลฯ หากต้องการรู้จุดกำเนิดผลิตผลใดก็ใช้มือแตะที่ภาพดังกล่าวจะมีภาพ นกบิน แมงปอ กาต้มน้ำ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเมื่อเห็นอะไร คิดอะไรได้จากสิ่งที่เห็นมีคนจำนวนหนึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างภาพขึ้นในใจ (จินตนาการ) และขับเคลื่อนจินตนาการสู่ความสำเร็จ เป็นการให้การศึกษาแก่ผู้เข้าชมจากความสำเร็จที่เป็นเลิศ (Best practice) มาถึงตอนนี้แล้วท่านคงเริ่มคิดที่จะนำไปสู่ความคิดเพื่อสร้างผลิตผลที่เกินความคาดหมายเพราะจ่ายราคาเดียวแต่ประโยชน์ใช้สอยได้หลากหลาย (Divergence Functions) ที่ถูกใจใช่เลย  (Wow !)

 

ความนำ

          ทอม บูซาน (Tom Busan) ตั้งคำถามว่า “เขาไม่ใช่นักวิ่งแต่วิ่งไม่แตกต่างจากนักวิ่ง 100 เมตร เมื่อโดนสุนัขไล่กัด เขาไม่ใช่นักยกน้ำหนัก แต่สามารถยกตู้เย็น 8 คิว ออกจากบ้านได้อย่างรวดเร็วเมื่อไฟไหม้บ้าน หรือพวกเขาไม่ใช่นักวิศวกรการบิน เป็นเพียงช่างซ่อมจักรยาน แต่สามารถสร้างเครื่องบินได้” ทำไมผู้มีการศึกษาระดับประถมศึกษาจึงสามารถทำธุรกิจร้อยล้าน พันล้าน ดังที่นำมาเผยแพร่ผ่านรายการ “เกมส์แก้จน” รายการ “สู้แล้วรวย” หรือหนังสือชีวประวัติต้นตระกูลการเงิน ห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย หรือในต่างประเทศมีผู้ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในธุรกิจเทคโนโลยีคมนาคมและสารสนเทศ ก็ไม่ได้จบปริญญา เช่น บิลเกตต์ (Bill Gates) สตีฟ จ๊อบส์ (Steve P. Jobs) เป็นต้น แล้วจะตอบคำถามดังกล่าวอย่างไร พลังในการวิ่งหรือยกน้ำหนัก หรือศักยภาพในการคิดและสร้างผลิตผลมาจากภายใน ผลการศึกษาของ เดวิด แมคเคลล์แลนด์ (Devid McClelland) ที่ยืนยันผลของการปฏิบัติว่ามาจากศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวคน และมีคำยืนยันมาก่อนหน้านี้แล้วโดย อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Abert Eistein) ว่าจินตนาการซึ่งเป็นศักยภาพของความรู้ที่ติดตัวมา (Innate Knowledge) สำคัญกว่าความรู้ สตีฟ จีอบส์ (Steve P.Jobs) และ ทิม คู๊ก (Tim Cook) กล่าวถึงความรู้ที่ติดตัวมนุษย์ตั้งแต่เกิดและเป็นแรงขับภายในตนคือ สัญชาตญาณ (Instinct / Intuition) ที่ประกอบด้วย ความพึงพอใจ ความรู้สึกว่าตนเองมีค่า มีความสำคัญ มีความรับผิดชอบ มีความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จ เป็นต้น ที่นำไปสู่การสร้างภาพขึ้นในใจ

(Imagination) คือ จินตนาการที่มีเอกลักษณ์ หากมีวิธีการขับเคลื่อนจินตนาการจะมีโอกาสสร้างผลิตผลที่ทีอัตลักษณ์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง และผู้อื่นได้เกินความคาดหวัง (Beyond expectation)

อ่านต่อ http://kmsdu.wordpress.com/

 

ขอความคิดเห็นจากท่านผู้อ่านกับบทความนี้ด้วยค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 479747เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท