๔๔.กิน..ตามน้ำ


      ลำไยที่บังคับให้ออกนอกฤดู ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม

ต้องมาประสบกับภาวะน้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน ในขณะที่ลำไย มีผลขนาดเล็ก ..

ส่งให้ผลลำไยชงักการเจริญเติบโต ขนาดผลไม่สม่ำเสมอ และบางต้นผลร่วงโกร๋น...


           หลังจากน้ำแห้ง...ก็ต้องประสบกับหนอนเจาะลำต้น

    ตัวหนอนเจาะลำต้น(Zeuzera coffeae Nietner 1861)

          การเพาะเลี้ยงหนอนเจาะลำต้นลำไย 

                  ตัวเต็มวัยกัดออกจากดักแด้

            ผีเสื้อ(กลางคืน)หรือมอธ ตัวเต็มวัย ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง

และฝูงต่อหัวเสือกัดกินผลสุก...ให้ได้รับความเสียหาย อย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน.......

          เฮ้อ..เจ้าพวกนี้ ไปเอาเยี่ยง เอาอย่างมาจากไหน..ถึงชอบกินตามน้ำ(ท่วม)..ที่ปนไปด้วยคราบเหงื่อและหยาดน้ำตา.. ได้ถึงเพียงนี้

 

                                                    สามสัก

                                                 ๑๙ กพ.๒๕๕๕

คำสำคัญ (Tags): #ลำไย
หมายเลขบันทึก: 479269เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ขอแก้รัฐธรรมนูญให้พวกตัวด้วงตัวหนอนเหล่านี้

กินตามน้ำฟรีเสียเลย ในคราวเดียวกัน 

ดีไหมครับ

มองในมุมของธรรมชาติ เป็นวัฎจักรให้เก็บมาเล่าได้น่าคิด เพิ่งเคยเห็นหนอนกินต้นลำใยค่ะ

...กินตามน้ำ..ไม่เหนื่อย..นะ..หนอน..นะ...ต้น..ตายหมด..หนอน..ตาย..ด้วย..มั้ง...ยายธี

ได้นำเมล็ดลำไยสิ่งที่ทุกคนทิ้งมาทำให้เกิดโยชน์  ฝากบอกกล่าวด้วยนะคะ

 

แก่แล้วแน่ๆเขียนตกหล่น นำมาให้เกิด ประโยชน์

ทำใช้ได้เองและจำหน่ายได้ ขอเพียงให้ทุกคนเริ่มทำนะคะ

 

เจ้าเชื้อโรคบน หอคอยสภาสูง ลงมาแพร่เชื้อ ถึงเจ้าหนอนนะคะท่านสามสัก :)

สวัสดีค่ะ

            มาดูลำไยที่กำลังเจริญเติบโต  ออกดอกผลงดงาม  กำลังไปได้สวย 

           มาโดนหนอนเจาะกิน   หยุดชะงักหมด   สงสารเจ้าของสวน

            กินตามน้ำ  น่ากลัวจริงๆ  ค่ะ 

  • เอ..ท่านอาจารย์โสภณครับ... รัฐธรรมนูญของพวกแมลง มันจะแก้ไขกันบ่อยเหมือนของมนุษย์.ไหมน๊า..
  • ปี 2554 รอบๆตัว เริ่มตั้งแต่การบ้านการเมือง.... ถึงระบบนิเวศ ดูเหมือนจะวิกฤติ พิกลพิการเอามากๆ  ..ต่อหัวเสือ.แมลงที่มักไม่ค่อยพบเห็นมากัดกินลำไย..ให้เสียหาย ..ก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน..คงพอจะบอกเหตุอะไรได้บางอย่างกระมัง..ครับ คุณพี่นงนาท
  • ยายธีครับ..ผมว่า..กายคงไม่เหนื่อย แต่ไปหนัก ไปเหนื่อยที่ใจมากกว่านาครับ..
  • ขอบพระคุณสำหรับ สาระดีๆ จากคุณพี่กานดาที่นำมาแบ่งปันครับ
  • ผมว่า..ทุกอย่างมีประโยชน์ทั้งหมด..อยู่ที่มุมมองและการค้นหาครับ
  • ที่สนใจมีมากมายจริง เช่นงานวิจัยของ วว.http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/Lumyai_th.htm ฯลฯ ครับ
  • เอ..คุณปู เชื้อโรคบนหอคอยสภาสูง..เชื้อมันแรงถึงขนาดนั้นเชียวหรือครับ..มีวัคซินที่พอป้องกันได้ไหมเอ่ย
  • อย่างพี่Krusorn ก็น่ากลัวน่ะซีครับ..แต่มีบางกลุ่มบางคน...เขามีความกล้า..หน้าด้..มากกว่าความกลัวนี่ซิ..ลำบากใจ

มันกินตามน้ำจริงๆๆด้วย ผมเพิ่งทราบว่าต่อหัวเสือ เขากินลำไยด้วย แต่หนอนเจาะต้นลำไยนี่น่ากินนะครับ

555

กินตามน้ำ...

ยิ่งอ่าน ยิ่งชวนตีความ

ขอบคุณครับ

  • ลึกซึ้ง กินใจมากค่ะ
  • สงสัยสวนที่เชียงใหม่ที่ีมีลำไยไม่กี่ต้น ต้องขอให้ชาวบ้านช่วยดูแลและเก็บไปทานตามอัธยาศัย  ดีกว่าถูกกินเปล่าค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายพี่ชายค่ะ
  • ระลึกถึงกันเหมือนเดิมค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                          

  • ท่าน ดร.ขจิต...ผมว่า ห่วงโซ่อาหารมันไม่สมดุลย์..เลยกินอะไรได้..มันก็ต้องกิน (งคาบเอาไปรังด้วย)ถึงแม้จะไม่ใช่ของชอบ...แล้วท่านล่ะ มีความเห็นอย่างไรครับ
  • ขอบพระคุณ อ.แผ่นดิน ที่แวะเข้ามาทักทายครับ
  • โอ้.อาจารย์Sila อย่างปล่อย(ลำไย)ทิ้งให้เขาเดียวดายเลย...หดหู่ๆๆๆ  ครับ..อิอิ
  • กำลังรอบันทึกใหม่ของคุณนก บุษราอยู่น๊ะเนียะ
Ico128
 
 
 
- ขอบคุณ.....ค่ะ.....สำหรับองค์ความรู้....ที่มีคุณค่านี้นะคะ
  • ขอบพระคุณคุณ คุณหมอSomsriมากครับ

...กิน..ตามน้ำ???...มากๆๆ..ท้องเต็มไปด้วย...???? เดียว...ท้องแตกตาย???

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยมและรายงานตัว
  • เห็นจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับลำไยในบ้านเรา
  • ขอบคุณท่านอาจารย์ที่นำประสบการณ์ที่พบเห็นมาแบ่งปันกัน
  • ขอให้ท่านมีความสุขกับงานที่ทำนะครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณสามสัก

สวัสดีค่ะ

แวะมาชม

พร้อมกับอ่านบันทึกนี้ค่ะ

เป็นบันทึกที่ชวนให้คิดค่ะ

ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้แก้ไขปัญหานี้

ได้สำเร็จนะคะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท