จากคำถามที่ว่า ...
คำตอบที่ได้คือ ...
คุณ อรุณ ประดับสินธุ์ ได้อธิบายไว้ในหน้า ๑๖๔ - ๑๖๕ ไว้ดังนี้
ปริมาณและเนื้อหาสาระสำคัญที่ถูกนำไปใช้เมื่อเทียบกับเนื้อหาทั้งหมดนั้นเป็นประเด็นสำคัญที่จะละเลยไปไม่ได้เพราะการนำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ จะต้องคำนึงถึงปริมาณของงาน และสาระสำคัญที่นำมาใช้ด้วย หากการนำมาใช้ในปริมาณมาก เช่น หนังสือที่มีลิขสิทธิ์จำนวน 50 หน้า นำไปใช้ 25 หน้า เช่นนี้ถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่นำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ แม้ปริมาณน้อยก็อาจเป็นการละเมิดได้ หากส่วนนั้นเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของงานชิ้นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546 วินิจฉัยว่า การคัด ลอก เขียน หรือ อ้างอิงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น อันอาจจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จะต้องเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์บางตอนตามสมควร และมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น แม้จำเลยที่หนึ่ง จะคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้าจากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอน แต่การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร
..................................................................................................................................................
คำถามนี้เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องของ "ปริมาณเนื้อหา" ที่เราจะคัดลอกมาใช้ในชิ้นงานของเรา
ตามกฎหมาย บอกว่า หากมากเกินไป ก็ถือละเมิดลิขสิทธิ์เกินสมควร (หมายถึง คิดเองน้อยเกินไป ไปขโมยของคนอื่นมาเกือบหมด)
แต่หากรู้สึกว่า จำนวนน้อย ก็จะต้องดูว่า เนื้อหาส่วนนั้นเป็นส่วนของสาระสำคัญหรือไม่ หากใช่ ก็ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ ครับ (หากสาระไม่ใช่ของเรา อ้างอิงเขาเถอะครับ เป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน)
ส่วนข้อความสั้น ๆ อ้างเป็นส่วนสนับสนุนงาน เป็นประโยค แบบนี้ไม่เป็นไร ถึงขนาดบอกว่า ไม่ต้องอ้างอิงก็ได้
แต่คำแนะนำที่ควรทำ คือ
เพียงแค่ "ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์" และ "ไม่ทำร้ายสิทธิ์อันชอบธรรมเกินสมควร" พร้อม "อ้างอิง" ให้แจ่มชัด
น่าจะเป็นวิธีใช้ข้อมูลของผู้ืืือื่นอย่างเป็นธรรม และปลอดภัยที่สุดครับ ;)...
บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...
..................................................................................................................................................
ขอบคุณแหล่งข้อมูลดี
ๆ
อรุณ ประดับสินธุ์. คัมภีร์ลิขสิทธิ์ 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ. กรุงเทพฯ: พสุธา, 2554.
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537. http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (2 กุมภาพันธ์ 2555).
ขอบคุณที่สรุปให้เข้าใจคะ
เมื่อเนื้อหานั้น เป็นใจความสำคัญ เป็นแนวคิดสำคัญ
ควรอ้างอิงไว้ก่อน
ยินดีและขอบคุณเช่นกันครับ คุณหมอบางเวลา ป. ;)...
ช่วย ๆ กันครับ
ถ้าเอารูปมาใช้ถือเป็นการละเมิดเนื้อหาเต็มๆ ค่ะ เพราะต้องเอามาทั้งไฟล์
สวัสดีค่ะอาจารย์wat
จริยธรรมและจิตสำนึก สำคัญมากสำหรับเรื่องนี้ค่ะ
ขอบคุณมากครับ อาจารย์จัน ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ;)...
มีบันทึกที่เกี่ยวข้องกับ "การใช้ภาพ"
เมื่อเทคโนโลยีก้าวไกล แต่หัวใจของมนุษย์เราลืมก้าวตามในเรื่องของ "ความดี" ไปด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ พี่ นงนาท สนธิสุวรรณ ;)...
"คัดลอกงานของผู้อื่นปริมาณน้อยแค่ไหนจึงไม่ผิด?"
จะมากน้อยแค่ไหน ถ้าเอามาใช้ ก็อ้างอิง กล่าวถึงเถอะคะ
เพื่อความสบายใจของเราเอง ^__^
เพียงแค่ "ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์" และ "ไม่ทำร้ายสิทธิ์อันชอบธรรมเกินสมควร" พร้อม "อ้างอิง" ให้แจ่มชัด
กฎหมายฉบับใดก็ตาม บริบทดูที่ "เจตนา"
ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับ "กรรม"
ที่เราดูที่ว่า เจตนาหรือไม่
ดังนั้น จึงเป็นอย่างที่พี่พยาบาล กระติก ว่าครับ ;)...
"อ้างอิง" "ให้เกียรติ" ...
ขอบคุณมากครับ ;)...
ฝากเป็นข้อสังเกตหนังสือหน้า 126 เปิดเพลงอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยความเคารพท่านผู้แต่ง ผมเห็นว่า กรณีที่สรุปว่า การเปิดเพลงที่จะเป้นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้จะต้องเป็นการ แสวงหากำไรเท่านั้น อาจมีเข้าเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะตามฎีกาที่ยกมาเป้นตัวอย่าง ฎีกาแรกปี 50 เป้นการละเมิดโดยการเปิดจากแผ่นจริง ส่วนฎีกาปี 51 เป้นการละเมิดโดยการเปิดจากแผ่น MP 3 ข้อเท็จจริงต่างกัน ซึ่งฎีกาปี 51 เป้นความผิดตาม ม. 31 ซึ่งจะต้องเป็๋นการแสวงหากำไรโดยตรง (กฎหมายกำหนด) เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการที่จำเลยนำแผ่นMP3 ไปเปิดเป็นการแสวงหากำไรโดยตรงอย่างไร(ไม่สามารถแยกหรืออธิบายได้ว่ามีการคิดค่าฟังเพลงราคาเท่าใดหรือมีการบวกไปกับค่าอาหารหรือไม่) จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 31 ศาลจึงยกฟ้อง ซึ่งต่างกับฎีกาปี 50 เป้นการฟ้องในความผิดคนละมาตรา โดยมาตรา 28 ไม่มีข้อความใดระบุว่าการละเมิดลิขสิทธิ์จะต้องเป้นการแสวงหากำไรโดยตรง กรณีนี้อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า การเปิดเพลงที่จะผิดกฎหมายจะต้องมีการแสวงหากไรเท่านั้น เพราะการนำแผ่นเพลง (แท้) ไปเปิดในร้านอาหารโดยไม่ขออนุญาตแม้การเปิดจะไม่ได้แสวงหากำไร (คิดค่าฟังเพลง) ก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว
การอ้างที่ถูกกฎหมายจะต้องอ้างเป้นเชิงอรรถไว้ตอนท้ายของหน้านะครับ ไม่ใช่ไปอ้างไว้ตอนท้ายหนังสือ (ท้ายเล่ม) กรณีนี้มีฎีกาตัดสินแล้วว่าการอ้างอิงไว้ท้ายเล่มไม่ถือเป้นการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี แม้จะมีการรับความเป้นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยการให้เชิงอรรถไว้ท้ายหน้ากระดาษ ก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ฟ้องร้องได้ เพราะหากเจ้าของเค้าไม่พอใจก็อาจจะฟ้องร้องได้อยู่ดี เพราะไม่มีกฎหมายมาตราใดห้ามไม่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องเมื่อมีการอ้างอิงหรือรับรู้ความเป้นเจ้าของลิขสิทธิ์ จริงอยู่ว่าท่านอาจจะอ้างข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ได้ว่ามีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว แต่ท่านต้องการจะขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงข้อนี้หรือ ถ้าจะให้ปลอดภัย 100 % ทำหนังสือขออนุญาตเมื่อเค้าอนุญาตให้ใช้คือ จบ
การก็อปทำนองเพลงฝรั่งมาเป็นเพลงไทย ผิดกกหมายหรือไม่อย่างไรครับ รบกวนด้วยนะครับ
ผิดแน่นอนครับ เนื่องจากเป็นลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยตรงครับ ;)...
การที่มีคนเอาข้อความ เราที่ยื่นประมูล หือเสนองาน (เค้าลอกเราทั้งหมด ตัดเปลี่ยนเพียงหัวกระดาษที่อยู่ของบริษัทเค้า ) ผู้นั้น กระทำความผิด ลิขสิทธิ์ หรือปลอมแปลง