311 : Condo Wave Clouds เกิดขึ้นได้อย่างไร?


 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (Sun Feb 5, 2012)

ได้เกิดปรากฏการณ์เมฆประหลาดปกคลุมกลุ่มคอนโดมิเนียมที่เรียงรายอยู่บนชายหาดของ Panama City รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

ดูภาพนี้สิครับ!

  

 ภาพโดย J.R. Hott ผู้สร้างเว็บ Panhandle Helicopter [ที่มา]

 

ภาพนี้ได้กลายเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น เว็บของโพสต์ทูเดย์ ข่าวรอบโลก พาดหัวว่า "ก้อนเมฆประหลาดปกคลุมสหรัฐ"

 

 

ข่าวเมฆสนุกๆ แบบนี้ ชมรมคนรักมวลเมฆ ไม่ยอมปล่อยให้ลอยนวลไปง่ายๆ แน่ๆ

เมื่อลองสืบค้นดูก็พบว่า นักอุตุนิยมวิทยา & ผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศ ชื่อ Dan Satterfield

ได้ให้คำอธิบาย (อย่างง่ายๆ) ไว้เรียบร้อยแล้วในเว็บบล็อกของเขา Dan's Wild Wild Science Journal 

ผมจึงไม่รีรอที่จะนำมาฝากกัน :-)

 

 กลไกการเกิดเมฆประหลาดในข่าว เป็นดังนี้ 

1) ลมทะเลที่พัดเข้าหาฝั่งมีอุณหภูมิราว 20 องศาเซลเซียส และมีความชื้นค่อนข้างสูงใกล้จุดอิ่มตัว กล่าวคือ มี จุดน้ำค้าง ราว 19.5 องศาเซลเซียส

    หมายเหตุ : จุดน้ำค้าง (dew point) คือ อุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศเริ่มกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำ ณ ความดันอากาศค่าหนึ่งๆ]

2) เมื่อลมปะทะกับอาคารคอนโดฯ ก็จะถูกเบี่ยงเบนทิศทางให้ยกตัวสูงขึ้นไป คราวนี้ลงอคิดถึง ก้อนอากาศ (parcel of air) ก้อนหนึ่งซึ่งเมื่อถูกบังคับให้ลอยตัวสูงขึ้น ก็จะพบกับความกดอากาศโดยรอบที่ต่ำลง ทำให้ก้อนอากาศนี้ขยายตัวออกและที่สำคัญคือ เย็นลง

3) ในทางอุตุนิยมวิทยาพบว่า ก้อนอากาศแห้งที่กำลังลอยสูงขึ้นไปจะมีอุณหภูมิลดลงราว 1 องศาเซลเซียส ต่อความสูงที่เพิ่มขึ้นราว 100 เมตร (ค่านี้มีชื่อวิชาการเรียกว่า dry adiabatic lapse rate หรือ อัตราการลดลงของอุณภูมิเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นในกระบวนกาอะเดียแบติก)
    ดังนั้น เมื่อก้อนอากาศลอยสูงขึ้นไปราว 50 เมตร อุณหภูมิก็จะลดลงไป 0.5 องศาเซลเซียส เหลือ 19.5 องศา ซึ่งแตะจุดน้ำค้าง เกิดหยดน้ำจำนวนมากมาย ซึ่งเมื่อเรามองภาพรวมก็คือ เมฆ หรือ หมอก (หากเกิดใกล้หรือติดพื้น)

   หมายเหตุ : คำว่า อากาศแห้ง (dry air) หมายถึง อากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 100% หรือพูดง่ายๆ คือ ในก้อนอากาศที่เรากำลังสนใจอยู่นั้น มีแต่ไอน้ำ ยังไม่มีหยดน้ำเหลวๆ กลั่นตัวออกมา]

4) ทางด้านหลังของอาคารคอนโดฯ ก้อนอากาศจะจมลง และอุ่นขึ้น ทำให้หยดน้ำระเหยกลับไปเป็นไอ เมฆที่เกิดขึ้นจึงสลายไป

 

อาจารย์ Dan Satterfield อธิบายประเด็นหลักๆ ไว้เท่านี้

  แต่ผมขอแถมอีกนิดส์ ;-)

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

"เมฆ" ในข่าวนี้ (Condo Wave Cloud) จริงๆ แล้วอาจเรียกว่า หมอก (fog) ก็ได้

เพราะมีกลไกการเกิดคล้ายกับ หมอกลาดเชิงเขา (upslope fog)

 ดูภาพนี้ก่อนนะครับ

 

Upslope fog on Mount Washington (New Hampshire) Sept 1, 2011

ที่มาของภาพ : Link

 

 ที่มาของภาพ : Link

 

ส่วนใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หมอกลาดเชิงเขา (formation of upslope fog)

ก็ตามไปอ่านได้ที่นี่เลยจ้า : Link

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 

 เอวังก็มี...ด้วยประการฉะนี้!

ขอบคุณ อาจารย์ Dan ที่ช่วยทุ่นเวลาของผม ^___^

 

 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติม?

  • บทความ 'Fantastic Condo Wave Clouds' โดย Dan Satterfield : Link
  • ข่าว 'Condo Cloud Burst Explaned: Big Pic' โดย Discovery News : Link
  • ข่าว 'ก้อนเมฆประหลาดปกคลุมสหรัฐ' โดย โพสต์ทูเดย์ ข่าวรอบโลก : Link
  • ดูข่าว Condo Cloud ใน YouTube : Link
  • - - รอเพิ่ม Link - -

 


 

คำสำคัญ (Tags): #fog#condo wave cloud#dew point
หมายเลขบันทึก: 478112เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวยแบบตื่นเต้นจริงๆครับ

ทักทาย พี่บางทราย & พี่ใหญ่ครับ

พอดีเป็นข่าวดังช่วงนี้ เลยตามกระแสซะหน่อย เมฆ เมฆ เมฆ :-)

ดูเผินๆ นึกว่าคลื่นทะเล พัดเข้าหาฝั่งซะอีกค่ะ....ไม่เหมือนหมอก หรือ เมฆ เลย..

พี่ชิวคะ

คำอธบายสองข้อแรกละม้ายคล้ายคลึงกับวิชาโหดสมัยเรียนเลยอ่ะ

ฟิสิกส์ กับ PhyChem 55555555

แบบนี้ถ้าคนกรุงเทพไม่มีเวลาไปสูดอากาศเชิงดอย ก็ไปเดินเล่นแถวคอนโดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจะได้ไหมเนี่ย

แต่คงยากเนอะ นานๆ ที กรุงเทพจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 20C

คนเข้าป่า ชอบและประทับใจ ใน คอนโดเปล

คนรักเมฆ ว้าว มหัศจรรย์ กับเมฆ คอนโดเวฟ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท