โครงการพัฒนาบุคคลากรเรื่องการตรวจเท้าและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน


การพัฒนาบุคคลากร

โครงการเลขที่........./ก.พ.55

 

 

โครงการพัฒนาบุคคลากร ของห้องตรวจประกันสังคม

เรื่องการตรวจและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวัลย์ลดา เลาหกุล และทีมงานห้องตรวจประกันสังคม

กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล

ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลสมุทรสาคร

กลยุทธ์ S:ให้ความรู้โดยการอบรมและบรรยาย

วัตถุประสงค์ obj. :

                   1.เพื่อให้บุคคลากรในหน่วยงานห้องตรวจประกันสังคม มีความรู้ในการตรวจและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

                   2. เพื่อให้บุคคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับ นำไปสอนและแนะนำผู้ป่วยเบาหวานเกี่ยวกับการดูแลเท้าได้ถูกวิธี

                  3.เพื่อช่วยคัดกรองการตรวจเท้าที่ถูกวิธีในผู้ป่วยเบาหวาน ของห้องตรวจประกันสังคม

หลักการและเหตุผล

                              ในปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลสถิติในปี 2550 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น 4ใน 5 เป็นชาวเอเชีย   และจากรายงานของสำนักงานนโยบายและสาธารณสุข(ปี2542-2552) พบว่าสาเหตุการตายด้วยโรคเบาหวานมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12  สำหรับโรงพยาบาลสมุทรสาคร พบว่าในปี 2550,2551,2552 ,2553 ,2554 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยนอกเท่ากับ 6,410 คน 6,815 คน 7,236 คน ..........คน .........คน ตามลำดับ (ข้อมูลงานเวชทะเบียนและสถิติโรงพยาบาลสมุทรสาคร,2553) ทำให้ทราบว่าความชุกของโรคเบาหวานในโรงพยาบาลสมุทรสาครเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

                              จากการศึกษาประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ห้องตรวจประกันสังคมช่วงปี2552,2553 และ2554  พบว่าผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้รับการตรวจเท้าตามตัวชี้วัดเบาหวานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลเท้าและไม่เคยได้รับการตรวจเท้า จากการศึกษาและประเมินพฤติกรรมเรื่องการดูแลเท้าโดยการสุ่มตัวอย่างสอบถามในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในห้องตรวจประกันสังคม จำนวน 20 ราย พบว่ามีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเท้าไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถมาตรวจเท้าได้ในวันที่เปิดทำการของโรงพยาบาล และพบว่ามีจำนวน 18 รายที่ไม่เคยได้รับการตรวจเท้าเลย    อีกทั้งผู้ป่วยยังไม่ได้คำแนะนำในเรื่องการดูแลเท้า จำนวนผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังที่เท้าเพิ่มมากขึ้นทุกปี  นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสถูกตัดเท้ามากขึ้นทุกปี

                            จากการทดสอบความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในบุคคลากรของหน่วยงาน พบว่ายังขาดความรู้เรื่องการดูแลเท้า การตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน  จึงไม่สามารถให้คำแนะนำ หรือตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานได้ถูกวิธี จึงส่งผลให้ไม่สามารถแนะนำผู้ป่วยเบาหวานในเรื่องการดูแลเท้าได้ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดความเสี่ยงในการเป็นแผลเท้าเรื้อรัง ละถูกตัดเท้าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโครงการพัฒนาบุคคลากรนี้จึงมีความสำคัญในการเตรียมบุคคลากรที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมนี้ ไปแนะนำผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถดูแลสุขภาพเท้าได้อย่างถูกวิธีต่อไป   และนำไปพัฒนางานให้เกิดรูปแบบการพัฒนาบุคคลากรในหน่วยงานต่างๆ ให้มีบุคคลากรที่มีความสามารถมากขึ้น และช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมุทรสาครให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออบรมพัฒนาบุคคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ในเรื่องการตรวจเท้า และการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
  2. เพื่อให้บุคคลากรในหน่วยงานสามารถแนะนำผู้ป่วยเบาหวานในเรื่องการดูแลเท้าได้ถูกวิธี
  3. เพื่อให้บุคคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับ  มาคัดกรองตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้มากขึ้น
  4. เพื่อนำความรู้มาพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมาย

             บุคคลากรในหน่วยงานห้องตรวจประกันสังคม จำนวน 24 ราย (แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ )

ขั้นตอนดำเนินการ

1. ประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรมเรื่องการตรวจและการดูแลเท้า

2. ประชุม นัดวันอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจและการดูแลเท้า

3.ให้ความรู้โดยการสาธิต และบรรยาย พร้อมทดลองปฎิบัติโดยการใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจเท้า

4. หลังสิ้นสุดการอบรม ให้บุคลากรทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมเรื่องการตรวจและการดูแลเท้า

5. มีการทบทวนความรู้โดยการทำแบบประเมินความรู้ ทุก 1 เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

 ระยะเวลาดำเนินการ

          เริ่มระหว่างวันที่  1กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2555

แผนกลยุทธ์ S: ประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

          Obj:บุคคลากรมีความรู้เรื่องการตรวจเท้า การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน มากกว่าร้อยละ 80

วัตุประสงค์: เพื่ออบรมพัฒนาบุคคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ในเรื่องการตรวจเท้า และการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ขั้นตอนการดำเนินการ

ระยะเวลา

กุมภาพันธ์55

มีนาคม 55

เมษายน 55

1.ทบทวนความรู้และหาแนวทางพัฒนาและแก้ปัญหาบุคคลากรขาดความรู้เรื่องการตรวจและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

 

2.เตรียมสรุปความรู้และเอกสารประกอบบรรยาย เพื่อใช้ในการอบรม

 

 

 

3.ประเมินความรู้ของบุคคลากรก่อนอบรมให้ความรู้

 

 

 

4.กำหนดวันอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจเท้าและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

 

5.ประเมินความรู้ของบุคลากรหลังให้การอบรม

 

 

 

6.ทบทวนความรู้โดยทำแบบประเมินความรู้ ทุก 1 เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 สถานที่ 

           ห้องตรวจประกันสังคม โรงพยาบาลสมุทรสาคร

งบประมาณ

           ค่าเอกสาร 1,000 บาท

 การประเมินผล

       1.บุคคลากรสามารถนำความรู้เรื่องการตรวจและการดูแลเท้าไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้มากขึ้น

      2.บุคคลากรสามารถทำแบบประเมินความรู้เรื่องการตรวจเท้าและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ได้คะแนนมากกว่า ร้อยละ 80

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1. บุคคลากรในหน่วยงานมีความรู้เรื่องการตรวจเท้าและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มมากขึ้น

          2. บุคคลากรในหน่วยงานสามารถนำความรู้ที่ได้รับ นำไปใช้ในการสอน แนะนำผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างถูกต้อง

          3. เป็นแนวทางในการการพัฒนาบุคคลากรในหน่วยงานต่างๆให้มีความรู้ความสามารถในการตรวจเท้า และการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น

          4. เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานให้ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัด

          5. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับรับการตรวจเท้า และคำแนะนำเรื่องการดูแลเท้าได้อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

 

 

ลงชื่อ.................................................ผู้เขียนโครงการ

          (นางวัลย์ลดา เลาหกุล )

ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 

ลงชื่อ.................................................ผู้เสนอโครงการ

          (นางธัญวรัตน์  เลี้ยงชีพ )

ตำแหน่งหัวหน้าห้องตรวจประกันสังคม

 

ลงชื่อ.................................................ผู้เห็นชอบโครงการ

          (..................................................)

ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล

         

 

ลงชื่อ.................................................ผู้อนุมัติโครงการ

          (..................................................)

ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร

 

 

หมายเลขบันทึก: 479560เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

ที่อำเภอของผมก็กำลังทำโครงการนี้เช่นเดียวกันครับ

ไปตามกระแสนะครับ

แต่พยายามทำให้ดีที่สุด

ให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท