แก้ปัญหาหนอนแมลงข้าวระบาดช่วงฝน-หนาวแบบปลอดสารพิษ


ถ้าฝนตกลงมาในนาข้าวที่เกษตรกรหรือชาวกสิกรรมพร่ำใส่ปุ๋ยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจะเป็นอย่างไร?  

 

มีข่าวการระบาดของหนอนกอในระยะนี้ถี่มากขึ้นเป็นระยะๆ จึงทำให้อดคิดไปไกลไม่ได้ว่ามันเป็นปัญหาที่เกิดมาจากโลกร้อนด้วยหรือเปล่า เพราะบางพื้นที่บางจังหวัดในระยะนี้ก็มีฝนตก ฝนค้างฝนหลงฤดูโปรยปรายให้เห็นอยู่บ่อยพอสมควร แอบหวั่นๆว่าปีสองพันสิบสองน้ำจะนองท่วมโลกเหมือนในฉากหนังที่นำมาฉายโดยอาศัยคำทำนายและปฏิทินของเผ่ามายัน แต่พอลองหันกลับมาฟังท่านอาจารย์อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านบอกว่ายังเหลือเวลาอีกหลายพันปีกว่าที่โลกของเราจะหมดอายุขัยก็ค่อยเบาใจขึ้นมาได้บ้าง
 
ร่ายยาวเรื่องฝนเรื่องฟ้าเสียยกใหญ่ก็เพื่อที่จะชักชวนนำพาให้ท่านผู้อ่านเข้าใจสภาวะธรรมชาติของน้ำฝนที่นำพาแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยในรูปไนโตรเจนลงมาสู่พื้นดินแบ่งปันเจือจานไปสู่พืชที่เจริญเติบโตอาศัยอยู่บนพื้นดินทั่วทุกหัวระแหง สังเกตุได้จากกระถินริมรั้ว ต้นหญ้าริมทางข้างถนน หรือแม้แต่กลางทุ่งกลางท่าเมื่อฝนตกโปรยปรายลงมาคราใดเป็นได้เห็นสีเขียวเข้มเต็มทุ่งโดดเด่นเห็นได้ชัดเพียงได้เหลือบมองหรือแอบไปสัมผัสบรรยากาศบ้านนอกสักคราสองคราและฝึกนึกคิดหมั่นสังเกตุแบบนักวิทยาศาสตร์ว่าเหตุไฉนในเมื่อไม่มีใครเคยแอบไปใส่ปุ๋ยเลยแม้เม็ดเดียวพืชจึงแตกยอดผลิใบเบียดแทรกออกมาเจริญเติบโตงอกงามได้
 
แล้วถ้าฝนตกลงมาในนาข้าวที่เกษตรกรหรือชาวกสิกรรมพร่ำใส่ปุ๋ยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจะเป็นอย่างไร?  จะส่งผลให้ข้าวใบใหญ่เขียวเข้มอวบอ้วนจากไนโตรเจนที่ได้รับมาจากสายฝนที่ชุ่มฉ่ำด้วยหรือไม่? อย่างไร? คำตอบย่อมเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการดูแลป้องกันอย่างเข้าอกเข้าใจ ข้าวก็จะอวบอ้วนออดอ้อนหนอนแมลงที่ชอบกัดกินข้าวหลังฝนที่อ่อนหวาน พลังของไนโตรเจนจากน้ำฝนถ้าใครยังกังวลไม่เข้าใจลองนึกย้อนไปนึกถึงพันธุ์มะม่วงที่ชื่อฟ้าลั่น ผลของมะม่วงที่ได้รับไนโตรเจนในปริมาณมาจากฝนฟ้านำพาให้เกิดการแบ่งตัวยืดเซลล์อย่างรวดเร็วกระทันหันจนทำให้ผลแตกปริร้าว เข้าตำราฟ้าฝนคะนองคำรามเลื่อนลั่นไม่ทันไรผลก็แตก ชาวบ้านเห็นเป็นเช่นนั้นจึงเรียกมะม่วงพันธุ์นั้นกันสืบมาว่า "ฟ้าลั่น" แต่โครงสร้างสรีระของต้นข้าวแตกต่างกันอาจจะไม่เลื่อนลั่นสั่นสะเทือนเหมือนมะม่วง แต่จะร่วงโรยแห้งเหี่ยวไปเพราะหนอนและแมลงเข้าทำลาย ควรฉีดพ่นสมุนไพรที่มีรสขมและกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแมลงอย่างเช่นขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม (ชื่อการค้าผงสมุนไพร ไทเกอร์เฮิร์บ) และเพ่ิมความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ด้วย ซิลิสิค แอซิด (H4SiO4) ฉีดทุกครั้งหลังฝนตกจะช่วยป้องกันหนอนแมลงระบาดในแปลงนาได้เป็นอย่างดี หรือเกษตรกรที่ประสบกับปัญหาหนอนทำลายกัดกินใบข้าวในแปลงนาอยู่แล้วก็ควรรีบนำ เชื้อบีทีปราบหนอน (บาซิลลัส ธุริงจิเอนซิส). 5 กรัมหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อนหนึ่งผลทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมงแล้วนำไปผสมกับน้ำ 20 ลิตฉีดพ่นช่วงเย็นแดดอ่อนก็สามารถฆ่าหนอนให้สิ้นซากหมดไปได้โดยปลอดภัยไร้สารตกค้าง
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 478982เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท