"Mirror neuron" หรือ เซลล์กระจกเงา


การใช้ทฤษฎี "Mirror neuron" หรือ เซลล์กระจกเงา ในการประยุกต์ใช้ทางกิจกรรมบำบัด

   ในสมองมนุษย์มีเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งที่สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งเรียกเซลล์ประสาทนี้ว่า  "Mirror neuron" หรือ เซลล์กระจกเงา  เซลล์ประสาทชนิดนี้เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน ขณะทำการเคลื่อนไหวซึ่งตัวเราได้สังเกตการณ์เคลื่อนไหวนั้น ๆ ทันที โดยไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ เพิ่มเติม ได้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ไม่ว่าจะรุนแรง  รวดเร็ว  พลิ้วไหว  หรือ  เชื่องช้า

     การที่เรารู้สึกเช่นนั้นได้เป็นเพราะเส้นประสาทนี้ต่อโดยตรงไปยังเส้นประสาทอื่น ๆ ที่ควบคุมระบบภายในร่างกายและต่อไปยังสมองส่วนล่าง (limbic system) ที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก จากการศึกษานี้ได้เรียนรู้ว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ได้มีการตื่นตัวอยู่เสมอ  แม้แต่การจ้องมองเราก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ และได้เก็บข้อมูลนั้นไว้ในสมอง เสมือนเราเป็นผู้กระทำสิ่งนั้นเอง ทฤษฎีเซลล์กระจกเงาจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเด็ก ปัจจุบันนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่อาการบาดเจ็บทางระบบประสาท

    Mirror therapy คือ วิธีการบำบัดโดยการสังเกตการเคลื่อนไหวของตนเองผ่านการมองเห็นในกระจกซึ่งเกิดการสะท้อนผ่านการทำงานของ Mirror neuron

      การนำประยุกต์ใช้กับทางกิจกรรมบำบัดในการฟื้นฟูผู้ป่วย นำวิธีการนี้ในการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของมือก่อนนำไปสู่การประกอบกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง โดยวางกระจกไว้ตามแนวกึ่งกลางของลำตัว หันกระจกไปทางด้านมีรยางค์ปกติ ให้ผู้ป่วยสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของรยางค์ข้างปกติอย่างจดจ่อ แล้วจินตนาการว่ารยางค์ที่อยู่ในกระจกนั้นเป็นข้างที่เป็นพยาธิสภาพ ให้รู้สึกเหมือนเราเคลื่อนไหวรยางค์ทั้งสองข้างไปพร้อม ๆ กันก่อนการใช้ Mirror therapy สิ่งที่ควรสังเกตผู้ป่วย คือ ช่วงความสนใจ, การรับรู้สิ่งต่าง ๆและความสามารถในการประมวลผลขณะนั้นของผู้ป่วย หากสิ่งที่กล่าวมานั้นผู้ป่วยอยู่ในช่วงต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Mirror therapy  

 

หมายเลขบันทึก: 477494เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 02:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท